พระเมตตาของพระเยซูเจ้า

จงบอกมนุษยชาติที่กำลังเจ็บป่วย ให้เข้ามาใกล้หัวใจอันเมตตาของเรา แล้วเราจะประทานสันติภาพให้แก่มนุษยชาติ พระเมตตาของเราไม่มีวันสิ้นสุดเลย

พระวาจาวันอาทิตย์ที่ 6 ตุลาคม 2024 คำถามเรื่องการหย่าร้าง

           ชาวฟาริสีบางคนทูลถามหวังจะจับผิดพระองค์ว่า “เป็นการถูกต้องหรือไม่ที่ชายจะหย่ากับภรรยา” พระองค์ตรัสตอบว่า “โมเสสได้บัญญัติไว้ว่าอย่างไร เขาทูลตอบว่า “โมเสสอนุญาตให้ทำหนังสือหย่าร้างและหย่ากันได้” พระเยซูเจ้าตรัสตอบว่า “เพราะใจดื้อหยาบกระด้างของท่าน โมเสสจึงได้เขียนบัญญัติข้อนี้ไว้ แต่เมื่อแรกสร้างโลกนั้นพระเจ้าทรงสร้างมนุษย์ให้เป็นชายและหญิง ดังนั้น ชายจะละบิดามารดา และชายหญิงจะเป็นเนื้อเดียวกัน ดังนี้ เขาจึงไม่เป็นสองอีกต่อไป แต่เป็นเนื้อเดียวกัน ดังนั้นสิ่งที่พระเจ้าทรงรวมกันไว้ มนุษย์อย่าแยกเลย” เมื่อกลับเข้าไปในบ้านแล้ว บรรดาศิษย์ทูลถามถึงเรื่องนี้อีก พระองค์จึงตรัสตอบว่า “ผู้ใดหย่าร้างภรรยา และแต่งงานกับอีกคนหนึ่ง ก็ทำผิดประเวณีต่อภรรยาคนเดิม และถ้าหญิงคนหนึ่งหย่ากับสามีไปแต่งงานกับอีกคนหนึ่ง ก็ทำผิดประเวณีเช่นเดียวกัน”
           พระเยซูเจ้าและเด็กเล็ก ๆ
           มีผู้นำเด็กเล็ก ๆ มาเฝ้าพระเยซูเจ้าเพื่อทรงสัมผัสอวยพร แต่บรรดาศิษย์กลับดุว่าคนเหล่านั้น เมื่อทรงเห็นเช่นนี้ พระองค์กริ้ว ตรัสแก่บรรดาศิษย์ว่า “ปล่อยให้เด็กเล็ก ๆ มาหาเราเถิด อย่าห้ามเลย เพราะพระอาณาจักรของพระเจ้าเป็นของคนที่เหมือนเด็กเหล่านี้ เราบอกความจริงกับท่านว่า ผู้ใดไม่รับพระอาณาจักรของพระเจ้าอย่างเด็กเล็ก ๆ เขาจะไม่เข้าสู่พระอาณาจักรนั้นเลย” แล้วพระองค์ทรงอุ้มเด็กเหล่านั้นไว้ ทรงปกพระหัตถ์ และประทานพระพร
(มาระโก 10:2-16)








วันพฤหัสบดีที่ 8 ตุลาคม พ.ศ. 2558

สัญลักษณ์ของคริสตศาสนา

                ปลากลายมาเป็นสัญลักษณ์ของความเชื่อในคริสต์ศาสนา  มีรูปปลาปรากฏอยู่ในถ้ำคาตาคอมบ์และในโบสถ์ยุคแรก  ในสมัยแรกที่มีการเบียดเบียนคริสต์ศาสนานั้น  การแสดงตัวเป็นคริสตชนจะทำให้คนนั้นถูกจับถูกและประหารชีวิต  ปลาจึงเป็นโค๊ดลับเพื่อแนะนำตัวเองแก่คริสตชนอีกคน  เขาจะเขียนรูปปลาเป็นเส้นโค้งสองเส้นดังในรูป  ตัวอักษรที่อ่านว่าปลาในภาษากรีกคือ ιχθυς อ่านว่า ichthus เป็นคำย่อของคำเต็มที่อ่านได้ว่า Jesus Christ, Son of God, Savior. พระเยซูคริสต์ บุตรของพระเจ้า องค์พระผู้ไถ่

