พระเมตตาของพระเยซูเจ้า

จงบอกมนุษยชาติที่กำลังเจ็บป่วย ให้เข้ามาใกล้หัวใจอันเมตตาของเรา แล้วเราจะประทานสันติภาพให้แก่มนุษยชาติ พระเมตตาของเราไม่มีวันสิ้นสุดเลย

พระวาจาวันอาทิตย์ที่ 28 เมษายน 2024 พระเยซูเจ้าทรงเป็นเถาองุ่นแท้

           เราเป็นเถาองุ่นแท้ และพระบิดาของเราทรงเป็นชาวสวน กิ่งก้านใดในเราที่ไม่เกิดผล พระองค์จะทรงตัดทิ้งเสีย กิ่งก้านใดที่เกิดผล พระองค์จะทรงลิดเพื่อให้เกิดผลมากขึ้น ท่านทั้งหลายก็สะอาดอยู่แล้วเพราะวาจาที่เรากล่าวกับท่าน ท่านทั้งหลายจงดำรงอยู่ในเราเถิด ดังที่เราดำรงอยู่ในท่าน กิ่งองุ่นเกิดผลด้วยตนเองไม่ได้ถ้าไม่ติดอยู่กับเถาองุ่นฉันใด ท่านทั้งหลายก็จะเกิดผลไม่ได้ ถ้าไม่ดำรงอยู่ในเราฉันนั้น เราเป็นเถาองุ่น ท่านทั้งหลายเป็นกิ่งก้าน ผู้ที่ดำรงอยู่ในเรา และเราดำรงอยู่ในเขา ก็ย่อมเกิดผลมาก เพราะถ้าไม่มีเรา ท่านก็ทำอะไรไม่ได้เลย ถ้าผู้ใดไม่ดำรงอยู่ในเรา ก็จะถูกโยนทิ้งไปข้างนอกเหมือนกิ่งก้านและจะเหี่ยวแห้งไป กิ่งก้านเหล่านั้นจะถูกเก็บไปทิ้งในไฟและถูกเผา ถ้าท่านทั้งหลายดำรงอยู่ในเรา และวาจาของเราดำรงอยู่ในท่าน ท่านอยากได้สิ่งใด ก็จงขอเถิด และท่านจะได้รับ พระบิดาของเราจะทรงรับพระสิริรุ่งโรจน์เมื่อท่านเกิดผลมากและกลายเป็นศิษย์ของเรา
(ยอห์น 15:1-8)








วันพุธที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2557

สามเณรชาวโปแลนด์ที่ช่วยชีวิตหญิงชาวยิว


ระหว่างฤดูร้อนปี 1942  มีหญิงสองคนในกรุงคราคอฟ  ของโปแลนด์ ถูกประกาศว่าเป็นชาวยิว และถูกนำตัวไปขังคุก........อ่านต่อ 



วันอังคารที่ 29 เมษายน พ.ศ. 2557

เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับพระสันตะปาปา 10 พระองค์


      VATICAN CITY (CNS) -- จาก น.เปโตรมาถึง พระสันตปาปาฟรังซิส  มีพระสันตะปาปาทั้งสิ้น 266 พระองค์  ในจำนวนนี้มีพระสันตะปาปา 78 พระองค์ที่ได้รับ "การสถาปนา" ( recognized หมายถึงพระศาสนจักรรับรู้ว่าเป็นนักบุญ) เป็นนักบุญ  ภายหลังวันที่ 27 เม.ย. 2014 ก็มีจำนวนเพิ่มขึ้นอีก 2 พระองค์ คือพระสันตะปาปายอห์นที่ 23 และพระสันตะปาปายอห์นปอลที่ 2
           พระสันตะปาปาในยุคแรกเป็นมรณสักขีเพราะความเชื่อ  เป็นเครื่องหมายชัดเจนที่พระศาสนจักรรับรองถึงความศักดิ์สิทธิ์ของท่าน  และเมื่อยุคสมัยการเบียดเบียนสิ้นสุดลง  จำนวนพระสันตะปาปาที่ได้ชื่อว่า “นักบุญ” ก็มีน้อยลง
     เป็นเวลานานเกือบ 701 ปี  มาจนถึง 27 เม.ย. 2014 นี้ มีพระสันตะปาปาเพียง 4 พระองค์เท่านั้นที่ถูกประกาศให้เป็นนักบุญ
    
