พระเมตตาของพระเยซูเจ้า

จงบอกมนุษยชาติที่กำลังเจ็บป่วย ให้เข้ามาใกล้หัวใจอันเมตตาของเรา แล้วเราจะประทานสันติภาพให้แก่มนุษยชาติ พระเมตตาของเราไม่มีวันสิ้นสุดเลย

พระวาจาวันอาทิตย์ที่ 19 มกราคม 2025 งานแต่งงานที่หมู่บ้านคานา

           สามวันต่อมามีงานสมรสที่หมู่บ้านคานาในแคว้นกาลิลี พระมารดาของพระเยซูเจ้าทรงอยู่ในงานนั้น พระเยซูเจ้าทรงได้รับเชิญพร้อมกับบรรดาศิษย์มาในงานนั้นด้วย เมื่อเหล้าองุ่นหมด พระมารดาของพระเยซูเจ้าจึงมาทูลพระองค์ว่า “เขาไม่มีเหล้าองุ่นแล้ว” พระเยซูเจ้าตรัสว่า “หญิงเอ๋ย ท่านต้องการสิ่งใด เวลาของเรายังมาไม่ถึง” พระมารดาของพระเยซูเจ้าจึงกล่าวแก่บรรดาคนรับใช้ว่า “เขาบอกให้ท่านทำอะไร ก็จงทำเถิด” ที่นั่นมีโอ่งหินตั้งอยู่หกใบ เพื่อใช้ชำระตามธรรมเนียมของชาวยิว แต่ละใบจุน้ำได้ประมาณหนึ่งร้อยลิตร พระเยซูเจ้าตรัสกับบรรดาคนรับใช้ว่า “จงตักน้ำใส่โอ่งให้เต็ม” เขาก็ตักน้ำใส่จนเต็มถึงขอบ แล้วพระองค์ทรงสั่งเขาอีกว่า “จงตักไปให้ผู้จัดงานเลี้ยงเถิด” เขาก็ตักไปให้ ผู้จัดงานเลี้ยงได้ชิมน้ำที่เปลี่ยนเป็นเหล้าองุ่นแล้ว ไม่รู้ว่าเหล้านี้มาจากไหน แต่คนรับใช้ที่ตักน้ำรู้ดี ผู้จัดงานเลี้ยงจึงเรียกเจ้าบ่าวมา พูดว่า “ใคร ๆ เขานำเหล้าองุ่นอย่างดีมาให้ก่อน เมื่อบรรดาแขกดื่มมากแล้ว จึงนำเหล้าองุ่นอย่างรองมาให้ แต่ท่านเก็บเหล้าอย่างดีไว้จนถึงบัดนี้” พระเยซูเจ้าทรงกระทำเครื่องหมายอัศจรรย์ ครั้งแรกนี้ที่หมู่บ้านคานา แคว้นกาลิลี พระองค์ทรงแสดงพระสิริรุ่งโรจน์ของพระองค์ และบรรดาศิษย์เชื่อในพระองค์
(ยอห์น 2:1-11)








วันพุธที่ 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2557

วันเสาร์ที่ 3 พฤษภาคม พ.ศ. 2557

แม่พระแห่งกัวดาลูเป (ตอนที่ 1)

พระเป็นเจ้าทรงประทานเครื่องหมายหลายอย่างให้แก่เรา  เพื่อทำให้เราแน่ใจและมีความเชื่อที่มั่นคง  เครื่องหมายเหล่านี้  อาทิเช่น  ผ้าห่อพระศพแห่งเมืองตูริน  พระธาตุร่างกายของนักบุญหลายองค์ที่ไม่เน่าเปื่อย  แผ่นศีลมหาสนิทที่กลายเป็นเนื้อและโลหิตแท้ๆ  รอยแผลศักดิ์สิทธิ์ ฯลฯ  ... อ่านทั้งหมด

วันพุธที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2557

สามเณรชาวโปแลนด์ที่ช่วยชีวิตหญิงชาวยิว


ระหว่างฤดูร้อนปี 1942  มีหญิงสองคนในกรุงคราคอฟ  ของโปแลนด์ ถูกประกาศว่าเป็นชาวยิว และถูกนำตัวไปขังคุก........อ่านต่อ 



