พระเมตตาของพระเยซูเจ้า

จงบอกมนุษยชาติที่กำลังเจ็บป่วย ให้เข้ามาใกล้หัวใจอันเมตตาของเรา แล้วเราจะประทานสันติภาพให้แก่มนุษยชาติ พระเมตตาของเราไม่มีวันสิ้นสุดเลย

พระวาจาวันอาทิตย์ที่ 23 มิถุนายน 2024 พระเยซูเจ้าทรงทำให้พายุสงบ

           เย็นวันเดียวกันนั้น พระเยซูเจ้าตรัสสั่งบรรดาศิษย์ว่า “เราจงข้ามไปทะเลสาบฝั่งโน้นกันเถิด” บรรดาศิษย์จึงละประชาชนไว้ และออกเรือที่พระองค์ประทับอยู่นั้นไป มีเรือลำอื่นๆ ติดตามไปด้วย ขณะนั้นเกิดพายุแรงกล้า คลื่นซัดเข้าเรือจนน้ำเกือบจะเต็มเรืออยู่แล้ว พระองค์บรรทมหลับหนุนหมอนอยู่ที่ท้ายเรือ บรรดาศิษย์จึงปลุกพระองค์ ทูลถามว่า “พระอาจารย์ พระองค์ไม่สนพระทัยที่พวกเรากำลังจะตายอยู่แล้วหรือ” พระองค์จึงทรงลุกขึ้น บังคับลม ตรัสสั่งทะเลว่า “เงียบซิ จงสงบลงเถิด” ลมก็หยุด ท้องทะเลราบเรียบอย่างยิ่ง แล้วพระองค์ตรัสถามเขาว่า “ตกใจกลัวเช่นนี้ทำไม ท่านยังไม่มีความเชื่อหรือ” เขาเหล่านั้นกลัวมาก พูดกันว่า “ท่านผู้นี้เป็นใครหนอ ลมและทะเลจึงยอมเชื่อฟังเช่นนี้
(มาระโก 14ซ35-41)








วันอังคารที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2563

วันฉลองมรณสักขีรุ่นแรกแห่งกรุงโรม

                "พระเจ้าข้า, ข้าพเจ้าทั้งหลายขอถวายผลแรกแห่งพระศาสนจักรโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ด้วยโลหิตแห่งมรณสักขี ข้าพเจ้าทั้งหลายวอนขอต่อพระองค์ โดยอาศัยความกล้าหาญเด็ดเดี่ยวของบรรดามรณสักขีเหล่านี้, ขอให้ข้าพเจ้าทั้งหลายมีความเข้มแข็งต่อการเบียดเบียนและต่ออุปสรรคในชีวิตและได้ชื่นชมยินดีในชัยชนะของผู้สัตย์ซื่อในความรักต่อพระองค์ ข้าพเจ้าวอนขอทั้งนี้, โดยอาศัยพระเยซูคริสตเจ้า, องค์พระผู้เป็นเจ้าของข้าพเจ้าทั้งหลาย, พระบุตรของพระองค์, ผู้ทรงดำรงชีพและเสวยราชย์ร่วมกับพระองค์, พร้อมกับพระจิต, พระเจ้าหนึ่งเดียวเป็นนิจกาล"
                – รูปภาพของบรรดามรณสักขีกำลังเดินเข้าสู่ลานกีฬาโคโลเซี่ยม  และคำภาวนาเนื่องในวันฉลองบรรดามรณสักขีรุ่นแรกของพระศาสนจักรแห่งกรุงโรม (30 มิถุนายน) ภาพนี้วาดโดย Léon-François Benouville เสร็จสมบูรณ์ในปี ค.ศ. 1855 เวลานี้ถูกตั้งแสดงใน Musée d'Orsay ในกรุงปารีส ผมรู้สึกประทับใจกับภาพวาดนี้มาก และยืนอยู่ต่อหน้ามันสักครู่เพื่อไตร่ตรองถึงความเข้มแข็งของมรณสักขีผู้ยอมพลีชีพของตนเพื่อยืนยันความเชื่อต่อพระเยซูเจ้า และคิดถึงความกล้าหาญและความรักความเมตตาที่พวกเราต้องมีในฐานะคริสตชนที่อยู่ในโลกนี้ ซึ่งบ่อยครั้งได้รับการเบียดเบียนเนื่องจากพระวรสาร

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น