พระเมตตาของพระเยซูเจ้า

จงบอกมนุษยชาติที่กำลังเจ็บป่วย ให้เข้ามาใกล้หัวใจอันเมตตาของเรา แล้วเราจะประทานสันติภาพให้แก่มนุษยชาติ พระเมตตาของเราไม่มีวันสิ้นสุดเลย

พระวาจาวันอาทิตย์ที่ 22 ธันวาคม 2024 เตรียมรับเสด็จพระคริสตเจ้าสัปดาห์ที่ 4

           หลังจากนั้นไม่นาน พระนางมารีย์ทรงรีบออกเดินทางไปยังเมืองหนึ่งในแถบภูเขาแคว้นยูเดีย พระนางเสด็จเข้าไปในบ้านของเศคาริยาห์และทรงทักทายนางเอลีซาเบธ เมื่อนางเอลีซาเบธได้ยินคำทักทายของพระนางมารีย์ บุตรในครรภ์ก็ดิ้น นางเอลีซาเบธได้รับพระจิตเจ้าเต็มเปี่ยม ร้องเสียงดังว่า “เธอได้รับพระพรยิ่งกว่าหญิงใด ๆ และลูกของเธอก็ได้รับพระพรด้วย ทำไมหนอพระมารดาขององค์พระผู้เป็นเจ้า จึงเสด็จมาเยี่ยมข้าพเจ้า เมื่อฉันได้ยินคำทักทายของเธอ ลูกในครรภ์ของฉันก็ดิ้นด้วยความยินดี เธอเป็นสุขที่เชื่อว่า พระวาจาที่พระเจ้าตรัสแก่เธอไว้จะเป็นจริง”
(ลูกา 1:39-45)








วันพฤหัสบดีที่ 13 เมษายน พ.ศ. 2566

น้อยคนจะได้เห็นพระเจ้า


วันที่ 23 1962 “น้อยคนจะได้เห็นพระเจ้า” การประจักษ์ที่การาบังดัล

(ข้อความจาก "คืนแห่งเสียงกรีดร้อง" ในวันที่ 19 และ 20) "แม่พระได้บอกกับพวกเราว่า: 

“โลกยังคงเหมือนเดิม...ไม่เปลี่ยนแปลงเลย น้อยคนจะได้เห็นพระเจ้า มีน้อยมากจนทำให้พระแม่มารีย์ทรงเศร้าโศกเสียพระทัยมาก ช่างน่าสงสารที่ไม่มีการเปลี่ยนแปลง พระแม่มารีย์ทรงบอกเราว่าโทษทัณฑ์กำลังมายังโลกเพราะการที่เห็นว่าโลกไม่เปลี่ยนแปลง ถ้วยกำลังเต็มแล้ว พระแม่มารีย์ทรงเสียพระทัยยิ่งนัก พระนางไม่ให้เราเห็นโทษทัณฑ์ที่จะมาเพราะทรงรักเรามากและทรงยอมทนทุกข์อยู่พระองค์เดียว พระนางทรงดีจริงๆ จงเป็นคนดีเถิด,ทุกคนเลย,เพื่อที่พระนางพรหมจารีย์จะทรงมีความสุข พระนางทรงบอกเราว่า เราที่เป็นคนดีควรสวดภาวนาเพื่อคนไม่ดี ให้เราสวดภาวนาต่อพระเจ้าเพื่อโลก,เพื่อคนที่ไม่รู้จักพระองค์ จงเป็นคนดี...จงเป็นคนดีทุกคน" 