วันอังคารที่ 29 เมษายน พ.ศ. 2557

เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับพระสันตะปาปา 10 พระองค์


      VATICAN CITY (CNS) -- จาก น.เปโตรมาถึง พระสันตปาปาฟรังซิส  มีพระสันตะปาปาทั้งสิ้น 266 พระองค์  ในจำนวนนี้มีพระสันตะปาปา 78 พระองค์ที่ได้รับ "การสถาปนา" ( recognized หมายถึงพระศาสนจักรรับรู้ว่าเป็นนักบุญ) เป็นนักบุญ  ภายหลังวันที่ 27 เม.ย. 2014 ก็มีจำนวนเพิ่มขึ้นอีก 2 พระองค์ คือพระสันตะปาปายอห์นที่ 23 และพระสันตะปาปายอห์นปอลที่ 2
           พระสันตะปาปาในยุคแรกเป็นมรณสักขีเพราะความเชื่อ  เป็นเครื่องหมายชัดเจนที่พระศาสนจักรรับรองถึงความศักดิ์สิทธิ์ของท่าน  และเมื่อยุคสมัยการเบียดเบียนสิ้นสุดลง  จำนวนพระสันตะปาปาที่ได้ชื่อว่า “นักบุญ” ก็มีน้อยลง
     เป็นเวลานานเกือบ 701 ปี  มาจนถึง 27 เม.ย. 2014 นี้ มีพระสันตะปาปาเพียง 4 พระองค์เท่านั้นที่ถูกประกาศให้เป็นนักบุญ
    