เรื่องที่น่าสนใจ 10 เรื่องเกี่ยวกับพระสันตะปาปาที่ได้รับการสถาปนาเป็นนักบุญในยุคแรกๆมีดังนี้
1. น.เปโตร  พระนามเดิมคือ ซีโมน  เป็นพระสันตะปาปาองค์แรก  ท่านเป็นคนแรกที่บอกว่า พระเยซูเจ้าคือพระคริสต์ (พระผู้ไถ่)  และเป็นบุตรของพระเจ้าผู้ทรงชีวิต  ภารกิจพิเศษของท่านที่กล่าวในพระวรสารคือ “การดูแลฝูงแกะ” ของพระคริสต์  นั่นคือ ภารกิจในการประกาศข่าวดีของพระคริสตเจ้า  ปกป้องและเพิ่มพูนความเชื่อในพระคริสต์  ท่านถูกตรึงกางเขนที่เชิงเนินเขาของวาติกัน เมื่อมีอายุ 60 ปี  เวลานั้นเป็นสมัยของจักรพรรดิเนโร  ท่านจึงเป็นมรณสักขีเพราะความเชื่อและการเทศนาสั่งสอน  หลุมฝังศพของท่านถูกค้นพบอยู่ใต้อาสนวิหารนักบุญเปโตร
2. น. โซเตอร์ (St. Soter) เป็นพระสันตะปาปาแห่งโรมประมาณปี ค.ศ. 167  ท่านเสียชีวิตในอีก 7 ปีต่อมา  เชื่อว่า น.โซเตอร์เป็นคนแรกที่เริ่มต้นให้มีการฉลองวันอิสเตอร์ที่โรมทุกปี
3. น.ฟาเบียน St. Fabian  เป็นพระสันตะปาปาในปี 236-250  ท่านได้รับการแต่งตั้งเป็นพระสันตะปาปาอย่างน่าประหลาดใจ  ในเวลาที่มีการเลือกผู้ที่จะเป็นพระสันตะปาปา  มีนกพิราบมาเกาะบนศีรษะของท่าน  ผู้คนที่นั่นต่างระลึกถึงการที่พระจิตเจ้าเสด็จมาเหนือพระเยซูเจ้า  จึงเชื่อว่าพระจิตเจ้าทรงเลือกท่านให้เป็นพระสันตะปาปาองค์ต่อไป
4. น. ดามาซุส  St. Damasus  ท่านเกิดที่โรมและเป็นพระสันตะปาปาในปี 366-384  เป็นยุคที่คริสตศาสนาได้รับการประกาศให้เป็นศาสนาประจำชาติของอาณาจักรโรมันในปี 380  และพระองค์ได้รับการสนับสนุนอย่างแข็งขันให้เป็นพระสังฆราชแห่งโรมในฐานะผู้สืบทอดจาก น.เปโตร โดยตรง  พระองค์เป็นผู้นำภาษาลาติน มาใช้ในพิธีกรรมและเป็นมาตรฐานต่อมา
5. น. เลโอ ผู้ยิ่งใหญ่  (St. Leo the Great )ท่านเกิดมาในชื่อว่า เลโอ และใช้นามนี้เป็นชื่อพระสันตะปาปา  พระองค์เป็นพระสันตะปาปาในปี 440-461  เป็นพระสันตะปาปาองค์แรกที่ได้รับสมญาว่า “ผู้ยิ่งใหญ่ the great” และยังเป็นนักปราชญ์ของพระศาสนจักรอีกด้วย  พระองค์ประกาศจุดยืนที่แน่ชัดในเรื่องการบังเกิดของพระคริสตเจ้า  นั่นคือ พระคริสต์ทรงบังเกิดมีสภาวะพระเจ้าและมนุษย์ในเวลาเดียวกัน  พระองค์ยังเป็นที่รู้จักดีในเรื่องที่ได้พบกับ อัตติลา กษัตริย์ชาวฮั่น ในปี 452  และได้เกลี้ยกล่อมอัตติลาให้ยกเลิกการรุกรานอิตาลีและยกทัพกลับไปได้สำเร็จ
6. น.เกรโกรี่ผู้ยิ่งใหญ่  (St. Gregory the Great) เป็นพระสันตะปาปาในปี 590-604  เป็นพระสันตะปาปาองค์ที่สองที่ได้รับสมญาว่า “ผู้ยิ่งใหญ่” ต่อจากพระสันตะปาปาเลโอ  พระองค์เป็นญาติกับพระสันตะปาปาสองพระองค์  มารดาของพระองค์และป้าสองคนได้รับการสถาปนาเป็นนักบุญด้วย  พระองค์จึงได้ชื่อว่าเป็นนักบุญในท่ามกลางนักบุญ  พระองค์บวชเป็นนักพรตและไม่ประสงค์จะรับตำแหน่งพระสันตปาปาเมื่อถูกเลือก  พระองค์คร่ำครวญบ่อยๆถึงหน้าที่ใหม่ที่ได้รับในฐานะพระสันตปาปาเพราะต้อง “ทนต่อภารกิจและเรื่องราวทางโลก”  จนไม่มีเวลาที่จะรำพึงไตร่ตรองชีวิตในพระวินัยได้อย่างสงบ  นอกจากนั้น พระองค์เน้นย้ำอย่างหนักแน่นในเรื่องความยากจนและความเมตตา  พระองค์ได้ให้อาหารแก่คนยากจนในโรมและยังเชิญพวกเขาให้มารับประทานอาหารกับพระองค์ทุกวันอีกด้วย
7. น. นิโคลัสที่ 1 (St. Nicholas I the Great) ผู้ยิ่งใหญ่ เป็นพระสันตะปาปาในปี 858-867  เป็นองค์ที่สามและเป็นองค์สุดท้ายที่ได้สมญาว่า “ผู้ยิ่งใหญ่”  พระองค์เพิ่มอำนาจของพระสันตปาปาให้แข็งแกร่งขึ้นและไม่ยอมให้ใครมีสิทธิที่จะขับไล่พระสังฆราชโดยไม่ได้รับอนุมัติจากพระสันตปาปา  พระองค์ตรากฎหมายการแต่งงานและกระตุ้นให้พระสังฆราชทำหน้าที่ในการบัพพาชนียกรรมคนในราชวงศ์ซึ่งเป็นคาทอลิก  ที่ละทิ้งคู่แต่งงานเพื่อไปแต่งงานใหม่  พระองค์สนับสนุนให้มีเสรีภาพในการแต่งงานและไม่เห็นด้วยกับพระสังฆราชบางองค์ที่บัพพาชนียกรรมคนในราชวงศ์ที่แต่งงานโดยไม่ได้รับการยินยอมจากบิดา
8. น.เกรโกรี่ที่ 7 (St. Gregory VII) เป็นพระสันตปาปในปี 1073-1085 พระองค์ทำการปฏิรูปหลายอย่าง  อย่างเช่น การทำให้อำนาจของพระสันตปาปาครอบคลุมไปถึงพระศาสนจักรตะวันตก  พระองค์แต่งตั้งพระสังฆราชและพระสงฆ์ที่น่านับถือหลายองค์  พระองค์ต่อสู้กับการหาเงินเข้าวัดด้วยการขายหรือซื้อกิจการบางอย่างของโบสถ์  พระองค์ให้ผ่านกฎหมายเกี่ยวกับการอยู่ในเพศพรหมจรรย์ของพระสงฆ์นักบวช  ทั้งๆที่มีการถกเถียงกันอยู่บ่อยๆ  พระองค์ประกาศให้ประกอบพิธีกรรมแบบโรมเหมือนกันทั่วยุโรป  และทรงตั้งให้วันที่ 1 พ.ย. ของทุกปีเป็นวันนักบุญทั้งหลาย  พระองค์ทรงยกเลิกบัพพาชนียกรรมแก่กษัตริย์เฮนรี่ที่ 4 ในปี 1077  หลังจากที่กษัตริย์เฮนรี่ ทรงทำการใช้โทษบาปด้วยการเดินเท้าเปล่าในหิมะ
9. น. ซีเลสทีนที่ 5 (St. Celestine V) มาจากคณะเบเนดิกติน  พระองค์ทรงลาจากตำแหน่งพระสันตะปาปาภายหลังจากที่รับตำแหน่งเพียงไม่กี่เดือน ในปี 1294  เพราะพระองค์ประสงค์ที่จะกลับไปใช้ชีวิตที่ถ่อมตนในอาราม  พระองค์ออกกฎอนุญาตให้พระสันตะปาปาสามารถลาออกหรือสละตำแหน่งได้  พระสันตะปาปาเบเนดิกต์ที่ 16 เป็นพระสันตะปาปาองค์ต่อมาที่ทรงสละตำแหน่งในปี 2013  พระองค์ทรงวางผ้าคลุมไหล่ที่ได้รับในวันที่ถูกเลือกเป็นพระสันตปาปาในปี 2005 ไว้บนที่ฝังพระศพของพระสันตะปาปาซีเลสทีนที่ 5 ซึ่งอยู่ที่   L'Aquila, Italy ในปี 2009 และทิ้งไว้ที่นั่นเหมือนเป็นของขวัญ
10 น. ปีโอที่ 10 (St. Pius X) ได้รับเลือกเป็นพระสันตะปาปาในปี 1903  สิ้นพระชนม์ในปี 1914  พระองค์ส่งเสริมให้สัตบุรุษรับศีลอภัยบาปและศีลมหาสนิทบ่อยๆ  และให้พระสงฆ์ประกอบพิธีบูชามิสซาอย่างสง่า  โดยเน้นในเรื่องการร้องเพลงเกรโกเรี่ยนในพิธีให้เหมาะสมและสวยงาม  ระมัดระวังไมให้มีการนำเพลงสไตล์สมัยใหม่มาใช้ในพิธี  และส่งเสริมให้สัตบุรุษขับร้องเพลงด้วย  พระองค์ทรงตั้งโรมันคูเรียและการประชุมของพระคาร์ดินัลเพื่อออกกฏเกณท์  พระองค์ให้การสนับสนุนข้อสงสัยทางวิทยาศาสตร์  อย่างไรก็ตาม  แม้พระองค์จะได้รับรถยนต์ในปี 1909  จากพระอัครสังฆราชแห่งนิวยอร์ก John M. Farley  พระองค์ก็ไม่เคยใช้เลย  พระองค์ยังคงใช้รถม้าเหมือนเดิม