วันพุธที่ 7 ตุลาคม พ.ศ. 2558

รูปภาพเก่าแก่ของพระเยซูเจ้า


ในพระคัมภีร์ไม่ได้บอกลักษณะรูปร่างของพระเยซูเจ้า  เราจึงไม่รู้จักรูปร่างที่แท้จริงของพระองค์  รูปภาพของพระองค์รูปแรกมีในราวศตวรรษที่ 3 ซึ่งแน่นอนว่าไม่ตรงตามลักษณะที่แท้จริงของพระองค์ อย่างไรก็ตามรูปภาพเหล่านั้นก็ยังมีความน่าสนใจ  ลองมาดูรูปภาพ 6 รูปนี้

วันอังคารที่ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2558

วันจันทร์ที่ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2558

House of Tears


ที่บ้านของนาง Nahed Ayoub ซึ่งอยู่ที่เท็กซัสในสหรัฐอเมริกา  มีพระรูปพระเยซูและแม่พระหลายรูปที่มีน้ำมันไหลออกมา...ดูรูป

วันพฤหัสบดีที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2558

เพลงลาวดวงเดือน



เพลง "ลาวดวงเดือน" เป็นผลงานนิพนธ์ของพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นพิไชยมหินทโรดม พระราชโอรสลำดับที่38 ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว กับเจ้าจอมมรกต พระนามเดิมว่า "พระองค์เจ้าเพ็ญพัฒนพงศ์"ในปี พ.ศ.2446เมื่อมีพระชันษา 21 ปี
พระองค์เจ้าเพ็ญพัฒนพงศ์เสด็จขึ้นไปนครเชียงใหม่ ได้พบรักกับเจ้าชมชื่น ธิดาสาวของเจ้าราชสัมพันธวงศ์กับเจ้าคำย่นเป็นรักครั้งแรกที่ พระองค์เจ้าเพ็ญพัฒนพงศ์ไม่อาจห้ามพระทัยได้ จึงทรงขอให้พระยานริศราชกิจข้าหลวงใหญ่มณฑลพายัพเป็นเถ้าแก่สู่ขอแต่เจ้าราชสัมพันธวงศ์ทัดทานไว้เพราะเห็นว่าเจ้าชมชื่นมีอายุเพียง 16 ปีในขณะนั้น รอให้มีอายุครบ18ปีเสียก่อนและต้องการให้ พระองค์เจ้าเพ็ญพัฒนพงศ์ทูลขอพระบรมราชานุญาตจากพระบรมราชชนก เพื่อเจ้าชมชื่นจะได้อยู่ในฐานะสะใภ้หลวงแต่ พระองค์เจ้าเพ็ญพัฒนพงศ์ก็ถูกทัดทานจากทุกฝ่าย ความรักครั้งแรกของพระองค์จึงต้องยุติลงด้วยความผิดหวัง
เมื่อพระองค์เจ้าเพ็ญพัฒนพงศ์เข้ารับราชการในกระทรวงเกษตราธิการทรงรับผิดชอบการเลี้ยงไหมทำให้ต้องเสด็จไปตรวจเยี่ยมศูนย์การทำไหมในมณฑลต่างๆ ครั้งหนึ่งในระหว่างทางที่เสด็จมณฑลอีสานได้ทรงหยุดประทับแรมบรรทมในเกวียน บรรยากาศในยามค่ำคืนอันเงียบเหงาทำให้ทรงนึกถึงความรักที่มีต่อเจ้าชมชื่นจึงได้ทรงนิพนธ์เพลงถึงนางอันเป็นที่รักเพื่อสะท้อนความรักความคิดถึงรวมถึงความไม่สมหวังในรักโดยทรงดัดแปลงและนำท่วงท่าทำนองเพลง "ลาวดำเนินทราย" ของพระยาประสานดุริยศัพท์(แปลก ประสานศัพท์)ซึ่งเป็นเพลงสำเนียงลาว และตั้งชื่อเพลงว่า "ลาวดำเนินเกวียน" เพลงนี้ได้รับความนิยมมาก หลังจากที่ พระองค์เจ้าเพ็ญพัฒนพงศ์สิ้นพระชนม์(โดยมีพระชันษาเพียง 28 ปี)ผู้ที่นำไปขับร้องทีหลังไม่รู้ที่มาของเพลง เห็นว่าเนื้อเพลงขึ้นต้นด้วยคำว่า"โอ้ละหนอ ดวงเดือนเอย.." จึงเรียกชื่อเพลงนี้ว่า"ลาวดวงเดือน" ปัจจุบันมีการนำคำร้องเดิมไปแปลเป็นภาษาอังกฤษนำทำนองไปใส่คำร้อง ภาษาจีนและภาษาญี่ปุ่น และนำไปแปลงเป็นเพลงไทยเดิมอีกเพลงหนึ่ง นั้นก็คือ "เพลงโสมส่องแสง


กรมหมื่นพิไชยมหินทโรดม กับเจ้าชมชื่น ณ เชียงใหม่