เรื่องที่น่าสนใจ 10 เรื่องเกี่ยวกับพระสันตะปาปาที่ได้รับการสถาปนาเป็นนักบุญในยุคแรกๆมีดังนี้
1. น.เปโตร  พระนามเดิมคือ ซีโมน  เป็นพระสันตะปาปาองค์แรก  ท่านเป็นคนแรกที่บอกว่า พระเยซูเจ้าคือพระคริสต์ (พระผู้ไถ่)  และเป็นบุตรของพระเจ้าผู้ทรงชีวิต  ภารกิจพิเศษของท่านที่กล่าวในพระวรสารคือ “การดูแลฝูงแกะ” ของพระคริสต์  นั่นคือ ภารกิจในการประกาศข่าวดีของพระคริสตเจ้า  ปกป้องและเพิ่มพูนความเชื่อในพระคริสต์  ท่านถูกตรึงกางเขนที่เชิงเนินเขาของวาติกัน เมื่อมีอายุ 60 ปี  เวลานั้นเป็นสมัยของจักรพรรดิเนโร  ท่านจึงเป็นมรณสักขีเพราะความเชื่อและการเทศนาสั่งสอน  หลุมฝังศพของท่านถูกค้นพบอยู่ใต้อาสนวิหารนักบุญเปโตร
2. น. โซเตอร์ (St. Soter) เป็นพระสันตะปาปาแห่งโรมประมาณปี ค.ศ. 167  ท่านเสียชีวิตในอีก 7 ปีต่อมา  เชื่อว่า น.โซเตอร์เป็นคนแรกที่เริ่มต้นให้มีการฉลองวันอิสเตอร์ที่โรมทุกปี
3. น.ฟาเบียน St. Fabian  เป็นพระสันตะปาปาในปี 236-250  ท่านได้รับการแต่งตั้งเป็นพระสันตะปาปาอย่างน่าประหลาดใจ  ในเวลาที่มีการเลือกผู้ที่จะเป็นพระสันตะปาปา  มีนกพิราบมาเกาะบนศีรษะของท่าน  ผู้คนที่นั่นต่างระลึกถึงการที่พระจิตเจ้าเสด็จมาเหนือพระเยซูเจ้า  จึงเชื่อว่าพระจิตเจ้าทรงเลือกท่านให้เป็นพระสันตะปาปาองค์ต่อไป
4. น. ดามาซุส  St. Damasus  ท่านเกิดที่โรมและเป็นพระสันตะปาปาในปี 366-384  เป็นยุคที่คริสตศาสนาได้รับการประกาศให้เป็นศาสนาประจำชาติของอาณาจักรโรมันในปี 380  และพระองค์ได้รับการสนับสนุนอย่างแข็งขันให้เป็นพระสังฆราชแห่งโรมในฐานะผู้สืบทอดจาก น.เปโตร โดยตรง  พระองค์เป็นผู้นำภาษาลาติน มาใช้ในพิธีกรรมและเป็นมาตรฐานต่อมา
5. น. เลโอ ผู้ยิ่งใหญ่  (St. Leo the Great )ท่านเกิดมาในชื่อว่า เลโอ และใช้นามนี้เป็นชื่อพระสันตะปาปา  พระองค์เป็นพระสันตะปาปาในปี 440-461  เป็นพระสันตะปาปาองค์แรกที่ได้รับสมญาว่า “ผู้ยิ่งใหญ่ the great” และยังเป็นนักปราชญ์ของพระศาสนจักรอีกด้วย  พระองค์ประกาศจุดยืนที่แน่ชัดในเรื่องการบังเกิดของพระคริสตเจ้า  นั่นคือ พระคริสต์ทรงบังเกิดมีสภาวะพระเจ้าและมนุษย์ในเวลาเดียวกัน  พระองค์ยังเป็นที่รู้จักดีในเรื่องที่ได้พบกับ อัตติลา กษัตริย์ชาวฮั่น ในปี 452  และได้เกลี้ยกล่อมอัตติลาให้ยกเลิกการรุกรานอิตาลีและยกทัพกลับไปได้สำเร็จ
6. น.เกรโกรี่ผู้ยิ่งใหญ่  (St. Gregory the Great) เป็นพระสันตะปาปาในปี 590-604  เป็นพระสันตะปาปาองค์ที่สองที่ได้รับสมญาว่า “ผู้ยิ่งใหญ่” ต่อจากพระสันตะปาปาเลโอ  พระองค์เป็นญาติกับพระสันตะปาปาสองพระองค์  มารดาของพระองค์และป้าสองคนได้รับการสถาปนาเป็นนักบุญด้วย  พระองค์จึงได้ชื่อว่าเป็นนักบุญในท่ามกลางนักบุญ  พระองค์บวชเป็นนักพรตและไม่ประสงค์จะรับตำแหน่งพระสันตปาปาเมื่อถูกเลือก  พระองค์คร่ำครวญบ่อยๆถึงหน้าที่ใหม่ที่ได้รับในฐานะพระสันตปาปาเพราะต้อง “ทนต่อภารกิจและเรื่องราวทางโลก”  จนไม่มีเวลาที่จะรำพึงไตร่ตรองชีวิตในพระวินัยได้อย่างสงบ  นอกจากนั้น พระองค์เน้นย้ำอย่างหนักแน่นในเรื่องความยากจนและความเมตตา  พระองค์ได้ให้อาหารแก่คนยากจนในโรมและยังเชิญพวกเขาให้มารับประทานอาหารกับพระองค์ทุกวันอีกด้วย
