พระเมตตาของพระเยซูเจ้า

จงบอกมนุษยชาติที่กำลังเจ็บป่วย ให้เข้ามาใกล้หัวใจอันเมตตาของเรา แล้วเราจะประทานสันติภาพให้แก่มนุษยชาติ พระเมตตาของเราไม่มีวันสิ้นสุดเลย

พระวาจาวันอาทิตย์ที่ 22 ธันวาคม 2024 เตรียมรับเสด็จพระคริสตเจ้าสัปดาห์ที่ 4

           หลังจากนั้นไม่นาน พระนางมารีย์ทรงรีบออกเดินทางไปยังเมืองหนึ่งในแถบภูเขาแคว้นยูเดีย พระนางเสด็จเข้าไปในบ้านของเศคาริยาห์และทรงทักทายนางเอลีซาเบธ เมื่อนางเอลีซาเบธได้ยินคำทักทายของพระนางมารีย์ บุตรในครรภ์ก็ดิ้น นางเอลีซาเบธได้รับพระจิตเจ้าเต็มเปี่ยม ร้องเสียงดังว่า “เธอได้รับพระพรยิ่งกว่าหญิงใด ๆ และลูกของเธอก็ได้รับพระพรด้วย ทำไมหนอพระมารดาขององค์พระผู้เป็นเจ้า จึงเสด็จมาเยี่ยมข้าพเจ้า เมื่อฉันได้ยินคำทักทายของเธอ ลูกในครรภ์ของฉันก็ดิ้นด้วยความยินดี เธอเป็นสุขที่เชื่อว่า พระวาจาที่พระเจ้าตรัสแก่เธอไว้จะเป็นจริง”
(ลูกา 1:39-45)








วันอังคารที่ 21 มิถุนายน พ.ศ. 2559

แสงสว่างเกิดในเวลาปฏิสนธิ

26 April 2016 • 11:49am
นักวิทยาศาสตร์ได้ค้นพบเป็นครั้งแรกว่า ชีวิตมนุษย์จุติขึ้นในแสงสว่างเมื่อสเปิร์มสัมผัสกับไข่  ภายหลังจากที่นักวิทยาศาสตร์สามารถถ่ายภาพในเวลาที่สเปิร์มสัมผัสกับไข่  เวลานั้นเองแสงสว่างเล็กๆวาบขึ้นทันที
อันที่จริงนักวิทยาศาสตร์เคยเห็นปรากฏการณ์นี้แล้วในสัตว์  แต่ครั้งนี้เป็นครั้งแรกที่พบในมนุษย์  ศาสตราจารย์ Teresa Woodruff, แห่ง Northwestern University ซึ่งค้นพบปรากฏการณ์นี้กล่าวว่า “เมื่อเห็นแสงรังสีที่วาบขึ้นมาจากไข่ของมนุษย์ทำให้แทบหยุดหายใจเลย”
ไม่เพียงแต่เกิดแสงที่เหลือเชื่อนี้เกิดขึ้นในเวลาที่ชีวิตใหม่จุติเท่านั้น  ขนาดของแสงสว่างยังสามารถใช้ในการพิจารณาถึงคุณภาพของไข่ที่ปฏิสนธิแล้วได้ด้วย
นักวิจัยจาก Northwestern University, in Chicago สังเกตุเห็นว่าไข่บางใบเกิดแสงสว่างมากกว่าใบอื่น  แสดงให้เห็นว่ามันเป็นไข่ที่จะให้กำเนิดทารกที่มีสุขภาพดีกว่าใบอื่น
ภาพที่ถ่ายได้เห็นแสงสว่างวาบขึ้นทันทีเวลาที่สเปิร์มมาพบกับไข่  Eggs flash as they meet
Teresa Woodruff กล่าวว่า “เราสามารถดูที่แสงสว่างที่วาบขึ้น( zinc spark )ในเวลาที่มีการปฏิสนธิ และเรารู้ในทันทีว่าไข่ใบไหนดีหรือไม่ในการทำปฏิสนธิในหลอดแก้ว”
ปัจจุบันนี้  การทำปฏิสนธิในหลอดแก้วจะมีไข่ 50 เปอร์เซนต์ที่การพัฒนาเป็นไปอย่างไม่เหมาะสม  และนักวิทยาศาสตร์เชื่อว่าเกิดจากรหัสทางพันธุกรรมที่ผิดพลาด