วันอาทิตย์ที่ 27 เมษายน พ.ศ. 2557

สาระสำคัญในพิธีสถาปนานักบุญพระสันตปาปาสองพระองค์

 
1. พิธีกรรม - เริ่มเวลา 7.00 GMT (ประมาณ บ่ายสามโมง ในไทย) มีบทสวด  การขับร้องเพลงบทเร้าวิงวอนนักบุญ  (ซึ่งจะขานรับว่า  ช่วยวิงวอนทอญ)
2. การประกาศ  - พระสันตปาปาฟรังซิสจะตรัสว่า “เพื่อเป็นเกียรติแด่พระตรีเอกภาพศักดิ์สิทธิ์ยิ่ง  ด้วยความยินดีแห่งความเชื่อคาทอลิกและเป็นการเพิ่มพูนชีวิตคริสตชน  โดยอาศัยอำนาจแห่งพระเยซูคริสตเจ้า  พระเจ้าของเรา  และอำนาจของอัครสาวกเปโตรและเปาโล  และอำนาจของเราเอง  หลังจากได้สวดภาวนาไตร่ตรองโดยอาศัยความช่วยเหลือจากสวรรค์  และได้ปรึกษากับบรรดาพี่น้องพระสังฆราชหลายองค์  เราขอประกาศให้บุญราศีพระสันตะปาปายอห์นที่ 23 และพระสันตะปาปายอห์นปอลที่ 2 เป็นนักบุญ  ขอให้ท่านได้อยู่ในหมู่นักบุญทั้งหลาย  และได้รับการเคารพจากพระศาสนจักรทั่วโลก  ทั้งนี้ในนามของพระบิดา  พระบุตร และพระจิต”
3. พระธาตุ - ของนักบุญจะถูกนำมาวางไว้บนพระแท่น  ในกรณีของพระสันตะปาปายอห์นปอลที่ 2 จะเป็นโลหิต ซึ่งใช้ในพิธีสถาปนาเป็นบุญราศี ปี 2011  สำหรับพระสันตะปาปายอห์นที่ 23 จะเป็นผิวหนังที่นำมาจากร่างกายของพระองค์   พิธีจบลงด้วยเพลง “Gloria  แล้วพิธีมิสซาดำเนินต่อไปตามปกติ
4. ตัวเลข - ผู้แทนอย่างเป็นทางการจำนวน 93 คน จะมาร่วมในพิธี  24 คนเป็นระดับหัวหน้าแห่งรัฐ  กษัตริย์และพระราชินีแห่งเบลเยี่ยม และ สเปน ก็คาดว่าจะมาร่วมด้วย ในฐานะราชวงศ์จากกลุ่มแอนดอร่า  บริเทนและลักเซมเบิร์ก  ประเทศโปแลนด์ได้ส่งผู้แทนระดับสูงสุดคือ ประธานาธิบดีคนปัจจุบันและอดีตประธานาธิบดี 2 คน  ซึ่งรวมทั้งนาย เล็ค  วาเลซ่า ผู้ก่อตั้งกลุ่มโซลิดาลิตี้ที่โค่นล้มระบอบคอมมิวนิสต์ในโปแลนด์  โดยมีพระสันตะปาปายอห์นปอลที่ 2 ทรงสนับสนุน
- พระคาร์ดินัล 130-150 องค์ และ พระสังฆราช 1,000 องค์ จะร่วมประกอบพิธีมิสซาพร้อมกับพระสันตปาปาฟรังซิส  พระสงฆ์ 6,000 องค์ จะร่วมในพิธีโดยนั่งอยู่ด้านหน้าของพระแท่น  และพระสันตะปาปากิติคุณ เบเนดิกต์ที่ 16 จะเข้าร่วมในพิธีครั้งนี้
- พระสงฆ์ 600 องค์จะเป็นผู้แจกจ่ายศีลมหาสนิท  และสังฆานุกร 210 องค์จะคอยช่วยเหลือ
5. การถ่ายทอดสด
- เว็บไซต์อย่างเป็นทางการคือ www.2popesaints.org   ข้อมูลของพิธีสามารถรับได้ทาง www.vatican.va
- หนังสือพิธีกรรมอย่างเป็นทางการในรูปแบบไฟล์ pdf สามารถรับได้ทาง http://www.vatican.va/news_services/liturgy/libretti/2014/20140427-libretto-canonizzazione.pdf