7. น. นิโคลัสที่ 1 (St. Nicholas I the Great) ผู้ยิ่งใหญ่ เป็นพระสันตะปาปาในปี 858-867  เป็นองค์ที่สามและเป็นองค์สุดท้ายที่ได้สมญาว่า “ผู้ยิ่งใหญ่”  พระองค์เพิ่มอำนาจของพระสันตปาปาให้แข็งแกร่งขึ้นและไม่ยอมให้ใครมีสิทธิที่จะขับไล่พระสังฆราชโดยไม่ได้รับอนุมัติจากพระสันตปาปา  พระองค์ตรากฎหมายการแต่งงานและกระตุ้นให้พระสังฆราชทำหน้าที่ในการบัพพาชนียกรรมคนในราชวงศ์ซึ่งเป็นคาทอลิก  ที่ละทิ้งคู่แต่งงานเพื่อไปแต่งงานใหม่  พระองค์สนับสนุนให้มีเสรีภาพในการแต่งงานและไม่เห็นด้วยกับพระสังฆราชบางองค์ที่บัพพาชนียกรรมคนในราชวงศ์ที่แต่งงานโดยไม่ได้รับการยินยอมจากบิดา
8. น.เกรโกรี่ที่ 7 (St. Gregory VII) เป็นพระสันตปาปในปี 1073-1085 พระองค์ทำการปฏิรูปหลายอย่าง  อย่างเช่น การทำให้อำนาจของพระสันตปาปาครอบคลุมไปถึงพระศาสนจักรตะวันตก  พระองค์แต่งตั้งพระสังฆราชและพระสงฆ์ที่น่านับถือหลายองค์  พระองค์ต่อสู้กับการหาเงินเข้าวัดด้วยการขายหรือซื้อกิจการบางอย่างของโบสถ์  พระองค์ให้ผ่านกฎหมายเกี่ยวกับการอยู่ในเพศพรหมจรรย์ของพระสงฆ์นักบวช  ทั้งๆที่มีการถกเถียงกันอยู่บ่อยๆ  พระองค์ประกาศให้ประกอบพิธีกรรมแบบโรมเหมือนกันทั่วยุโรป  และทรงตั้งให้วันที่ 1 พ.ย. ของทุกปีเป็นวันนักบุญทั้งหลาย  พระองค์ทรงยกเลิกบัพพาชนียกรรมแก่กษัตริย์เฮนรี่ที่ 4 ในปี 1077  หลังจากที่กษัตริย์เฮนรี่ ทรงทำการใช้โทษบาปด้วยการเดินเท้าเปล่าในหิมะ
9. น. ซีเลสทีนที่ 5 (St. Celestine V) มาจากคณะเบเนดิกติน  พระองค์ทรงลาจากตำแหน่งพระสันตะปาปาภายหลังจากที่รับตำแหน่งเพียงไม่กี่เดือน ในปี 1294  เพราะพระองค์ประสงค์ที่จะกลับไปใช้ชีวิตที่ถ่อมตนในอาราม  พระองค์ออกกฎอนุญาตให้พระสันตะปาปาสามารถลาออกหรือสละตำแหน่งได้  พระสันตะปาปาเบเนดิกต์ที่ 16 เป็นพระสันตะปาปาองค์ต่อมาที่ทรงสละตำแหน่งในปี 2013  พระองค์ทรงวางผ้าคลุมไหล่ที่ได้รับในวันที่ถูกเลือกเป็นพระสันตปาปาในปี 2005 ไว้บนที่ฝังพระศพของพระสันตะปาปาซีเลสทีนที่ 5 ซึ่งอยู่ที่   L'Aquila, Italy ในปี 2009 และทิ้งไว้ที่นั่นเหมือนเป็นของขวัญ
10 น. ปีโอที่ 10 (St. Pius X) ได้รับเลือกเป็นพระสันตะปาปาในปี 1903  สิ้นพระชนม์ในปี 1914  พระองค์ส่งเสริมให้สัตบุรุษรับศีลอภัยบาปและศีลมหาสนิทบ่อยๆ  และให้พระสงฆ์ประกอบพิธีบูชามิสซาอย่างสง่า  โดยเน้นในเรื่องการร้องเพลงเกรโกเรี่ยนในพิธีให้เหมาะสมและสวยงาม  ระมัดระวังไมให้มีการนำเพลงสไตล์สมัยใหม่มาใช้ในพิธี  และส่งเสริมให้สัตบุรุษขับร้องเพลงด้วย  พระองค์ทรงตั้งโรมันคูเรียและการประชุมของพระคาร์ดินัลเพื่อออกกฏเกณท์  พระองค์ให้การสนับสนุนข้อสงสัยทางวิทยาศาสตร์  อย่างไรก็ตาม  แม้พระองค์จะได้รับรถยนต์ในปี 1909  จากพระอัครสังฆราชแห่งนิวยอร์ก John M. Farley  พระองค์ก็ไม่เคยใช้เลย  พระองค์ยังคงใช้รถม้าเหมือนเดิม