วันจันทร์ที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2559

ผู้ได้รับพระพรพิเศษชาวซีเรีย

 เมื่อไม่นานมานี้ เราได้มีโอกาสพูดกับ มีรนา นาสซูร์ (Myrna Nazzour) หญิงชาวซีเรียที่ได้รับพระพรพิเศษ>>>อ่านต่อ


วันอาทิตย์ที่ 19 มิถุนายน พ.ศ. 2559

การเสด็จเยี่ยมเอลีซาเบธ

ผมเคยถามเพื่อนๆว่า  เมื่อแม่พระเสด็จเยี่ยมนักบุญเอลีซาเบธ นั้น นักบุญโยเซฟอยู่ที่นั่นด้วยหรือไม่?  พวกเขาส่วนใหญ่ไม่เคยคิดถึงเรื่องนี้มาก่อนเลย  ผมสงสัยในเรื่องนี้จึงได้พยายามศึกษาเพื่อตอบคำถามนี้>>>อ่านต่อ 

วันเสาร์ที่ 18 มิถุนายน พ.ศ. 2559

นักบุญคัทรินแห่งเซียนนา8

สาส์นของพระบิดา

น.คัทรินได้รับพระพรพิเศษในการฟังและบันทึกสาส์นจากพระบิดานิรันดร  ในหนังสือของเธอชื่อ “The Dialogue” บรรยายถึงการเปิดเผยของพระบิดาที่ให้ความมั่นใจและท้าทายแก่พวกเรา  พระบิดาทรงเป็นผู้ปกครองและอาจารย์สวรรค์ของพวกเรา  พระองค์ทรงสอนดังนี้
เกี่ยวกับความทุกข์(On Suffering )
·       ในชีวิตนี้  ความผิดบาปไมได้รับการชดเชยด้วยความทุกข์ใดๆที่เกิดขึ้นเอง  แต่บาปได้รับการชดเชยด้วยความทุกข์ที่เกิดจากความปรารถนา จากความรัก และจากหัวใจที่สำนึกผิด
·       คุณค่าในการชดเชยใช้โทษบาปมิได้มาจากตัวของความทุกข์เอง  แต่มาจากความปรารถนาของวิญญาณ
·       เช่นเดียวกัน, ความปรารถนาหรือการทำความดีต่างๆจะมีคุณค่าได้ก็โดยผ่านทางองค์พระบุตรสุดที่รักหนึ่งเดียวของเราเท่านั้น  คือในพระคริสต์ผู้ทรงถูกตรึงกางเขน  เพราะวิญญาณได้รับความรักมาจากพระองค์และจาดการทำความดีที่ปฏิบัติตามพระแบบฉบับของพระองค์
·       ความทุกข์ได้ชดเชยบาป  ความรักเกิดขึ้นจากความรู้ถึงความดีของเราและจากความขมขื่นและการสำนึกผิดที่หัวใจประสบในความรู้จักตนเองและรู้ถึงบาปที่ทำลงไป

