พระเมตตาของพระเยซูเจ้า

จงบอกมนุษยชาติที่กำลังเจ็บป่วย ให้เข้ามาใกล้หัวใจอันเมตตาของเรา แล้วเราจะประทานสันติภาพให้แก่มนุษยชาติ พระเมตตาของเราไม่มีวันสิ้นสุดเลย

พระวาจาวันอาทิตย์ที่ 6 เมษายน 2025 หญิงที่ถูกกล่าวหาว่าทำผิดประเวณี

           พระเยซูเจ้าเสด็จไปยังภูเขามะกอกเทศ เช้าตรู่วันรุ่งขึ้น พระองค์เสด็จไปในพระวิหารอีก ประชาชนเข้ามาห้อมล้อมพระองค์ พระองค์ประทับนั่ง แล้วทรงเริ่มสั่งสอน บรรดาธรรมาจารย์และชาวฟาริสีนำหญิงคนหนึ่งเข้ามา หญิงคนนี้ถูกจับขณะล่วงประเวณี เขาให้นางยืนตรงกลาง แล้วทูลถามพระองค์ว่า “อาจารย์ หญิงคนนี้ถูกจับขณะล่วงประเวณี ในธรรมบัญญัติ โมเสสสั่งเราให้ทุ่มหินหญิงประเภทนี้จนตาย ส่วนท่านจะว่าอย่างไร” เขาถามพระองค์เช่นนี้ เพื่อทดลองพระองค์ หวังจะหาเหตุปรักปรำพระองค์ แต่พระเยซูเจ้าทรงก้มลง เอานิ้วพระหัตถ์ขีดเขียนที่พื้นดิน เมื่อคนเหล่านั้นยังทูลถามย้ำอยู่อีก พระองค์ทรงเงยพระพักตร์ขึ้น ตรัสว่า “ท่านผู้ใดไม่มีบาป จงเอาหินทุ่มนางเป็นคนแรกเถิด” แล้วทรงก้มลงขีดเขียนบนพื้นดินต่อไป เมื่อคนเหล่านั้นได้ฟังดังนี้ ก็ค่อย ๆ ทยอยออกไปทีละคน เริ่มจากคนอาวุโส จนเหลือแต่พระเยซูเจ้าตามลำพังกับหญิงคนนั้น ซึ่งยังคงยืนอยู่ที่เดิม พระเยซูเจ้าทรงเงยพระพักตร์ขึ้น ตรัสกับนางว่า “นางเอ๋ย พวกนั้นไปไหนหมด ไม่มีใครลงโทษท่านเลยหรือ” หญิงคนนั้นทูลตอบว่า “ไม่มีใครเลย พระเจ้าข้า” พระเยซูเจ้าตรัสว่า “เราก็ไม่ลงโทษท่านด้วย ไปเถิด และตั้งแต่นี้ไป อย่าทำบาปอีก”
(ยอห์น 8:1-11)








วันศุกร์ที่ 7 มิถุนายน พ.ศ. 2567

นักบุญหลุยส์ เดอ มงฟอร์ต


เมื่อท่านเสียชีวิตในปี 1716 นักบุญหลุยส์มีอายุเพียง 43 ปี ท่านเป็นพระสงฆ์ได้เพียง 16 ปี การทำงานอย่างไม่เหน็ดเหนื่อยเพื่อนำวิญญาณมาหาพระเยซูผ่านทางพระนางมารีย์,โดยเฉพาะอย่างยิ่งโดยการเทศน์สอนในโบสถ์อย่างต่อเนื่องไม่รู้จบ ทำให้เขาเสียชีวิตก่อนวัยอันควร ราวกับว่าการทำงานเหล่านี้ยังทำให้เขาทนทุกข์ไม่เพียงพอ,หลุยส์ยังต้องทนรับการข่มเหงอย่างโหดร้ายจากพระสงฆ์และพวกแจนเซนเฮเรติก แม้กระทั่งถึงขั้นถูกพวกเขาทำร้ายร่างกายและวางยาพิษด้วย อย่างไรก็ตาม,นักรบผู้ไม่ย่อท้อของเรายังคงเดินหน้าต่อไปในสนามรบ โดยเทศน์สอนพระเยซูผ่านทางพระนางมารีย์อย่างต่อเนื่อง อันที่จริง,เมื่อผู้นำในพระศาสนจักรในฝรั่งเศสคิดว่าพวกเขาทำให้หลุยส์ยุติงานของเขาแล้ว,หลุยส์เดินทางเป็นระยะทางหลายพันไมล์ไปยังกรุงโรมและขอคำแนะนำจากพระสันตะปาปา พระสันตะปาปาไม่เพียงแต่บอกให้เขากลับไปฝรั่งเศสและเทศน์สอนต่อไป แต่ยังทรงมอบตำแหน่ง "มิชชันนารีเผยแพร่ศาสนา" ให้กับหลุยส์ด้วย ด้วยความนบนอบเชื่อฟังและอย่างร่าเริง,นักบุญของเรากลับไปยังฝรั่งเศสที่ซึ่งเขายังคงสั่งสอน, เขียน, และอดทนต่อความทุกข์ทรมานมากมายของเขาด้วยความรักต่อพระเยซู, พระนางมารีย์ และต่อวิญญาณของทุกคน  
ความทุกข์ทรมานและความกระตือรือร้นของนักบุญหลุยส์ได้จุดไฟในตัวคาร์โล วอยติยา (Karol Wojtyla) ในวัยหนุ่ม(พระสันตะปาปาจอห์น ปอลที่ 2) ไม่กี่ปีก่อนที่พระองค์จะสิ้นพระชนม์,พระสันตะปาปาทรงสามารถบรรลุความฝันตลอดชีวิตและไปเยี่ยมหลุมศพของนักบุญหลุยส์ เดอ มงฟอร์ต พระองค์ตรัสในโอกาสนั้นว่า "ข้าพเจ้าดีใจที่ได้เริ่มต้นการเดินทางแสวงบุญในฝรั่งเศสภายใต้หมายสำคัญของบุคคลผู้ยิ่งใหญ่นี้ พวกท่านรู้ไหมว่าข้าพเจ้าเป็นหนี้บุญคุณนักบุญองค์นี้และความศรัทธาอย่างแท้จริงต่อพระแม่มารีย์เป็นอย่างมาก" 