วันอาทิตย์ที่ 27 เมษายน พ.ศ. 2557

สาระสำคัญในพิธีสถาปนานักบุญพระสันตปาปาสองพระองค์

 
1. พิธีกรรม - เริ่มเวลา 7.00 GMT (ประมาณ บ่ายสามโมง ในไทย) มีบทสวด  การขับร้องเพลงบทเร้าวิงวอนนักบุญ  (ซึ่งจะขานรับว่า  ช่วยวิงวอนทอญ)
2. การประกาศ  - พระสันตปาปาฟรังซิสจะตรัสว่า “เพื่อเป็นเกียรติแด่พระตรีเอกภาพศักดิ์สิทธิ์ยิ่ง  ด้วยความยินดีแห่งความเชื่อคาทอลิกและเป็นการเพิ่มพูนชีวิตคริสตชน  โดยอาศัยอำนาจแห่งพระเยซูคริสตเจ้า  พระเจ้าของเรา  และอำนาจของอัครสาวกเปโตรและเปาโล  และอำนาจของเราเอง  หลังจากได้สวดภาวนาไตร่ตรองโดยอาศัยความช่วยเหลือจากสวรรค์  และได้ปรึกษากับบรรดาพี่น้องพระสังฆราชหลายองค์  เราขอประกาศให้บุญราศีพระสันตะปาปายอห์นที่ 23 และพระสันตะปาปายอห์นปอลที่ 2 เป็นนักบุญ  ขอให้ท่านได้อยู่ในหมู่นักบุญทั้งหลาย  และได้รับการเคารพจากพระศาสนจักรทั่วโลก  ทั้งนี้ในนามของพระบิดา  พระบุตร และพระจิต”
3. พระธาตุ - ของนักบุญจะถูกนำมาวางไว้บนพระแท่น  ในกรณีของพระสันตะปาปายอห์นปอลที่ 2 จะเป็นโลหิต ซึ่งใช้ในพิธีสถาปนาเป็นบุญราศี ปี 2011  สำหรับพระสันตะปาปายอห์นที่ 23 จะเป็นผิวหนังที่นำมาจากร่างกายของพระองค์   พิธีจบลงด้วยเพลง “Gloria  แล้วพิธีมิสซาดำเนินต่อไปตามปกติ
4. ตัวเลข - ผู้แทนอย่างเป็นทางการจำนวน 93 คน จะมาร่วมในพิธี  24 คนเป็นระดับหัวหน้าแห่งรัฐ  กษัตริย์และพระราชินีแห่งเบลเยี่ยม และ สเปน ก็คาดว่าจะมาร่วมด้วย ในฐานะราชวงศ์จากกลุ่มแอนดอร่า  บริเทนและลักเซมเบิร์ก  ประเทศโปแลนด์ได้ส่งผู้แทนระดับสูงสุดคือ ประธานาธิบดีคนปัจจุบันและอดีตประธานาธิบดี 2 คน  ซึ่งรวมทั้งนาย เล็ค  วาเลซ่า ผู้ก่อตั้งกลุ่มโซลิดาลิตี้ที่โค่นล้มระบอบคอมมิวนิสต์ในโปแลนด์  โดยมีพระสันตะปาปายอห์นปอลที่ 2 ทรงสนับสนุน
- พระคาร์ดินัล 130-150 องค์ และ พระสังฆราช 1,000 องค์ จะร่วมประกอบพิธีมิสซาพร้อมกับพระสันตปาปาฟรังซิส  พระสงฆ์ 6,000 องค์ จะร่วมในพิธีโดยนั่งอยู่ด้านหน้าของพระแท่น  และพระสันตะปาปากิติคุณ เบเนดิกต์ที่ 16 จะเข้าร่วมในพิธีครั้งนี้
- พระสงฆ์ 600 องค์จะเป็นผู้แจกจ่ายศีลมหาสนิท  และสังฆานุกร 210 องค์จะคอยช่วยเหลือ
5. การถ่ายทอดสด
- เว็บไซต์อย่างเป็นทางการคือ www.2popesaints.org   ข้อมูลของพิธีสามารถรับได้ทาง www.vatican.va
- หนังสือพิธีกรรมอย่างเป็นทางการในรูปแบบไฟล์ pdf สามารถรับได้ทาง http://www.vatican.va/news_services/liturgy/libretti/2014/20140427-libretto-canonizzazione.pdf

