พระเมตตาของพระเยซูเจ้า

จงบอกมนุษยชาติที่กำลังเจ็บป่วย ให้เข้ามาใกล้หัวใจอันเมตตาของเรา แล้วเราจะประทานสันติภาพให้แก่มนุษยชาติ พระเมตตาของเราไม่มีวันสิ้นสุดเลย

พระวาจาวันอาทิตย์ที่ 29 ธันวาคม 2024 ฉลองครอบครัวศักดิ์สิทธิ์

           โยเซฟพร้อมกับพระมารดาของพระเยซูเจ้าเคยขึ้นไปยังกรุงเยรูซาเล็มในเทศกาลปัสกาทุกปี เมื่อพระองค์มีพระชนมายุสิบสองพรรษา โยเซฟพร้อมกับพระมารดาก็ขึ้นไปกรุงเยรูซาเล็มตามธรรมเนียมของเทศกาลนั้น เมื่อวันฉลองสิ้นสุดลง ทุกคนก็เดินทางกลับ แต่พระเยซูเจ้ายังประทับอยู่ที่กรุงเยรูซาเล็มโดยที่บิดามารดาไม่รู้ เพราะคิดว่า พระองค์ทรงอยู่ในหมู่ผู้ร่วมเดินทาง เมื่อเดินทางไปได้หนึ่งวันแล้ว โยเซฟพร้อมกับพระนางมารีย์ตามหาพระองค์ในหมู่ญาติและคนรู้จัก เมื่อไม่พบจึงกลับไปกรุงเยรูซาเล็ม เพื่อตามหาพระองค์ที่นั่น ในวันที่สามโยเซฟพร้อมกับพระนางมารีย์พบพระองค์ในพระวิหารประทับนั่งอยู่ในหมู่อาจารย์ ทรงฟังและทรงไต่ถามพวกเขา ทุกคนที่ได้ฟังพระองค์ต่างประหลาดใจในพระปรีชาที่ทรงแสดงในการตอบคำถาม เมื่อโยเซฟพร้อมกับพระนางมารีย์เห็นพระองค์ก็รู้สึกแปลกใจ พระมารดาจึงตรัสถามพระองค์ว่า “ลูกเอ๋ย ทำไมจึงทำกับเราเช่นนี้ ดูซิ พ่อกับแม่ต้องกังวลใจตามหาลูก” พระองค์ตรัสตอบว่า “พ่อกับแม่ตามหาลูกทำไม พ่อแม่ไม่รู้หรือว่า ลูกต้องอยู่ในบ้านของพระบิดาของลูก” โยเซฟพร้อมกับพระนางมารีย์ไม่เข้าใจที่พระองค์ตรัส
           พระเยซูเจ้าเสด็จกลับไปที่เมืองนาซาเร็ธกับบิดามารดาและเชื่อฟังท่านทั้งสอง พระมารดาทรงเก็บเรื่องทั้งหมดเหล่านี้ไว้ในพระทัย พระเยซูเจ้าทรงเจริญขึ้นทั้งในพระปรีชาญาณ พระชนมายุ และพระหรรษทานเฉพาะพระพักตร์ของพระเจ้าและต่อหน้ามนุษย์
(ลูกา 2:41-52)








วันศุกร์ที่ 7 มิถุนายน พ.ศ. 2567

นักบุญหลุยส์ เดอ มงฟอร์ต


เมื่อท่านเสียชีวิตในปี 1716 นักบุญหลุยส์มีอายุเพียง 43 ปี ท่านเป็นพระสงฆ์ได้เพียง 16 ปี การทำงานอย่างไม่เหน็ดเหนื่อยเพื่อนำวิญญาณมาหาพระเยซูผ่านทางพระนางมารีย์,โดยเฉพาะอย่างยิ่งโดยการเทศน์สอนในโบสถ์อย่างต่อเนื่องไม่รู้จบ ทำให้เขาเสียชีวิตก่อนวัยอันควร ราวกับว่าการทำงานเหล่านี้ยังทำให้เขาทนทุกข์ไม่เพียงพอ,หลุยส์ยังต้องทนรับการข่มเหงอย่างโหดร้ายจากพระสงฆ์และพวกแจนเซนเฮเรติก แม้กระทั่งถึงขั้นถูกพวกเขาทำร้ายร่างกายและวางยาพิษด้วย อย่างไรก็ตาม,นักรบผู้ไม่ย่อท้อของเรายังคงเดินหน้าต่อไปในสนามรบ โดยเทศน์สอนพระเยซูผ่านทางพระนางมารีย์อย่างต่อเนื่อง อันที่จริง,เมื่อผู้นำในพระศาสนจักรในฝรั่งเศสคิดว่าพวกเขาทำให้หลุยส์ยุติงานของเขาแล้ว,หลุยส์เดินทางเป็นระยะทางหลายพันไมล์ไปยังกรุงโรมและขอคำแนะนำจากพระสันตะปาปา พระสันตะปาปาไม่เพียงแต่บอกให้เขากลับไปฝรั่งเศสและเทศน์สอนต่อไป แต่ยังทรงมอบตำแหน่ง "มิชชันนารีเผยแพร่ศาสนา" ให้กับหลุยส์ด้วย ด้วยความนบนอบเชื่อฟังและอย่างร่าเริง,นักบุญของเรากลับไปยังฝรั่งเศสที่ซึ่งเขายังคงสั่งสอน, เขียน, และอดทนต่อความทุกข์ทรมานมากมายของเขาด้วยความรักต่อพระเยซู, พระนางมารีย์ และต่อวิญญาณของทุกคน  
ความทุกข์ทรมานและความกระตือรือร้นของนักบุญหลุยส์ได้จุดไฟในตัวคาร์โล วอยติยา (Karol Wojtyla) ในวัยหนุ่ม(พระสันตะปาปาจอห์น ปอลที่ 2) ไม่กี่ปีก่อนที่พระองค์จะสิ้นพระชนม์,พระสันตะปาปาทรงสามารถบรรลุความฝันตลอดชีวิตและไปเยี่ยมหลุมศพของนักบุญหลุยส์ เดอ มงฟอร์ต พระองค์ตรัสในโอกาสนั้นว่า "ข้าพเจ้าดีใจที่ได้เริ่มต้นการเดินทางแสวงบุญในฝรั่งเศสภายใต้หมายสำคัญของบุคคลผู้ยิ่งใหญ่นี้ พวกท่านรู้ไหมว่าข้าพเจ้าเป็นหนี้บุญคุณนักบุญองค์นี้และความศรัทธาอย่างแท้จริงต่อพระแม่มารีย์เป็นอย่างมาก" 