วันเสาร์ที่ 26 เมษายน พ.ศ. 2557

อัศจรรย์ของพระสันตปาปายอห์นปอลที่ 2


VATICAN CITY (CNS) --.นาง  Floribeth Mora Diaz  สตรีชาวคอสตา ริกา อายุ 50 ปี ได้กล่าวในการให้สัมภาษณ์ของผู้สื่อข่าวเมื่อ วันที่ 24 เม.ย. นี้  สามวันก่อนที่เธอจะเข้าร่วมพิธีมิสซาเพื่อสถาปนาพระสันตะปาปายอห์นปอลที่ 2 ขึ้นเป็นนักบุญ
และในเวลาเดียวกัน ซิสเตอร์ อะเดลเล ลาเบียนกา  แห่งคณะ Daughter of Charity ก็ให้สัมภาษณ์เป็นพยานเกี่ยวกับอัศจรรย์การเยียวยารักษาของซิสเตอร์ คัทเทอรีนา  คาปีตานี ในปี 1966 ซึ่งเป็นอัศจรรย์ที่ใช้ในการแต่งตั้งพระสันตปาปายอห์นปอลที่ 2 เป็นบุญราศี
ถึงแม้ว่าสตรีทั้งสองจะเล่าเรื่องนี้ซ้ำแล้วซ้ำเล่าเป็นร้อยครั้ง  แต่ในที่ประชุมให้สัมภาษณ์แก่ผู้สื่อข่าวครั้งนี้  เป็นครั้งใหญ่และอาจทำให้เกิดความตื่นเต้น  ซิสเตอร์ ลาเบียนกา  บอกว่าเธอต้องอ่านคำให้สัมภาษณ์จากข้อเขียนในกระดาษที่เธอเตรียมมา  เพราะเกรงว่าจะลืมข้อความบางสิ่งบางอย่างไป  ส่วนนางโมราเดียส  ให้สัมภาษณ์โดยมีเสียงที่สั่นบ้างเล็กน้อย
หญิงชาวคอสตารีกา  ผู้เดินทางมาที่วาติกันพร้อมกับสามีและลูก 4 คน  ได้เล่าเกี่ยวกับอาการปวดหัวอย่างรุนแรงของเธอในเดือน เม.ย. 2011  เธอไปพบหมอและได้รับแจ้งว่าเธอเป็นเส้นเลือดในสมองตีบ  หมอบอกว่าเธอต้องได้รับการผ่าตัด  แต่เธอจะต้องไปที่เม็กซิโกหรือที่คิวบาเพื่อรับการผ่าตัดที่นั่น  และเธฮก็ไม่มีเงินเพียงพอ  หมอไม่สามารถช่วยเหลือเธอได้อีก  ดังนั้นเธอจึงถูกส่งตัวกลับบ้าน  หมอบอกว่า “เธอจะมีชีวิตอยู่ได้อีกเพียงหนึ่งเดือนเท่านั้น”  เธอเริ่มร้องไห้ขณะที่เล่าให้ฟังต่อไปถึงเรื่องที่สามีพยายามบอกให้ลูกๆรู้ว่าแม่จะต้องเสียชีวิตและให้ลูกๆสวดภาวนา
นางโมรา เล่าต่อไปว่า  เธอมีความศรัทธาต่อพระสันตะปาปายอห์นปอลที่ 2 มานานแล้วและได้ชมการถ่ายทอดการสถาปนาพระองค์เป็นบุญราศีเมื่อ 1 พ.ค. 2011 ด้วย “แล้วฉันก็หลับไป” เธอพูดต่อ  อีกไม่กี่ชั่วโมงต่อมา เธอก็ได้ยินเสียงของพระสันตะปาปาเรียกเธอ “ลุกขึ้น!....จงอย่ากลัว”  เธอบอกว่า “ฉันมีความสงบและสันติสุข  ซึ่งทำให้ฉันแน่ใจว่าฉันหายแล้ว”
เธอและสามีไม่มีเงินเพียงพอที่จะทำการตรวจรักษาอีกแล้ว  แต่แม้กระนั้น หมอก็ทำการตรวจด้วยเครื่อง MRI ให้เธอ  “หมอแทบช็อก  สามีของฉันประหลาดใจมากว่าทำไม หมอไม่พูดอะไรเลย  และฉันก็พูดขึ้นว่า  “เพราะฉันได้รับการเยียวยารักษาโดยผ่านการวอนขอของพระสันตะปาปายอห์นปอลที่ 2”
คำพูดของหมอมีความสำคัญมาก เธอพูดต่อ “เพราะไม่ใช่ฉันเพียงคนเดียวที่พูดว่า ฉันหายแล้ว  แต่หมอหลายคนที่เคร่งขรึมมาก ก็พูดเช่นนี้ด้วย”
ซิสเตอร์ ลาเบียนกา ได้เล่าเกี่ยวกับอัศจรรย์ที่ทำให้พระสันตะปาปายอห์นปอลที่ 2 เป็นบุญราศี  เธอทำงานพร้อมกับซิสเตอร์ คัทเทอรีนา คาปิตานี ในโรงพยาบาลที่อิตาลี ในปี 1963  ซิสเตอร์ คัทเทอรีนา  เป็นโรคเลือดออกในกระเพาะอาหาร   ในตอนเที่ยงคืนของวันหนึ่ง  และมีอาการรุนแรง  เธอได้ปลุกฉันขึ้นมา 
หลังจากรักษานานหลายเดือน  หมอได้ผ่าเอากระเพาะส่วนใหญ่ของเธอออก  เป็นส่วนที่มีเนื้องอกคลุมอยู่  รวมทั้งตับอ่อนและม้ามด้วย  ในตอนแรกเธอก็มีอาการดีขึ้น  แต่ต่อมาเกิดอาการทวารส่วนนอกรั่ว  จนทำให้ซิสเตอร์คัทเทอรีนาเกือบเสียชีวิตในวันที่ 22 พ.ค. 1966  ผู้ช่วยอธิการของคณะได้นำพระธาตุที่เป็นส่วนหนึ่งของผ้าคลุมเตียงของพระสันตปาปายอห์นปอลที่ 2 มาให้ซิสเตอร์คัทเทอรีนา
“ท่านวางพระธาตุไว้ที่รอยแผลของซิสเตอร์โดยหวังว่า พระเยซูเจ้าจะเสด็จมาด้วยพระเมตตาและความรักของพระองค์” ซิสเตอร์ลาเบียนกาเล่า  “ทันใดนั้น  ซิสเตอร์ คัทเทอรีนาก็ลุกขึ้นจากเตียงและไม่รู้สึกเจ็บปวดอีกต่อไป”  ซิสเตอร์คัทเทอรีนาเล่าว่า  เธอรู้สึกว่ามีมือหนึ่งวางบนรอยแผลและได้ยินเสียงเรียกว่า “ซิสเตอร์ คัทเทอรีนา” 
“เธอรู้สึกตกใจที่ได้ยินเสียงผู้ชายในห้อง”  เธอจึงหันไปมองและเห็นพระสันตะปาปายอห์นปอลที่ 2 ทรงยืนอยู่ข้างเตียงของเธอ  พระองค์ตรัสกับเธอว่า  เธอหายสบายดีแล้ว  แล้วเธอก็ลุกจากเตียงไปบอกซิสเตอร์คนอื่นๆว่าเธอหายแล้วและกำลังหิว”  ซิสเตอร์ ลาเบียนกา เล่า
                 ด้วยอัศจรรย์นี้  พระสันตะปาปายอห์นปอลที่ 2 จึงได้รับการสถาปนาเป็นบุญราศี  และซิสเตอร์ คัทเทอรีนา ก็ไปร่วมอยู่ในพิธีด้วย  ซิสเตอร์คัทเทอรีนาเสียชีวิตในปี 2010  เธอมีชีวิตต่อมานาน 43 ปีหลังจากได้รับอัศจรรย์การเยียวยารักษา

สาส์นแม่พระ 2 - 25 เม.ย. 2014

สาส์นแม่พระประทานแก่มารีจา  25 เม.ย. 2014
ลูกที่รักทั้งหลาย  จงเปิดหัวใจของลูกเพื่อรับพระหรรษทานซึ่งพระเป็นเจ้าทรงกำลังประทานให้ลูกโดยผ่านทางแม่เถิด  เหมือนเช่นที่ดอกไม้เบ่งบานรับรังสีอันอบอุ่นของดวงอาทิตย์  จงรักและสวดภาวนาสำหรับทุกคนที่ยังอยู่ห่างไกลจากพระเป็นเจ้าและความรักของพระองค์  แม่อยู่กับลูกและแม่จะวอนขอเพื่อช่วยเหลือลูกทุกคนเบื้องพระพักตร์ขององค์พระบุตรของแม่  แม่รักลูกด้วยความรักที่มากล้นจนสุดประมาณได้
ขอขอบใจลูกที่ตอบสนองเสียงเรียกของแม่
---------------------------------------------------------------------

