พระเมตตาของพระเยซูเจ้า

จงบอกมนุษยชาติที่กำลังเจ็บป่วย ให้เข้ามาใกล้หัวใจอันเมตตาของเรา แล้วเราจะประทานสันติภาพให้แก่มนุษยชาติ พระเมตตาของเราไม่มีวันสิ้นสุดเลย

พระวาจาวันอาทิตย์ที่ 19 พฤษภาคม 2024 สมโภชพระจิตเจ้า

           ค่ำวันนั้นซึ่งเป็นวันต้นสัปดาห์ ประตูห้องที่บรรดาศิษย์กำลังชุมนุมกันปิดอยู่เพราะกลัวชาวยิว พระเยซูเจ้าเสด็จเข้ามาประทับยืนอยู่ตรงกลาง ตรัสกับเขาทั้งหลายว่า “สันติสุขจงสถิตอยู่กับท่านทั้งหลายเถิด” ตรัสดังนี้แล้ว พระองค์ทรงให้บรรดาศิษย์ดูพระหัตถ์และด้านข้างพระวรกาย เมื่อเขาเหล่านั้นเห็นองค์พระผู้เป็นเจ้า ก็มีความยินดี พระองค์ตรัสกับเขาอีกว่า “สันติสุขจงสถิตอยู่กับท่านทั้งหลายเถิด พระบิดาทรงส่งเรามาฉันใด เราก็ส่งท่านทั้งหลายไปฉันนั้น”
           ตรัสดังนี้แล้ว พระองค์ทรงเป่าลมเหนือเขาทั้งหลาย ตรัสว่า “จงรับพระจิตเจ้าเถิด ท่านทั้งหลายอภัยบาปของผู้ใด บาปของผู้นั้นก็ได้รับการอภัย ท่านทั้งหลายไม่อภัยบาปของผู้ใด บาปของผู้นั้นก็ไม่ได้รับการอภัยด้วย”
(ยอห์น 20:19-23)








วันพุธที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2567

ผู้มีใจยากจนย่อมเป็นสุข

พระสงฆ์ผู้ศักดิ์สิทธิ์ดอน โดลินโด(Don Dolindo)ได้อธิบายคำว่า “มีใจยากจน”ดังนี้ - เขาเน้นย้ำว่าคำนี้ไม่เพียงแต่หมายถึงความยากจนฝ่ายวัตถุเท่านั้น แต่ยังหมายถึงทัศนคติภายในของการเลิกคิดแบบหัวรุนแรงอีกด้วย ผู้ที่ยากจนฝ่ายวิญญาณจะ “แยกตัวออกจากทุกสิ่ง” และไม่ปรารถนาสิ่งใดนอกจากพระเจ้าเท่านั้น จิตวิญญาณของพวกเขาไม่ถูกรบกวนด้วยปัญญาทางโลกและเปิดกว้างต่อแสงสว่างของพระเจ้าอย่างเรียบง่าย ความยากจนฝ่ายวิญญาณนี้ทำให้ได้รับความดีสูงสุดอย่างเต็มที่ นอกจากนี้ยังให้อิสรภาพภายในที่จะยอมสละละทิ้งสิ่งต่างๆฝ่ายวัตถุด้วยใจสงบ, อดทนต่อความอยุติธรรมที่ได้รับ, และละทิ้งความสะดวกสบายเพื่อประกอบกิจกุศล 
เหนือสิ่งอื่นใด ผู้มีใจยากจนพึ่งพาพระเจ้าอย่างสมบูรณ์ โดยวางใจในพระญาณเอื้ออาทรของพระเจ้า,พระบิดา และพิจารณาตนเองว่าไม่มีอะไรเลย พวกเขาไม่ไว้วางใจในความสามารถของตนเอง แต่วางใจในความดีงามและพระเมตตาของพระเจ้าอย่างเต็มที่ ดอน โดลินโดแสดงให้เห็นชัดเจนว่าความสมัครใจรับความยากจนฝ่ายวิญญาณเป็นเรื่องยาก แต่นั่นจะทำให้ได้รับพระพรอย่างลึกซึ้ง มันปลดปล่อยเราจากการยึดติดกับสิ่งของชั่วคราวของโลกและนำเราไปสู่ความดีนิรันดร เขากล่าวด้วยภาพพจน์ที่สดใสว่า: “ความยากจนโดยสมัครใจ,หรือความยากจนของวิญญาณ,เป็นการลดสัมภาระของชีวิตได้อย่างแน่นอน มันให้อิสรภาพแก่วิญญาณในการโบยบิน” ความเบาลงของวิญญาณนี้ตรงกันข้ามกับโลกที่ “ทำให้ชีวิตหนักอึ้งมาก” 