วันพฤหัสบดีที่ 6 มิถุนายน พ.ศ. 2567

วันที่ 7 มิถุนายน วันศุกร์ต้นเดือน


อย่าลืมพระองค์ผู้ทรงยอมรับทนทรมานและความตายเพื่อท่าน ท่านจะรักพระองค์ตราบเท่าที่ท่านยอมรับความทุกข์อย่างเงียบๆ,โดยเลือกพระองค์มากกว่าสิ่งอื่นใดและเลือกชีวิคนิรันดร  
 - - นักบุญมากาเร็ต มารีย์ อาลาก๊อก 
ร่วมพิธีมิสซาและรับศีลมหาสนิททุกวันศุกร์ต้นเดือนเก้าครั้งเพื่อถวายเกียรติแด่ดวงพระหฤทัยศักดิ์สิทธิ์ของพระเยซูเจ้า และรับพระคุณตามพระสัญญาของพระเยซูเจ้า 

วันพุธที่ 5 มิถุนายน พ.ศ. 2567

อย่าล่าช้าอีกต่อไป


โอ พี่ชายหรือน้องสาวของข้าพเจ้า อย่าละทิ้งความปรารถนาที่จะก้าวหน้าฝ่ายจิตเลยในขณะที่เวลาและโอกาสยังรอท่านอยู่! 
 เหตุใดท่านจึงล่าช้าอีกต่อไปเล่า? จงลุกขึ้น; เวลานี้เป็นเวลาที่จะเริ่มต้น! จงพูดกับตัวเองว่า “บัดนี้ถึงเวลาในการทำความดี บัดนี้เป็นเวลาของการต่อสู้ บัดนี้เป็นเวลาทำกิจชดใช้ความผิดบาปในอดีต”
 -จำลองแบบพระคริสต์
  Thomas A Kempis 

วันอังคารที่ 4 มิถุนายน พ.ศ. 2567

วันจันทร์ที่ 3 มิถุนายน พ.ศ. 2567

ความสับสนของพระธาตุในกอมโปสเตลา


พระธาตุของนักบุญยากอบองค์ใหญ่ อาจไม่ได้วางอยู่ใต้พระแท่นบูชาของอาสนวิหารกอมโปสเตลาอันยิ่งใหญ่

วันอาทิตย์ที่ 2 มิถุนายน พ.ศ. 2567

สมโภชพระวรกายและพระโลหิตพระคริสตเจ้า


โนักบุญโทมัส อไควนัส นักปราชญ์ประจำพระศาสนจักรเป็นผู้เสนอให้จัดพิธีฉลองพระวรกายและพระโลหิตพระคริสตเจ้าต่อพระสันตะปาปาเออร์บันที่ 4 เพื่อเป็นการเน้นถึงศีลมหาสนิท เป็นการแสดงออกถึงความยินดีที่ศีลมหาสนิทเป็นพระกายและพระโลหิต, พระวิญญาณ และพระเทวภาพของพระเยซูเจ้า. หลังจากที่พระสันตะปาปายอมรับในปี 1264 ถึงความถูกต้องของอัศจรรย์ศีลสนิทแห่งโบลเซนา โดยอาศัยข้อมูลของนักบุญโทมัส, พระสันตะปาปาซึ่งขณะนั้นประทับอยู่ในเมืองออร์เวียโต ได้กำหนดให้วันฉลองพระวรกายและพระโลหิตพระคริสตเจ้าเป็นวันสมโภชและขยายไปในพระศาสนจักรทั่วโลก 
 - - วิกิพีเดีย