สาส์นแม่พระประทานแก่ มีรยานา 2 เม.ย. 2014
วันนี้แม่พระทรงประจักษ์ที่ Blue Cross
ลูกที่รักทั้งหลาย
ด้วยความรักเยี่ยงมารดา  แม่ปรารถนาที่จะช่วยลูกสำหรับชีวิตแห่งการสวดภาวนาของลูก  และช่วยลูกให้สำนึกผิดใช้โทษบาปด้วยความพยายามอย่างจริงใจที่จะเข้าใกล้องค์พระบุตรของแม่และแสงสว่างอันศักดิ์สิทธิ์ของพระองค์ให้มากขึ้น – แสงสว่างที่จะทำให้ลูกแยกตัวออกจากบาป - การสวดบทภาวนาทุกบท  การร่วมมิสซาทุกครั้ง และการอดอาหารทุกครั้ง เป็นความพยายามทึ่จะเข้าใกล้องค์พระบุตรของแม่  พระองค์ทรงเป็นที่ลี้ภัยจากบาปและพระองค์จะทรงทำให้ลูกระลึกถึงพระสิริของพระองค์  วิธีเหล่านี้เป็นหนทางที่ทำให้ลูกกลับมาเป็นหนึ่งเดียวกับพระบิดาผู้ทรงพระทัยดีและกับบรรดาบุตรทั้งหลายของพระองค์อีกครั้ง  เพราะฉะนั้น, ลูกๆที่รักทั้งหลายของแม่ จงร้องหาพระนามของพระบิดาสวรรค้วยหัวใจที่เปิดและเต็มไปด้วยความรักเถิด  เพื่อที่พระองค์จะทรงส่องสว่างลูกด้วยพระจิตเจ้า  โดยอาศัยพระจิตเจ้าลูกจะกลายเป็นน้ำพุแห่งความรักของพระเป็นเจ้า  ทุกคนที่ยังไม่รู้จักองค์พระบุตรของแม่  ทุกคนที่กระหายหาความรักและสันติสุขขององค์พระบุตร  จะได้ดื่มน้ำจากน้ำพุนี้
ขอขอบใจลูก
จงสวดภาวนา , สวดภาวนาสำหรับนายชุมพาบาลของลูก  แม่สวดภาวนาเพื่อพวกท่านและปรารถนาที่จะให้ท่านรู้สึกอยู่เสมอถึงการอวยพรจากมือของแม่และการค้ำจุนจากแม่ด้วยหัวใจเยี่ยงมารดา”

วันพฤหัสบดีที่ 24 เมษายน พ.ศ. 2557

คำสัญญาของพระเยซูเจ้า


“โอ พระหรรษทานยิ่งใหญ่สักเพียงไรที่เราจะประทานแก่วิญญาณที่สวดภาวนาพระเมตตา  จงเขียนคำเหล่านี้ลงไปเถิด ลูกสาวของเรา  จงบอกโลกเกี่ยวกับพระเมตตาของเรา  มนุษยชาติจงรับรู้ถึงพระเมตตาอันไม่มีที่สิ้นสุดของเรา  นี่เป็นเครื่องหมายของวาระสุดท้าย  หลังจากนี้เราจะมาในวันแห่งความยุติธรรม  ขณะที่ยังมีเวลาอยู่  ขอให้ทุกคนจงมายังน้ำพุแห่งพระเมตตาของเรา  ให้ทุกคนได้รับประโยชน์จากน้ำและพระโลหิตที่หลั่งไหลมาสู่พวกเขา”(บันทึก 848)

“จงสวดบทพระเมตตาที่เราสอนลูกโดยไม่หยุดหย่อน  ผู้ใดก็ตามที่สวดภาวนาบทนี้  จะได้รับพระเมตตาอันยิ่งใหญ่ในเวลาใกล้เสียชีวิต  พระสงฆ์จะแนะนำให้คนบาปสวดภาวนานี้  ซึ่งเป็นความหวังในความรอดครั้งสุดท้ายของเขา  ไม่ว่าเขาจะมีบาปหนักมากสักเพียงไร  ถ้าเขาสวดภาวนาบทนี้เพียงครั้งเดียว  เขาจะได้รับพระหรรษทานจากพระเมตตาอันไม่มีที่สิ้นสุดของเรา”(บันทึก 687)

 “เรายินดีที่จะประทานทุกสิ่งแก่วิญญาณที่วอนขอจากเราด้วยการสวดภาวนาพระเมตตา  เมื่อคนที่มีบาปหนักที่สุดสวดภาวนาบทนี้  เราจะทำให้วิญญาณของเขามีสันติสุข  และในวาระใกล้ตายของเขา  เขาจะมีความสุข  จงเขียนสิ่งนี้ไว้เพื่อประโยชน์ของวิญญาณที่เป็นทุกข์เพราะบาป  เมื่อวิญญาณรู้และตระหนักถึงความหนักหน่วงของบาป  เมื่ออเวจีแห่งความสิ้นหวังทั้งมวลมาอยู่ต่อหน้าสายตาของเขา  จงอย่าสิ้นหวัง  แต่จงเข้ามาสู่อ้อมแขนแห่งพระเมตตาของเรา  เหมือนเด็กเล็กๆที่เข้าไปสู่อ้อมแขนของมารดาสุดที่รักของเขา  จงบอกทุกคนว่า  ไม่มีวิญญาณใดที่เรียกหาพระเมตตาของเราแล้วจะผิดหวังหรือได้รับความอับอาย  เรามีความยินดีเป็นพิเศษในวิญญาณที่วางใจในความดีของเรา  จงเขียนไว้ว่า  เมื่อพวกเขาสวดภาวนาพระเมตตาในเวลาใกล้ตาย  เราจะยืนอยู่เบื้องพระพักตร์พระบิดาของเราและผู้เสียชีวิต  ไม่ใช่ในฐานะผู้พิพากษาแต่ในฐานะพระผู้ไถ่ของเขา”(บันทึก 1541)

“ในชั่วโมงแห่งความตายของพวกเขา  เราจะเป็นผู้ปกป้องวิญญาณทุกดวงที่สวดภาวนาพระเมตตานี้เสมือนเป็นสง่าราศีของเราเอง  เมื่อบทภาวนาพระเมตตานี้ถูกสวดใกล้เตียงของผู้กำลังเสียชีวิต  พระพิโรธของพระเป็นเจ้าจะสงบลงและพระเมตตาอันไม่มีที่สิ้นสุดของพระองค์จะปกคลุมวิญญาณ”(บันทึก 811)