วันเสาร์ที่ 26 เมษายน พ.ศ. 2557

อัศจรรย์ของพระสันตปาปายอห์นปอลที่ 2


VATICAN CITY (CNS) --.นาง  Floribeth Mora Diaz  สตรีชาวคอสตา ริกา อายุ 50 ปี ได้กล่าวในการให้สัมภาษณ์ของผู้สื่อข่าวเมื่อ วันที่ 24 เม.ย. นี้  สามวันก่อนที่เธอจะเข้าร่วมพิธีมิสซาเพื่อสถาปนาพระสันตะปาปายอห์นปอลที่ 2 ขึ้นเป็นนักบุญ
และในเวลาเดียวกัน ซิสเตอร์ อะเดลเล ลาเบียนกา  แห่งคณะ Daughter of Charity ก็ให้สัมภาษณ์เป็นพยานเกี่ยวกับอัศจรรย์การเยียวยารักษาของซิสเตอร์ คัทเทอรีนา  คาปีตานี ในปี 1966 ซึ่งเป็นอัศจรรย์ที่ใช้ในการแต่งตั้งพระสันตปาปายอห์นปอลที่ 2 เป็นบุญราศี
ถึงแม้ว่าสตรีทั้งสองจะเล่าเรื่องนี้ซ้ำแล้วซ้ำเล่าเป็นร้อยครั้ง  แต่ในที่ประชุมให้สัมภาษณ์แก่ผู้สื่อข่าวครั้งนี้  เป็นครั้งใหญ่และอาจทำให้เกิดความตื่นเต้น  ซิสเตอร์ ลาเบียนกา  บอกว่าเธอต้องอ่านคำให้สัมภาษณ์จากข้อเขียนในกระดาษที่เธอเตรียมมา  เพราะเกรงว่าจะลืมข้อความบางสิ่งบางอย่างไป  ส่วนนางโมราเดียส  ให้สัมภาษณ์โดยมีเสียงที่สั่นบ้างเล็กน้อย
หญิงชาวคอสตารีกา  ผู้เดินทางมาที่วาติกันพร้อมกับสามีและลูก 4 คน  ได้เล่าเกี่ยวกับอาการปวดหัวอย่างรุนแรงของเธอในเดือน เม.ย. 2011  เธอไปพบหมอและได้รับแจ้งว่าเธอเป็นเส้นเลือดในสมองตีบ  หมอบอกว่าเธอต้องได้รับการผ่าตัด  แต่เธอจะต้องไปที่เม็กซิโกหรือที่คิวบาเพื่อรับการผ่าตัดที่นั่น  และเธฮก็ไม่มีเงินเพียงพอ  หมอไม่สามารถช่วยเหลือเธอได้อีก  ดังนั้นเธอจึงถูกส่งตัวกลับบ้าน  หมอบอกว่า “เธอจะมีชีวิตอยู่ได้อีกเพียงหนึ่งเดือนเท่านั้น”  เธอเริ่มร้องไห้ขณะที่เล่าให้ฟังต่อไปถึงเรื่องที่สามีพยายามบอกให้ลูกๆรู้ว่าแม่จะต้องเสียชีวิตและให้ลูกๆสวดภาวนา
นางโมรา เล่าต่อไปว่า  เธอมีความศรัทธาต่อพระสันตะปาปายอห์นปอลที่ 2 มานานแล้วและได้ชมการถ่ายทอดการสถาปนาพระองค์เป็นบุญราศีเมื่อ 1 พ.ค. 2011 ด้วย “แล้วฉันก็หลับไป” เธอพูดต่อ  อีกไม่กี่ชั่วโมงต่อมา เธอก็ได้ยินเสียงของพระสันตะปาปาเรียกเธอ “ลุกขึ้น!....จงอย่ากลัว”  เธอบอกว่า “ฉันมีความสงบและสันติสุข  ซึ่งทำให้ฉันแน่ใจว่าฉันหายแล้ว”
