พระเมตตาของพระเยซูเจ้า

จงบอกมนุษยชาติที่กำลังเจ็บป่วย ให้เข้ามาใกล้หัวใจอันเมตตาของเรา แล้วเราจะประทานสันติภาพให้แก่มนุษยชาติ พระเมตตาของเราไม่มีวันสิ้นสุดเลย

พระวาจาวันอาทิตย์ที่ 6 เมษายน 2025 หญิงที่ถูกกล่าวหาว่าทำผิดประเวณี

           พระเยซูเจ้าเสด็จไปยังภูเขามะกอกเทศ เช้าตรู่วันรุ่งขึ้น พระองค์เสด็จไปในพระวิหารอีก ประชาชนเข้ามาห้อมล้อมพระองค์ พระองค์ประทับนั่ง แล้วทรงเริ่มสั่งสอน บรรดาธรรมาจารย์และชาวฟาริสีนำหญิงคนหนึ่งเข้ามา หญิงคนนี้ถูกจับขณะล่วงประเวณี เขาให้นางยืนตรงกลาง แล้วทูลถามพระองค์ว่า “อาจารย์ หญิงคนนี้ถูกจับขณะล่วงประเวณี ในธรรมบัญญัติ โมเสสสั่งเราให้ทุ่มหินหญิงประเภทนี้จนตาย ส่วนท่านจะว่าอย่างไร” เขาถามพระองค์เช่นนี้ เพื่อทดลองพระองค์ หวังจะหาเหตุปรักปรำพระองค์ แต่พระเยซูเจ้าทรงก้มลง เอานิ้วพระหัตถ์ขีดเขียนที่พื้นดิน เมื่อคนเหล่านั้นยังทูลถามย้ำอยู่อีก พระองค์ทรงเงยพระพักตร์ขึ้น ตรัสว่า “ท่านผู้ใดไม่มีบาป จงเอาหินทุ่มนางเป็นคนแรกเถิด” แล้วทรงก้มลงขีดเขียนบนพื้นดินต่อไป เมื่อคนเหล่านั้นได้ฟังดังนี้ ก็ค่อย ๆ ทยอยออกไปทีละคน เริ่มจากคนอาวุโส จนเหลือแต่พระเยซูเจ้าตามลำพังกับหญิงคนนั้น ซึ่งยังคงยืนอยู่ที่เดิม พระเยซูเจ้าทรงเงยพระพักตร์ขึ้น ตรัสกับนางว่า “นางเอ๋ย พวกนั้นไปไหนหมด ไม่มีใครลงโทษท่านเลยหรือ” หญิงคนนั้นทูลตอบว่า “ไม่มีใครเลย พระเจ้าข้า” พระเยซูเจ้าตรัสว่า “เราก็ไม่ลงโทษท่านด้วย ไปเถิด และตั้งแต่นี้ไป อย่าทำบาปอีก”
(ยอห์น 8:1-11)








วันศุกร์ที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2559

เด็กที่ฝากผลงานไว้ให้โลก5

Nkosi Johnson
นักสู้เพื่อสิทธิเด็กผู้เกิดมาพร้อม HIV


Johnson เกิดมาในแอฟริกาใต้ เช่นเดียวกับเด็กคนอื่นๆ ที่เกิดมาพร้อม HIV อีกกว่า 70,000 คนในแต่ละปี   แม่ของเขาเสียชีวิตโดยเอดส์ ทำให้อาสาสมัครหญิงดูแลแม่ลูกคู่นี้จึงรับเขามาอยู่ด้วย และเริ่มต้นพาเข้าโรงเรียน ซึ่งคุณแม่บุญธรรมก็ไม่ปิดเรื่องที่ Johnson เป็นเอดส์ ทางโรงเรียนแจ้งว่าจะติดต่อกลับไปอีกที และก็ติดต่อมาจริงๆ เพื่อนัดพูดคุย พบว่าคุณครูและผู้ปกครองครึ่งนึงยอมรับ และอีกครึ่งหนึ่งรู้สึกไม่สบายใจ แต่สุดท้ายเขาได้เข้าเรียนในที่สุด จากนั้นจึงได้เริ่มการเวิร์คช็อปเพื่อสร้างความเข้าใจและให้การยอมรับต่อผู้ติดเชื้อ การกระทำของเขาส่งผลจนรัฐบาลได้ออกนโยบายว่า ต้องให้สิทธิในการศึกษาแก่เด็กผู้ติดเชื้อ ในที่สุด เขาเริ่มเป็นตัวแทนแห่งการเยียวยาผู้ติดเชื้อ การยอมรับและเข้าใจ จนขับเคลื่อนนโยบายของแอฟริกาใต้ในด้านนี้
Nkosi Johnson เสียชีวิตในเช้าตรู่วันที่ 1 มิถุนายน 2001 ท่ามกลางความเสียใจของหลายๆ คน แต่สุนทรพจน์เขาบนงาน International Aids Conference ครั้งที่ 13 ยังคงก้องอยู่ในหัวใจใครหลายๆ คน ด้วยประโยคง่ายๆ ที่ว่า
“Care for us and accept us – we are all human beings,”  
“We are normal. We have hands. We have feet. We can walk, we can talk, we have needs just like everyone else. Don’t be afraid of us – we are all the same.”

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น