พระเยซูเจ้าตรัสแก่ น.โฟสเตนา “เราปรารถนาให้พระเมตตานี้หลั่งไหลมาสู่โลกทั้งมวลโดยผ่านหัวใจของเธอ  อย่าให้ใครที่มาหาเธอกลับไปโดยปราศจากความวางใจในพระเมตตาของเรา  เราปรารถนาเป็นอย่างยิ่งให้เป็นเช่นนี้สำหรับวิญญาณ  จงสวดภาวนาให้มากเท่าที่เธอจะทำได้สำหรับผู้กำลังจะตาย  โดยการวอนขอของเธอจะทำให้พวกเขามีความวางใจในพระเมตตาของเรา  เพราะพวกเขาจำเป็นต้องมีความวางใจในพระเมตตาของเรา  แม้เพียงเล็กน้อยที่สุด”(บันทึก 1777)

 “ลูกสาวของเรา  จงช่วยเราในการช่วยวิญญาณคนบาปที่ใกล้ตาย  จงสวดภาวนาพระเมตตาที่เราสอนลูกเพื่อพวกเขา  เมื่อดิฉันเริ่มสวดภาวนาพระเมตตา  ดิฉันเห็นชายที่กำลังจะเสียชีวิตซึ่งได้รับความทุกข์ทรมานอย่างสาหัสและพยายามดิ้นรนต่อสู้  อารักขเทวดาของเขากำลังปกป้องเขา  แต่เขาไม่มีกำลังที่จะต่อสู้กับความทุกข์ทรมานอันยิ่งใหญ่ของวิญญาณ  แต่เมื่อดิฉันสวดภาวนาพระเมตตา  ดิฉันเห็นพระเยซูเจ้าเหมือนในภาพ รังสีที่ส่องกระจายออกมาจากดวงพระทัยของพระองค์ใด้ปกคลุมคนเจ็บป่วยผู้นี้  และอำนาจของความมืดก็สูญสลายไป  แล้วชายที่เจ็บป่วยก็ถอนหายใจเป็นครั้งสุดท้าย”(บันทึก 1565)

วันอาทิตย์ที่ 20 เมษายน พ.ศ. 2557

สวดสายประคำพระเมตตา



วันอาทิตย์ที่ 27 เมษายน 2014 นี้เป็นวันอาทิตย์พระเมตตา  เชิญเราสวดภาวนาพระเมตตา  สารภาพบาป และรับศีลมหาสนิท  เพื่อรับพระหรรษทานยิ่งใหญ่ที่พระเยซูเจ้าทรงสัญญาจะประทานให้  พระหรรษทานที่เปรียบเหมือนเราได้รับศีลล้างบาปใหม่อีกครั้ง ลูกรัก จงบอกชาวโลกเกี่ยวกับความเมตตาอันน่าพิศวงของเรา เราปรารถนาให้วันฉลองพระเมตตาเป็นดังที่หลบภัยและที่กำบังสำหรับวิญญาณทั้งมวล โดยเฉพาะสำหรับบรรดาคนบาปที่น่าสงสาร ในวันนั้นแหละ เราระบายมหาสมุทรแห่งพระหรรษทานทั้งสิ้นออกมาเหนือวิญญาณที่เข้าถึงต้นธารความเมตตาของเรา ... วิญญาณที่จะไปแก้บาปและรับศีลมหาสนิทจะได้รับการอภัยบาปและยกโทษบาปทั้งหมด ...อย่าให้วิญญาณใดหวาดกลัวที่จะเข้ามาใกล้เราเลย ไม่ว่าบาปของเขาจะหนักหนาสักเพียงไร ... ความเมตตาของเรานั้นมากล้นจนจิตมนุษย์และทูตสวรรค์ไม่อาจหยั่งถึงได้ตลอดมาทุกกาลสมัย ... เป็นความปรารถนาของเราเองที่จะให้มีพิธีฉลองอย่างเป็นทางการในวันอาทิตย์แรกหลังวันสมโภชปัสกามนุษยชาติจะไม่มีความสงบสุข จนกว่าเขาจะหันมาพึ่งต้นธารความเมตตาของเรา(บันทึก 699)

