พระเมตตาของพระเยซูเจ้า

จงบอกมนุษยชาติที่กำลังเจ็บป่วย ให้เข้ามาใกล้หัวใจอันเมตตาของเรา แล้วเราจะประทานสันติภาพให้แก่มนุษยชาติ พระเมตตาของเราไม่มีวันสิ้นสุดเลย

พระวาจาวันอาทิตย์ที่ 6 เมษายน 2025 หญิงที่ถูกกล่าวหาว่าทำผิดประเวณี

           พระเยซูเจ้าเสด็จไปยังภูเขามะกอกเทศ เช้าตรู่วันรุ่งขึ้น พระองค์เสด็จไปในพระวิหารอีก ประชาชนเข้ามาห้อมล้อมพระองค์ พระองค์ประทับนั่ง แล้วทรงเริ่มสั่งสอน บรรดาธรรมาจารย์และชาวฟาริสีนำหญิงคนหนึ่งเข้ามา หญิงคนนี้ถูกจับขณะล่วงประเวณี เขาให้นางยืนตรงกลาง แล้วทูลถามพระองค์ว่า “อาจารย์ หญิงคนนี้ถูกจับขณะล่วงประเวณี ในธรรมบัญญัติ โมเสสสั่งเราให้ทุ่มหินหญิงประเภทนี้จนตาย ส่วนท่านจะว่าอย่างไร” เขาถามพระองค์เช่นนี้ เพื่อทดลองพระองค์ หวังจะหาเหตุปรักปรำพระองค์ แต่พระเยซูเจ้าทรงก้มลง เอานิ้วพระหัตถ์ขีดเขียนที่พื้นดิน เมื่อคนเหล่านั้นยังทูลถามย้ำอยู่อีก พระองค์ทรงเงยพระพักตร์ขึ้น ตรัสว่า “ท่านผู้ใดไม่มีบาป จงเอาหินทุ่มนางเป็นคนแรกเถิด” แล้วทรงก้มลงขีดเขียนบนพื้นดินต่อไป เมื่อคนเหล่านั้นได้ฟังดังนี้ ก็ค่อย ๆ ทยอยออกไปทีละคน เริ่มจากคนอาวุโส จนเหลือแต่พระเยซูเจ้าตามลำพังกับหญิงคนนั้น ซึ่งยังคงยืนอยู่ที่เดิม พระเยซูเจ้าทรงเงยพระพักตร์ขึ้น ตรัสกับนางว่า “นางเอ๋ย พวกนั้นไปไหนหมด ไม่มีใครลงโทษท่านเลยหรือ” หญิงคนนั้นทูลตอบว่า “ไม่มีใครเลย พระเจ้าข้า” พระเยซูเจ้าตรัสว่า “เราก็ไม่ลงโทษท่านด้วย ไปเถิด และตั้งแต่นี้ไป อย่าทำบาปอีก”
(ยอห์น 8:1-11)








วันพฤหัสบดีที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2565

ความจริง 9 ข้อเกี่ยวกับนักบุญลูกา


1. นักบุญลูกาเป็นแพทย์ 
2. นักบุญลูกาไม่เคยพบกับพระเยซูเจ้าเลย 
3. นักบุญลูกาเป็นผู้นิพนธ์พระวรสารเล่มที่สามและหนังสือกิจการอัครสาวก 
4. ท่านเป็นเพื่อนและอยู่กับนักบุญเปาโลบ่อยครั้ง 
5.สัญลักษณ์ของนักบุญลูกาคือรูปวัวซึ่งหมายถึงความแข็งแกร่ง,ความไว้วางใจได้,และการรับใช้มนุษยชาติ 
6.นักบุญลูกาเป็นจิตรกรผู้วาดรูปแม่พระ,พระมารดานิจจานุเคราะห์
7.นักบุญลูกาเป็นผู้นิพนธ์พระวรสารที่ไม่ใช่ชาวยิว,ท่านเป็นชาวกรีก
8. นักบุญลูกาเป็นผู้บันทึกเหตุการณ์ที่ทูตสวรรค์กาเบรียลมาเยี่ยมมารีย์เพื่อประกาศข่าวดี,มารีย์เสด็จเยี่ยมเอลิซาเบธ,การประสูติ,การมาเยี่ยมของคนเลี้ยงแกะ,การตั้งชื่อและเข้าสุหนัตของพระเยซู,การสนทนาของพระเยซูในพระวิหารเมื่ออายุสิบสองปี,และชีวิตครอบครัวของพระองค์กับมารีย์และโยเซฟที่นาซาเร็ธ รายละเอียดมากเช่นนี้จึงทำให้นักประวัติศาสตร์เชื่อว่าลูกาต้องรู้จักพระแม่มารีย์เป็นการส่วนตัว และได้ยินเกี่ยวกับเหตุการณ์เหล่านี้โดยตรงจากพระนาง
9. นอกจากพระแม่มารีย์แล้ว ลูกายังกล่าวถึงเอลิซาเบธ,แม่ยายของเปโตร,หญิงม่ายที่โศกเศร้า,หญิงที่ทำผิดประเวณี,หญิงชาวกาลิลีที่ติดตามพระเยซู,ธิดาของไยรัส,หญิงที่ตกเลือด,มารธาและมารีย์ ลูกาเน้นย้ำว่าพระวรสารมีขึ้นสำหรับมนุษยชาติทั้งมวล ทั้งชายและหญิง ในขณะที่โลกโบราณส่วนใหญ่ครอบงำโดยผู้ชาย ลูกาจึงถูกเรียกว่า "พระวรสารของมารีย์" และ "พระวรสารของสตรี"

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น