วันศุกร์ที่ 17 มิถุนายน พ.ศ. 2559

พระสันตปาปาพบคณะละครสัตว์


ผ้าสองผืน

สถาบัน Valencia-based Centro Español de Sindonología (CES)ได้ให้การสนับสนุนแก่โครงการของศาสตราจารย์ Dr. Juan Manuel Miñarro แห่งมหาวิทยาลัยแห่งเซวิล ในการวิจัยผ้าพันพระศพแห่งเมืองตุริน  และผ้าพันพระพักตร์พระเยซูเจ้าแห่งโอวิโด(The Shroud of Turin and the Sudarium of Oviedo)
ผ้าพันพระศพถูกใช้ในการพันร่างกายของพระเยซูเจ้า  และผ้าอีกผืนหนึ่งที่ใช้พันเฉพาะพระเศียรและพักตร์ของพระองค์  ผ้าทั้งสองถูกพบโดยนักบุญเปโตรและนักบุญยอห์นเมื่อทั้งสองมาถึงถ้ำที่เขานำพระศพของพระเยซูเจ้าไปวางไว้  ตามที่เขียนอยู่ในพระคัมภีร์  การศึกษาครั้งนี้ไม่ได้มีจุดประสงค์เพื่อพิสูจน์ว่าพระศพนี้เป็นพระศพของพระเยซูเจ้า  แต่ต้องการพิสูจน์ว่าผ้าทั้งสองถูกใช้กับบุคคลคนเดียวกัน  จากจุดพิกัดที่กำหนดในภาพของผ้าทั้งสองผืนซึ่งใช้ 8-12 จุดอันเป็นระบบในการพิสูจน์ลักษณะบุคคลในทางนิติวิทยาศาสตร์ซึ่งเป็นระบบที่ใช้ทั่วโลก  จากจุดพิกัดนี้พบว่าตำแหน่งเหล่านั้นในผ้าทั้งสองตรงกันทั้งในด้านขนาดและระยะห่างของจุดพิกัด  นอกจากนี้ยังมีรอยเลือดที่ปรากฏอยู่บนผ้าทั้งสองผืน  และตำแหน่งของรอยเลือดในผ้าทั้งสองก็สอดคล้องกันด้วย
ศาสตราจารย์มานูเอล กล่าวว่า “ดังนั้นโดยตรรกะ  เราจึงสรุปว่าเรากำลังพูดถึงบุคคลคนเดียวกันอยู่”
ข้อสรุปที่ได้จากการวิจัยครั้งนี้คือ ผ้าพันพระศพแห่งตูรินและผ้าพันพระพักตร์พระเยซูเจ้าแห่งโอวิโด ผ้าทั้งสองใช้กับบุคคลคนเดียวกัน
 “ไม่มีสิ่งใดที่ซ่อนเร้นจะไม่ถูกเปิดเผย  และไม่มีสิ่งใดที่ถูกปกปิดไว้จะไม่ถูกนำออกมาสู่ที่แจ้ง” ลก. 8:17

วันพฤหัสบดีที่ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2559

เด็กที่ฝากผลงานไว้ให้โลก2

Louis Braille
ข้อจำกัดของร่างกาย ไม่ใช่อุปสรรคต่อการพัฒนาสิ่งที่ดีกว่า
              เบรลล์ เด็กหนุ่มชาวฝรั่งเศษ ผู้เกิดในปี ค.ศ.1809 เขาตาบอดสนิทเมื่ออายุ 3 ขวบ และได้เข้ารับการศึกษาที่สถาบันเพื่อเยาวชนตาบอดแห่งปารีส (Royal Institute for Blind Youth in Paris) ด้วยวัยเพียง 19 ปี เขาได้พัฒนาระบบอักษรขึ้นโดยไม่ใช้ดวงตา แต่อาศัยตำแหน่งของจุดที่นูนขึ้นมาบนกระดาษแทนซึ่งในสมัยก่อนใช้งานยุ่งยากและซับซ้อนมาก ระบบอักษรที่เบรลล์ประดิษฐ์ขึ้นนี้ในปัจจุบันถูกเรียกว่า ระบบอักษรเบรลล์ เพื่อเป็นเกียรติแด่หลุยส์ เบรลล์
อักษรเบรลล์ถูกใช้ทั่วโลกสำหรับการอ่าน/เขียน ของคนตาบอด มีรูปแบบเพื่อทดแทนอักษรในภาษาต่างๆ รวมถึงภาษาไทย ละยังแทนตัวเลขได้อีกด้วย ซึ่งเรามักพบอักษรเบรลล์อยู่ในลิฟท์บริเวณเลขชั้นนั่นเอง
หลุยส์ เบรลล์ ได้เป็นอาจารย์ที่ Royal Institute for Blind Youth in Paris กระทั่งเสียชีวิตไปในวัย 43 ปี แต่ผลงานในวัยเด็กของเขา ยังคงสร้างคุณประโยชน์ให้แก่โลกจวบจนทุกวันนี้