วันพฤหัสบดีที่ 17 เมษายน พ.ศ. 2557

ทำไมพระเยซูเจ้าเสด็จเข้ากรุงเยรูซาเล็มโดยการขี่ลา

เหตุผลที่พระเยซูเจ้าเสด็จเข้ากรุงเยรูซาเล็มโดยขี่ลามี 4 ข้อคือ
1.             ประกาศก เศคารียาห์เขียนไว้ว่า “จงมองดูเถิด กษัตริย์ของเจ้าเสด็จมาหาเจ้าแล้ว  พระองค์เสด็จมาอย่างผู้มีชัยชนะ  ทรงสุภาพอ่อนโยน  ทรงประทับบนหลังแม่ลาและลูกลา" (ศคย. 9:9)  ประชาชนเห็นเหตุการณ์ตามคำทำนายนี้จึงมาต้อนรับกษัตริย์ของพวกเขาพลางร้องตะโกน”โฮซานนาแดผู้เสด็จมาในพระนามของพระเป็นเจ้า” (มธ.21:9)
2.             ลามีความเชื่อมโยงกับเรื่องของอับราฮัมถวายอิซาอักเป็นยัญบูชาแด่พระเป็นเจ้า  อับราฮัมให้อิซาอักขี่ลาไปยังภูเขาที่จะทำพิธี  การถวายบุตรหัวปีแดพระเจ้าเป็นเครื่องหมายของความนบนอบเชื่อฟัง
3.             กษํตริย์โซโลมอนขี่ลาในวันที่ขึ้นครองราชย์สมบัติ  ลานั้นเป็นลาที่เคยเป็นของกษัตริย์ดาวิดผู้บิดามาก่อน (1 พกษ. 1:33-44)
4.             กษัตริย์เยฮูได้ขี่ลาเข้าไปในดินแดนซามาเรีย (ซึ่งชาวซามาเรียถือว่าเป็นเยรูซาเล็มของเขา)  เพื่อทำลายวิหารของพระบาอัล (2 พกษ. 9:11-10:28)  พระเยซูเจ้าก็ทรงเข้าไปในกรุงเยรูซาเล็มและทำลายโต๊ะแลกเงินของพ่อค้าที่มาทำให้พระวิหารของพระเป็นเจ้ากลายเป็นซ่องโจร
พระเยซูเจ้าทรงขี่ลาตัวเดียวหรือขี่ลาสองตัว
เป็นเวลาหลายปีที่ผมสับสนในพระวรสารวันอาทิตย์ใบลาน  ซึ่งเขียนโดย น.มัทธิว ท่านบอกว่า พระเยซูเจ้าขี่ลาและลูกลา  แต่พระวรสารของ น.มาร์โก  , น. ลูกา และ น.ยอห์น  เขียนแต่เพียงว่า พระเยซูเจ้าทรงขี่ลา และไม่ได้กล่าวถึงลูกลาเลย  ผมเคยคิดว่า พระเยซูเจ้าอาจขี่แม่ลาและลูกลาไปพร้อมกัน  ฟังดูแล้วพิลึกเหมือนกัน  แต่ผมก็นึกไม่ออกว่า น.มัทธิว จะหมายความอย่างไรจึงเขียนไว้แบบนั้น
ในที่สุดผมก็หายข้องใจเมื่อได้อ่านข้อความในหนังสืออธิบาย  Cornelius a Lapide’s commentary  ตามคำอธิบายของ Lapide  ในตอนแรก พระเยซูเจ้าทรงขี่แม่ลาก่อนเมื่ออยู่ห่างกรุงเยรูซาเล็มเพราะ มีเนินเขาและภูเขา  จึงเดินทางขึ้นและลงเนินเขาบ่อยๆ และเมื่อใกล้เมือง พระองค์จึงเปลี่ยนมาขี่ลูกลาเพื่อเข้าเมือง  (ลูกลานี้ไม่ใช่ลูกลาตัวเล็กๆ แต่เป็นลูกลาที่โตแล้ว  แต่ยังไม่เคยถูกใช้งานมาก่อน)
และมีเหตุผลที่ต้องทำเช่นนี้  แม่ลาแข็งแรงกว่าลูกลาจึงสามารถขึ้นลงเนินเขาได้สะดวกกว่า  ส่วนลูกลาก็สามารถนำพระเยซูเจ้าเข้ากรุงเยรูซาเล็มได้สะดวกและทำให้แม่ลาได้พักบ้าง
และยังมีความหมายที่ซ่อนอยู่ในเรื่องนี้ด้วย  แม่ลาและลูกลาหมายถึง “ประชาชนสองพวก – พวกแรกคือ ชาวยิวที่ปฏิบัติตามบทบัญญัติของโมเสส  แทนโดยแม่ลา  และชาวต่างชาติซึ่งไม่ได้ถือตามพระบัญญัติของพระเป็นเจ้า  แทนโดยลูกลา”
แม่ลาหมายถึงชาวอิสราเอลที่ปฏิบัติตามบทบัญญัติของโมเสส – น.เปโตรได้อธิบายบทบัญญัติของโมเสสว่า “เป็นแอก...ซึ่งบรรพบุรุษของเราหรือเราเองก็ไม่สามารถแบกไว้ได้”(กจ. 15:10)
ลูกลาหมายถึงชนต่างชาติ  เป็นชนชาติใหม่และไม่เคยถือตามบทบัญญัติ – น.เปโตรเปรียบเทียบชนเหล่านี้ว่าเป็นเหมือนกิ่งมะกอกป่า
พระเยซูเจ้าทรงขี่ทั้งแม่ลาและลูกลา มีความหมายว่า  ทั้งชาวยิวและชนต่างชาติจะถูกเรียกว่า Christophoroi - Christ-bearers – ผู้แบกรับพระคริสต์
และในสมัยปัจจุบัน ก็เป็นหน้าที่ของพวกเราที่จะต้อง “แบกรับและนำพระคริสต์ไปสู่โลก”  เหมือนที่แม่ลาและลูกลาแบกรับและนำพระคริสต์เข้าสู่กรุงเยรูซาเล็ม

วันอังคารที่ 15 เมษายน พ.ศ. 2557

วันพฤหัสศักดิ์สิทธิ์













มีเหตุการณ์มากมายเกิดขึ้นในวันพฤหัสศักดิ์สิทธิ์
- น.เปโตรและยอห์นได้รับคำสั่งจากพระเยซูเจ้าให้ไปจัดเตรียมสถานที่ “ห้องชั้นบน” เพื่อการเลี้ยงอาหารค่ำในวันปาสกา
- พระเยซูเจ้าทรงล้างเท้าอัครสาวก 12 คน
- พระเยซูเจ้าประกอบพิธีมิสซาครั้งแรก
- พระเยซูเจ้าทรงตั้งศีลบวชพระสงฆ์
- พระเยซูเจ้าประกาศว่ายูดาสจะทรยศพระองค์
- พระเยซูเจ้าทรงมอบพระบัญญัติใหม่ “พวกท่านจงรักกันและกัน เหมือนอย่างที่เรารักท่าน”
- น.เปโตรประกาศว่าจะไม่ละทิ้งพระเยซูเจ้าเลย ซึ่งแสดงถึงบทบาทของผู้นำของอัครสาวก
- พระเยซูเจ้าทำนายว่า เปโตรจะปฏิเสธพระองค์
- พระเยซูเจ้าทรงสวดภาวนาเพื่อเอกภาพของผู้ที่เชื่อในพระองค์
- พระเยซูเจ้าทรงตั้งศีลมหาสนิท และตรัสตามพระวรสาร น.ยอห์น 13- 18
- พระเยซูเจ้าเสด็จไปสวดภาวนาที่สวนเก็ธเซเมนี
- ยูดาสทรยศพระเยซูเจ้า
- พระเยซูเจ้าทรงสั่งอัครสาวกไม่ให้ตอบโต้ด้วยความรุนแรง
- พระเยซูเจ้าทรงรักษาหูของมาคัส ทหารรับใช้ของสมณะ
- พระเยซูเจ้าถูกนำตัวไปอยู่ต่อหน้า อันนาสและไกฟาสผู้เป็นหัวหน้าสมณะ
- เปโตรปฏิเสธพระเยซูเจ้า
- พระเยซูเจ้าถูกนำตัวไปหาปิลาโต

วันพฤหัสศักดิ์สิทธิ์ยังเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า “Maundy Thursday” คำว่า “Maundy” มาจากภาษาลาติน “mandatum” หรือ mandate เป็นคำที่มีอยู่ในพระวรสาร น. ยอห์น 13:34ในภาษาลาติน
"Mandatum novum do vobis ut diligatis invicem sicut dilexi vos."
แปลว่า “บัญญัติใหม่ที่เรามอบให้แก่ท่าน คือ พวกท่านจงรักกันและกันเหมือนเช่นที่เรารักท่าน”
Mandatum” แปลว่า “บัญญัติใหม่” – The new mandate