วันอังคารที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2567

การอดอาหาร


การอดอาหารช่วยชำระล้างจิตวิญญาณ,ยกจิตใจให้สูงขึ้น,ทำให้เนื้อหนังจำนนต่อวิญญาณ - ทำให้ใจสำนึกผิดและถ่อมตน, ขจัดเมฆแห่งตัณหา, ดับไฟแห่งราคะ, จุดไฟแห่งความบริสุทธิ์อันแท้จริง
- นักบุญ ออกัสติน 

วันจันทร์ที่ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2567

วันพุธรับเถ้า วันเริ่มต้นของเทศกาลมหาพรต


เมื่อวันพุธรับเถ้าตรงกับวันวาเลนไทน์ปีนี้ ชาวคาทอลิกจะทำอย่างไร? 
 ในช่วงเริ่มต้นของเทศกาลมหาพรต เมื่อชาวคาทอลิกเตรียมตัวสำหรับเทศกาลอีสเตอร์ทั้งในด้านจิตใจ ร่างกาย และวิญญาณ ชาวคาทอลิกจะต้องอดอาหารและงดเว้นจากการกินเนื้อสัตว์ในวันพุธที่ 14 กุมภาพันธ์ แต่คุณยังสามารถเฉลิมฉลองวันวาเลนไทน์ได้ – บางทีโดยการ ให้ของขวัญคนรักของคุณในวันอังคาร (มาร์ดิกราส์) งดทานเนื้อสัตว์ในวันพุธวาเลนไทน์ อดอาหารโดยทานอิ่มเพียงมื้อเดียว(ยกเว้นสำหรับเด็กเล็ก)  ในช่วงมหาพรตเราจะไม่ใช้คำ"อัลเลลูยา"ในพิธีมิสซา 

ความหมายของการโปรยเถ้ามีสองความหมาย เมื่อพระสงฆ์โปรยเถ้าบนศีรษะท่านจะพูดวาจาจากพระคัมภีร์คือ 
- “จงกลับใจและเชื่อในพระวรสาร” (มาร์โก 1:15) ในเทศกาลมหาพรตเราได้รับการเรียกร้องให้กลับใจอย่างแท้จริง ให้ปฏิเสธบาปและรักพระเจ้าด้วยสิ้นสุดหัวใจ สิ้นสุดสติปัญญา และสิ้นสุดกำลังของเรา
- “จงจำไว้ว่าท่านเป็นฝุ่นดินและเจ้าจะกลับเป็นฝุ่นดิน” (ปฐมกาล 3:19) ความหมายคือ ชีวิตของเราในโลกนี้นั้นสั้นนัก และนิรันดรภาพคือการดำรงอยู่ตลอดไปไม่มีที่สิ้นสุด เราอาจจะได้รับความรอดและอยู่ในสวรรค์ หรืออาจจะสูญเสียและต้องไปนรก ทั้งสองกรณีจะเป็นนิรันดร มนุษย์อาจลืมไปว่าเขามีชีวิตอยู่ในโลกนี้เพียงระยะเวลาสั้นๆเท่านั้น เมื่อถึงเวลาเขาจะต้องตายและจะไม่กลับมาอยู่ในโลกนี้อีก  

วันอาทิตย์ที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2567

วันเสาร์ที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2567

วันศุกร์ที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2567

คำทำนายของนักบุญ


“ปีศาจพยายามอยู่เสมอ,โดยใช้คนนอกรีต, ที่จะลบล้างพิธีมิสซาอันศักดิ์สิทธิ์ ทำให้คนเหล่านั้นเป็นบรรพบุรุษของแอนตี้ไครส์, ผู้ซึ่งก่อนสิ่งอื่นใด,จะพยายามยกเลิกศีลศักดิ์สิทธิ์แห่งพระแท่นบูชา เพื่อเป็นการลงโทษบาปของมนุษย์ ตามคำพยากรณ์ของดาเนียลว่า 'และทรงประทานกำลังแก่เขาเพื่อต่อสู้กับเครื่องบูชาเนืองนิตย์' (ดาเนียล 8:12)" 
-- นักบุญอัลฟองซัส ลิกัวรี นักปราชญ์แห่งพระศาสนจักร (1696-1787)
 