วันพฤหัสบดีที่ 6 มิถุนายน พ.ศ. 2567

วันที่ 7 มิถุนายน วันศุกร์ต้นเดือน


อย่าลืมพระองค์ผู้ทรงยอมรับทนทรมานและความตายเพื่อท่าน ท่านจะรักพระองค์ตราบเท่าที่ท่านยอมรับความทุกข์อย่างเงียบๆ,โดยเลือกพระองค์มากกว่าสิ่งอื่นใดและเลือกชีวิคนิรันดร  
 - - นักบุญมากาเร็ต มารีย์ อาลาก๊อก 
ร่วมพิธีมิสซาและรับศีลมหาสนิททุกวันศุกร์ต้นเดือนเก้าครั้งเพื่อถวายเกียรติแด่ดวงพระหฤทัยศักดิ์สิทธิ์ของพระเยซูเจ้า และรับพระคุณตามพระสัญญาของพระเยซูเจ้า 

วันพุธที่ 5 มิถุนายน พ.ศ. 2567

อย่าล่าช้าอีกต่อไป


โอ พี่ชายหรือน้องสาวของข้าพเจ้า อย่าละทิ้งความปรารถนาที่จะก้าวหน้าฝ่ายจิตเลยในขณะที่เวลาและโอกาสยังรอท่านอยู่! 
 เหตุใดท่านจึงล่าช้าอีกต่อไปเล่า? จงลุกขึ้น; เวลานี้เป็นเวลาที่จะเริ่มต้น! จงพูดกับตัวเองว่า “บัดนี้ถึงเวลาในการทำความดี บัดนี้เป็นเวลาของการต่อสู้ บัดนี้เป็นเวลาทำกิจชดใช้ความผิดบาปในอดีต”
 -จำลองแบบพระคริสต์
  Thomas A Kempis 

วันอังคารที่ 4 มิถุนายน พ.ศ. 2567

วันจันทร์ที่ 3 มิถุนายน พ.ศ. 2567

ความสับสนของพระธาตุในกอมโปสเตลา


พระธาตุของนักบุญยากอบองค์ใหญ่ อาจไม่ได้วางอยู่ใต้พระแท่นบูชาของอาสนวิหารกอมโปสเตลาอันยิ่งใหญ่

วันอาทิตย์ที่ 2 มิถุนายน พ.ศ. 2567

สมโภชพระวรกายและพระโลหิตพระคริสตเจ้า


โนักบุญโทมัส อไควนัส นักปราชญ์ประจำพระศาสนจักรเป็นผู้เสนอให้จัดพิธีฉลองพระวรกายและพระโลหิตพระคริสตเจ้าต่อพระสันตะปาปาเออร์บันที่ 4 เพื่อเป็นการเน้นถึงศีลมหาสนิท เป็นการแสดงออกถึงความยินดีที่ศีลมหาสนิทเป็นพระกายและพระโลหิต, พระวิญญาณ และพระเทวภาพของพระเยซูเจ้า. หลังจากที่พระสันตะปาปายอมรับในปี 1264 ถึงความถูกต้องของอัศจรรย์ศีลสนิทแห่งโบลเซนา โดยอาศัยข้อมูลของนักบุญโทมัส, พระสันตะปาปาซึ่งขณะนั้นประทับอยู่ในเมืองออร์เวียโต ได้กำหนดให้วันฉลองพระวรกายและพระโลหิตพระคริสตเจ้าเป็นวันสมโภชและขยายไปในพระศาสนจักรทั่วโลก 
 - - วิกิพีเดีย