เธอและสามีไม่มีเงินเพียงพอที่จะทำการตรวจรักษาอีกแล้ว  แต่แม้กระนั้น หมอก็ทำการตรวจด้วยเครื่อง MRI ให้เธอ  “หมอแทบช็อก  สามีของฉันประหลาดใจมากว่าทำไม หมอไม่พูดอะไรเลย  และฉันก็พูดขึ้นว่า  “เพราะฉันได้รับการเยียวยารักษาโดยผ่านการวอนขอของพระสันตะปาปายอห์นปอลที่ 2”
คำพูดของหมอมีความสำคัญมาก เธอพูดต่อ “เพราะไม่ใช่ฉันเพียงคนเดียวที่พูดว่า ฉันหายแล้ว  แต่หมอหลายคนที่เคร่งขรึมมาก ก็พูดเช่นนี้ด้วย”
ซิสเตอร์ ลาเบียนกา ได้เล่าเกี่ยวกับอัศจรรย์ที่ทำให้พระสันตะปาปายอห์นปอลที่ 2 เป็นบุญราศี  เธอทำงานพร้อมกับซิสเตอร์ คัทเทอรีนา คาปิตานี ในโรงพยาบาลที่อิตาลี ในปี 1963  ซิสเตอร์ คัทเทอรีนา  เป็นโรคเลือดออกในกระเพาะอาหาร   ในตอนเที่ยงคืนของวันหนึ่ง  และมีอาการรุนแรง  เธอได้ปลุกฉันขึ้นมา 
หลังจากรักษานานหลายเดือน  หมอได้ผ่าเอากระเพาะส่วนใหญ่ของเธอออก  เป็นส่วนที่มีเนื้องอกคลุมอยู่  รวมทั้งตับอ่อนและม้ามด้วย  ในตอนแรกเธอก็มีอาการดีขึ้น  แต่ต่อมาเกิดอาการทวารส่วนนอกรั่ว  จนทำให้ซิสเตอร์คัทเทอรีนาเกือบเสียชีวิตในวันที่ 22 พ.ค. 1966  ผู้ช่วยอธิการของคณะได้นำพระธาตุที่เป็นส่วนหนึ่งของผ้าคลุมเตียงของพระสันตปาปายอห์นปอลที่ 2 มาให้ซิสเตอร์คัทเทอรีนา
“ท่านวางพระธาตุไว้ที่รอยแผลของซิสเตอร์โดยหวังว่า พระเยซูเจ้าจะเสด็จมาด้วยพระเมตตาและความรักของพระองค์” ซิสเตอร์ลาเบียนกาเล่า  “ทันใดนั้น  ซิสเตอร์ คัทเทอรีนาก็ลุกขึ้นจากเตียงและไม่รู้สึกเจ็บปวดอีกต่อไป”  ซิสเตอร์คัทเทอรีนาเล่าว่า  เธอรู้สึกว่ามีมือหนึ่งวางบนรอยแผลและได้ยินเสียงเรียกว่า “ซิสเตอร์ คัทเทอรีนา” 
“เธอรู้สึกตกใจที่ได้ยินเสียงผู้ชายในห้อง”  เธอจึงหันไปมองและเห็นพระสันตะปาปายอห์นปอลที่ 2 ทรงยืนอยู่ข้างเตียงของเธอ  พระองค์ตรัสกับเธอว่า  เธอหายสบายดีแล้ว  แล้วเธอก็ลุกจากเตียงไปบอกซิสเตอร์คนอื่นๆว่าเธอหายแล้วและกำลังหิว”  ซิสเตอร์ ลาเบียนกา เล่า
                 ด้วยอัศจรรย์นี้  พระสันตะปาปายอห์นปอลที่ 2 จึงได้รับการสถาปนาเป็นบุญราศี  และซิสเตอร์ คัทเทอรีนา ก็ไปร่วมอยู่ในพิธีด้วย  ซิสเตอร์คัทเทอรีนาเสียชีวิตในปี 2010  เธอมีชีวิตต่อมานาน 43 ปีหลังจากได้รับอัศจรรย์การเยียวยารักษา