พระสันตะปาปาปีโอที่ 12 (1876-1958): 
“เราเชื่อว่าเวลาปัจจุบันเป็นช่วงที่น่าหวาดกลัวของเหตุการณ์ที่พระคริสต์ทรงทำนายไว้ล่วงหน้า ดูเหมือนว่าความมืดมิดกำลังจะมาเยือนโลก มนุษยชาติตกอยู่ในวิกฤตครั้งใหญ่ที่สุด”
 
นักบุญยอห์น บอสโก (ค.ศ. 1815-1888) 
 “ลูกๆของท่านขอขนมปังแห่งความเชื่อแต่ไม่มีใครหักปังให้พวกเขา . . โรมที่อกตัญญู โรมที่อ่อนแอ โรมที่หยิ่งผยอง . . โดยลืมไปว่าเกียรติและสง่าราศีที่แท้จริงของท่านอยู่ที่กอลโกธา . . วิบัติแก่ท่านที่ทำให้กฎบัญญัติของเรากลายเป็นคำพูดไร้สาระสำหรับท่าน” 
“จะมีสังคายนาสากลในศตวรรษหน้า, หลังจากนั้นจะเกิดความวุ่นวายในพระศาสนจักร” 
คำทำนายนี้เกิดขึ้นในปี 1862
 

วันพฤหัสบดีที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2567

มาลาของพระสังฆราชคาทอลิก

มาลาหรือหมวกของพระสังฆราชคาทอลิก มีรูปทรงที่เป็นเอกลักษณ์ เราเรียกมาลานี้ว่า Mitre เป็นภาษากรีก แปลว่า Crown มงกุฎ ดังนั้นมาลานี้คือมงกุฎของพระสังฆราช มาลามงกุฏมียอดแหลมสองยอดชี้ขึ้นสู่สวรรค์ ยอดแหลมสองยอดนี้มีความหมาย ยอดแหลมอันหนึ่งเป็นสัญญลักษณ์หมายถึงพระเยซูเจ้าผู้ทรงเป็นพระเจ้า ส่วนยอดแหลมอีกอันหนึ่งหมายถึงพระเยซูเจ้าเช่นเดียวกัน แต่เป็นพระเยซูเจ้าผู้ทรงเป็นมนุษย์ ยอดแหลมอยู่ในมาลาเดียวกัน นั่นคือพระเยซูเจ้าพระองค์เดียวมีสองธรรมชาติ คือเป็นพระเจ้าและมนุษย์ รูปทรงของมาลาดูเหมือนภูเขา(บางคนบอกว่าดูเหมือนปลา อาจเป็นปลาฉลาม) ซึ่งหมายถึงพระศาสนจักร เพราะพระเยซูเจ้าทรงตั้งพระศาสนจักรบนศิลา คือนักบุญเปโตร รูปทรงที่เหมือนภูเขาทำให้เรานึกถึงศิลานั่นเอง 
นอกจากนี้ยังมีผ้าแถบสองอันต่อมาจากมาลานี้และห้อยอยู่ทางด้านหลัง  ผ้าแถบทั้งสองก็มีความหมายเช่นเดียวกัน ผ้าแถบอันหนึ่งหมายถึง พระคัมภีร์พระธรรมเก่า และผ้าแถบอีกอันหนึ่งหมายถึงพระคัมภีร์พระธรรมใหม่ 
มาลามงกุฎของพระสังฆราช จึงเป็นสัญญลักษณ์หมายถึงอำนาจปกครองของพระสังฆราชที่ได้รับมาจากพระเยซูเจ้าและพระศาสนจักร เพื่อสั่งสอนพระวาจาของพระเจ้าที่ปรากฏอยู่ในพระธรรมเก่าและพระธรรมใหม่