มาเรีย(โลลิ)โดโลเรส,จาชินทา กอนซาเลส อายุ 13 ปี  

นำมาจากหนังสือ “She went in haste to the Mountain” book 2 ,page 199 
 

วันพุธที่ 12 เมษายน พ.ศ. 2566

วันอังคารที่ 11 เมษายน พ.ศ. 2566

การตรึงกางเขนในฟิลิปปินส์


ชาวฟิลิปปินส์แปดคนถูกตรึงไม้กางเขนเพื่อจำลองความทุกข์ทรมานของพระเยซูคริสต์เป็นประเพณีในวันศุกร์ศักดิ์สิทธิ์ของชาวฟิลิปปินส์ ในคนเหล่านี้มีคนหนึ่งที่เป็นช่างไม้,ผู้ซึ่งถูกตรึงกางเขนเป็นครั้งที่ 34 พร้อมทั้งคำอธิษฐานของเขาขอให้การรุกรานยูเครนของรัสเซียยุติลง เพราะทำให้ประชาชนชาวยูเครนที่น่าสงสารเช่นเดียวกับเขารู้สึกสิ้นหวัง 
การตรึงกางเขนด้วยคนจริงๆกระทำในหมู่บ้านเกษตรกรรม San Pedro Cutud ในจังหวัด Pampanga ทางตอนเหนือของกรุงมะนิลา,ซึ่งหวนกลับมาทำอีกครั้งหลังจากหยุดชั่วคราวเป็นเวลา 3 ปีเนื่องจากการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนา ชาวบ้านราว 12 คนได้ลงทะเบียนเป็นผู้ที่ถูกตรึงกางเขน แต่มีเพียง 8 คนเท่านั้นที่ปรากฏตัว รวมถึงช่างไม้วัย 62 ปีและจิตรกรป้ายชื่อ Ruben Enaje ผู้ซึ่งกรีดร้องขณะที่เขาถูกตอกตะปูตรึงไว้กับไม้กางเขนท่ามกลางฝูงชนจำนวนมากที่เฝ้าดูท่ามกลางความร้อนในฤดูร้อน 

วันจันทร์ที่ 10 เมษายน พ.ศ. 2566

หลักฐานสมัยความแห้งแล้ง7ปีในอิยิปต์


The Famine Stela เป็นศิลาจารึกที่เขียนด้วยอักษรอียิปต์โบราณที่ตั้งอยู่บนเกาะ Sehel ในแม่น้ำไนล์ใกล้กับเมืองอัสวานในอียิปต์ ซึ่งบอกเล่าช่วงเวลาเจ็ดปีแห่งความแห้งแล้งและความอดอยากในรัชสมัยของฟาโรห์และโยเซฟได้แนะนำฟาโรห์ในการรับมือกับความแห้งแล้งนี้ไว้ล่วงหน้า ทำให้ฟาโรห์พอพระทัยมากจึงแต่งตั้งโยเซฟให้เป็นผู้ดูแลโครงการนี้ทั้งหมดและมีอำนาจรองจากฟาโรห์” 

  
 
พิธีมิสซาในวันอาทิตย์ปัสกาที่วาติกัน พระสันตปาปาทรงอวยพรโลก

วันอาทิตย์ที่ 9 เมษายน พ.ศ. 2566

สุขสันต์ปัสกาแด่ทุกท่าน


บทเทศน์ของนักบุญเกรกอรีเกี่ยวกับการกลับฟื้นคืนพระชนม์ของพระเยซูคริสต์ 

“ดังนั้น เนื่องจากพระผู้ไถ่ของเราได้ผ่านพ้นความตายของชีวิตปัจจุบัน ทูตสวรรค์ที่มาเพื่อประกาศการเข้าสู่ชีวิตนิรันดร์ของพระองค์,นั่งอยู่ทางด้านขวาและสวมอาภรณ์สีขาว. เพราะท่านกำลังประกาศความชื่นบานของการเฉลิมฉลองของเราในเวลานี้. เพราะความขาวของอาภรณ์ของท่านแสดงถึงความรุ่งโรจน์ของงานฉลองอันยิ่งใหญ่ของเรา เราควรพูดว่าของเราไม่ใช่ของท่าน? เพื่อเราจะได้พูดอย่างเต็มปากเต็มคำให้เราพูดว่ามันเป็นงานฉลองของเราและของพระองค์ สำหรับวันนี้,วันแห่งการกลับฟื้นคืนพระชนม์ของพระผู้ไถ่ของเรา,เป็นวันแห่งความปิติยินดีอย่างยิ่งของเราเช่นกัน เพราะมันได้ทำให้ความตายกลายเป็นความไม่รู้จักตาย เป็นวันแห่งความสุขของเหล่าทูตสวรรค์ด้วย เพราะเป็นการนำเรากลับคืนสู่สวรรค์ ทำให้จำนวนพลเมืองสวรรค์เต็มอีกครั้งในวันเทศกาลของเรานี้ และทูตสวรรค์ของพระองค์ก็ปรากฏมา,สวมอาภรณ์สีขาว เพราะพวกท่านชื่นชมยินดีที่พวกเราสามารถกลับเข้าสู่สวรรค์ได้แล้ว ความทุกข์จากการสูญเสียที่บนสวรรค์ของพวกท่านได้รับการบูรณะขึ้นแล้ว” 

(นักบุญเกรกอรี,พระสันตะปาปา)