วันจันทร์ที่ 14 เมษายน พ.ศ. 2557

เพลงลาติน วันอาทิตย์แห่ใบลาน



ใครเคยได้ยินเพลงนี้บ้าง  เป็นเพลงลาตินที่ร้องในพิธีแห่ใบลานสมัยก่อน

วันเสาร์ที่ 12 เมษายน พ.ศ. 2557

ชายที่พระสันตปาปาจูบ



Vinicio Vira คือชายที่พระสันตปาปาฟรังซิส ทรงจูบที่ใบหน้าของเขา เขาเป็นโรคท้าวแสนปม เป็นโรคที่เกิดจากกรรมพันธ์ เพราะแม่ของเขาก็เป็นด้วย  ป้าของเขาได้พาเขามาที่วาติกันในเดือนพฤศจิกายน เพื่อมาพบกับพระสันตปาปาฟรังซิส  ที่จตุรัส น. เปโตร  ประชาชนที่รวมกันมากมาย แต่ละคนพยายามยืนให้ห่างจากเขาด้วยความกลัว  เมื่อพระสันตปาปามาถึงตัวเขาและป้า  เขาคิดว่าพระสันตปาปาจะพูดกับป้าของเขา และมองดูเขาด้วยความสนใจเท่านั้น แต่พระองค์เข้ามาใกล้เขา ทรงโอบศีรษะของเขาและกอดเขา "พระองค์ไม่กลัวผมเลย  พระองค์กอดผมโดยไม่ได้ตรัสอะไร....ผมรู้สึกถึงความอบอุ่นอันยิ่งใหญ่" วิรา อายุ 53 ปีกล่าว  ป้าของเขาพูดว่าวิรา "ไม่เป็นตัวของตัวเองเลย  เขาตัวสั่น"  วิราเริ่มเป็นโรคนี้เมื่ออายุ 15 ปี เสื้อของเขามักจะเปียกเมื่อเลือดออกที่แผลซึ่งบวม

มหัศจรรย์ธรรมชาติของนก



นกนับล้านตัวบินเป็นกลุ่มไปมาในท้องฟ้าของประเทศอิตาลี  และถึงแม้มันจะบินไปพร้อมกันในทิศทางเดียวกัน  แต่มันไม่เคยบินชนกันเลย  นี่เป็นมหัศจรรย์ของธรรมชาติที่น่าพิศวง

วันพฤหัสบดีที่ 10 เมษายน พ.ศ. 2557

บันไดศักดิ์สิทธิ์



บันไดศักดิ์สิทธิ์ (Holy stair – Scala Santa) อยู่ในโบสถ์ scala santa church ในกรุงโรม เป็นบันไดที่พระเยซูเจ้าถูกนำไปยังที่ไต่สวนของปิลาโต ทำด้วยหินอ่อนมี 28 ขั้น  น.เฮเลนา พระมารดาของกษัตริย์คอนแสดนติน ทรงเป็นผู้นำมาไว้ที่นี่  ปัจจุบันผู้ที่แสวงบุญมาที่โบสถ์นี้จะได้รับอนุญาติให้ขึ้นบันไดได้ด้วยการคุกเข่าเท่านั้น  ด้านบนเป็นโบสถ์น้อยของพระสันตะปาปา  ซึ่งมีภาพวาดบนผนังและเพดานที่เรียกว่า Fresco ที่สวยงามมาก วาดขึ้นในศตวรรษที่ 13  และกำลังได้รับการบูรณะซ่อมแซม 

วันจันทร์ที่ 7 เมษายน พ.ศ. 2557

เพลง Donna Donna

             เพลง Donna Donna ดั้งเดิมชื่อว่า Dana Dana...แต่งขึ้นในช่วงสงครามโลกครั้งที่2 (1939 - 1945)เป็นภาษายิดดิช(ภาษายิวเดิม)...ดนตรีโดย Shalom Sekunda เนื้อร้องโดย Aaron Zeitlin..เพื่อเป็นการสะท้อนถึงความโหดร้ายอำมหิต ในการฆ่าล้างเผ่าพันธ์คนยิวโดยทหารเยอรมันของฮิตเล่อร์..คำว่า Dana Dana คือคำเรียกชื่อหนึ่งของพระเจ้า (ชาวยิวจะไม่เรียกชื่อพระเจ้า "พระยาห์เวห์" โดยตรง แต่จะใช้คำอื่นเรียกแทน)
ตอนต้นทศวรรษที่50 Sekundaได้แปลเพลงนี้จากภาษายิดดิชเป็นอังกฤษ...ไม่ฮิตไม่ติดหูคนฟังเลย...ครั้นถึงกลางทศวรรษ Arthur Kevess และ Teddi Schwartz แปลเป็นอังกฤษอีกครั้ง คราวนี้เริ่มได้รับความนิยมบ้างแต่ก็ถือว่ายังไม่มากนัก...จนกระทั่งปี 1960Joan Baez นำมาบันทึกเสียงในโซโลอัลบั้มแผ่นแรกของเธอ แพร่หลายโด่งดังไปทั่วโลก กลายเป็นเพลงโฟล์คอมตะคลาสสิค ที่สร้างชื่อเสียงให้Joanอย่างสุดสุดเพลงหนึ่งทีเดียว

           Joan Baez ~ DONNA DONNA ~ โจนส์เล่าว่า “เมื่อฉันอยู่ที่เซ็กโกสโลวาเกีย ขณะที่รัฐบาลคอมมิวนิสต์ยังคงกดขี่ละเมิดสิทธิมนุษยชนของประชาชน  ฉันได้รับเชิญให้ไปแสดงคอนเสริต  ซึ่งมี Vaclav Havel (ผู้ที่ต่อมาได้เป็นประธานาธิบดีของเช็กโกสโลวาเกีย) ร่วมฟังอยู่ด้วย  Ot เป็นสถานีโทรทัศน์ของรัฐบาลที่ทำการถ่ายทอด และมีตำรวจตรวจตราอยู่ทั่วสถานที่  ประชาชนนั่งอยู่ที่พื้นโดยปราศจากเพื่อนคอยช่วยป้องกันไม่ให้ถูกจับกุม
          “ฉันร้องเพลงและเชิญให้นักร้องที่ถูกห้ามจากรัฐบาลให้ขึ้นมาบนเวที  และไมโครโฟนของฉันก็ถูกปิดเป็นครั้งแรก  เมื่อฉันแนะนำตัวท่าน ฮาเวล  ผู้ฟังก็เริ่มวุ่นวาย  ฉันต้องการปิดการแสดงจึงขอร้องให้ “นักร้องที่ถูกกฎหมายซึ่งมาร้องก่อนหน้าฉันให้มาแสดงร่วมกับฉัน  พวกเขาลังเลใจแต่ฉันก็เกลี้ยกล่อมได้สำเร็จ  ฉันเริ่มขึ้นโน้ตเพลง “Donna Donna  แต่เสียงก็ถูกปิดอีก  แต่ถึงจะไม่มีไมโครโฟนในห้องจุคน 4,000 คน  เราก็ร้องเพลง "Donna Donna."
           คุณแทบจะได้ยินเสียงเข็มตกกับพื้นเลยทีเดียว  บางคนยอมเสี่ยงที่จะไม่ปิดวิทยุทีวีเพื่อฟังเพลงนี้  แม้แต่ตำรวจก็ไม่กล้าขัดจังหวะหรือทำหน้าที่ของเขา  มันเป็นช่วงเวลาที่สำคัญที่สุด --- เป็นชัยชนะที่ยิ่งใหญ่” บันทึกคอนเสริตสำหรับ CBC มอนทรีออล คานาดา 1969