Pages
พระเมตตาของพระเยซูเจ้า
จงบอกมนุษยชาติที่กำลังเจ็บป่วย ให้เข้ามาใกล้หัวใจอันเมตตาของเรา แล้วเราจะประทานสันติภาพให้แก่มนุษยชาติ พระเมตตาของเราไม่มีวันสิ้นสุดเลย
พระวาจาวันอาทิตย์ที่ 5 มกราคม 2025 สมโภชพระคริสตเจ้าแสดงองค์
  ในรัชสมัยกษัตริย์เฮโรด พระเยซูเจ้าประสูติที่เมืองเบธเลเฮมในแคว้นยูเดีย โหราจารย์บางท่านจากทิศตะวันออกเดินทางมายังกรุงเยรูซาเล็ม สืบถามว่า “กษัตริย์ชาวยิวที่เพิ่งประสูติอยู่ที่ใด พวกเราได้เห็นดาวประจำพระองค์ขึ้น จึงพร้อมใจกันมาเพื่อนมัสการพระองค์” เมื่อกษัตริย์เฮโรดทรงทราบข่าวนี้ พระองค์ทรงวุ่นวายพระทัย ชาวกรุงเยรูซาเล็มทุกคนต่างก็วุ่นวายใจไปด้วย พระองค์ทรงเรียกประชุมบรรดาหัวหน้าสมณะและธรรมาจารย์ ตรัสถามเขาว่า “พระคริสต์จะประสูติที่ใด” เขาจึงทูลตอบว่า “ในเมืองเบธเลเฮม แคว้นยูเดีย เพราะประกาศกเขียนไว้ว่า เมืองเบธเลเฮม ดินแดนยูดาห์ เจ้ามิใช่เล็กที่สุดในบรรดาหัวเมืองแห่งยูดาห์ เพราะผู้นำคนหนึ่งจะออกมาจากเจ้า ซึ่งจะเป็นผู้นำอิสราเอล ประชากรของเรา”
  ดังนั้น กษัตริย์เฮโรดทรงเรียกบรรดาโหราจารย์มาเฝ้าเป็นการส่วนพระองค์ ทรงซักถามถึงวันเวลาที่ดาวปรากฏ แล้วทรงใช้บรรดาโหราจารย์ไปที่เมืองเบธเลเฮม ทรงกำชับว่า “จงไปสืบถามเรื่องพระกุมารอย่างละเอียด และเมื่อพบพระกุมารแล้ว จงกลับมาบอกให้เรารู้ เราจะได้ไปนมัสการพระองค์ด้วย” เมื่อบรรดาโหราจารย์ได้ฟังพระดำรัสแล้วก็ออกเดินทาง ดาวที่เขาเห็นทางทิศตะวันออกปรากฏอีกครั้งหนึ่งนำทางให้ และมาหยุดนิ่งอยู่เหนือสถานที่ประทับของพระกุมาร เมื่อเห็นดาวอีกครั้งหนึ่งบรรดาโหราจารย์มีความยินดียิ่งนัก เขาเข้าไปในบ้าน พบพระกุมารกับพระนางมารีย์พระมารดา จึงคุกเข่าลงนมัสการพระองค์ แล้วเปิดหีบสมบัตินำทองคำ กำยาน และมดยอบออกมาถวายพระองค์ แต่พระเจ้าทรงเตือนเขาในความฝันมิให้กลับไปหากษัตริย์เฮโรด เขาจึงกลับไปบ้านเมืองของตนโดยทางอื่น
(มัทธิว 2:1-12)
พระวาจาวันอาทิตย์ที่ 5 มกราคม 2025 สมโภชพระคริสตเจ้าแสดงองค์
  ในรัชสมัยกษัตริย์เฮโรด พระเยซูเจ้าประสูติที่เมืองเบธเลเฮมในแคว้นยูเดีย โหราจารย์บางท่านจากทิศตะวันออกเดินทางมายังกรุงเยรูซาเล็ม สืบถามว่า “กษัตริย์ชาวยิวที่เพิ่งประสูติอยู่ที่ใด พวกเราได้เห็นดาวประจำพระองค์ขึ้น จึงพร้อมใจกันมาเพื่อนมัสการพระองค์” เมื่อกษัตริย์เฮโรดทรงทราบข่าวนี้ พระองค์ทรงวุ่นวายพระทัย ชาวกรุงเยรูซาเล็มทุกคนต่างก็วุ่นวายใจไปด้วย พระองค์ทรงเรียกประชุมบรรดาหัวหน้าสมณะและธรรมาจารย์ ตรัสถามเขาว่า “พระคริสต์จะประสูติที่ใด” เขาจึงทูลตอบว่า “ในเมืองเบธเลเฮม แคว้นยูเดีย เพราะประกาศกเขียนไว้ว่า เมืองเบธเลเฮม ดินแดนยูดาห์ เจ้ามิใช่เล็กที่สุดในบรรดาหัวเมืองแห่งยูดาห์ เพราะผู้นำคนหนึ่งจะออกมาจากเจ้า ซึ่งจะเป็นผู้นำอิสราเอล ประชากรของเรา”
  ดังนั้น กษัตริย์เฮโรดทรงเรียกบรรดาโหราจารย์มาเฝ้าเป็นการส่วนพระองค์ ทรงซักถามถึงวันเวลาที่ดาวปรากฏ แล้วทรงใช้บรรดาโหราจารย์ไปที่เมืองเบธเลเฮม ทรงกำชับว่า “จงไปสืบถามเรื่องพระกุมารอย่างละเอียด และเมื่อพบพระกุมารแล้ว จงกลับมาบอกให้เรารู้ เราจะได้ไปนมัสการพระองค์ด้วย” เมื่อบรรดาโหราจารย์ได้ฟังพระดำรัสแล้วก็ออกเดินทาง ดาวที่เขาเห็นทางทิศตะวันออกปรากฏอีกครั้งหนึ่งนำทางให้ และมาหยุดนิ่งอยู่เหนือสถานที่ประทับของพระกุมาร เมื่อเห็นดาวอีกครั้งหนึ่งบรรดาโหราจารย์มีความยินดียิ่งนัก เขาเข้าไปในบ้าน พบพระกุมารกับพระนางมารีย์พระมารดา จึงคุกเข่าลงนมัสการพระองค์ แล้วเปิดหีบสมบัตินำทองคำ กำยาน และมดยอบออกมาถวายพระองค์ แต่พระเจ้าทรงเตือนเขาในความฝันมิให้กลับไปหากษัตริย์เฮโรด เขาจึงกลับไปบ้านเมืองของตนโดยทางอื่น
(มัทธิว 2:1-12)
วันอาทิตย์ที่ 19 มิถุนายน พ.ศ. 2559
การเสด็จเยี่ยมเอลีซาเบธ
ผมเคยถามเพื่อนๆว่า เมื่อแม่พระเสด็จเยี่ยมนักบุญเอลีซาเบธ นั้น นักบุญโยเซฟอยู่ที่นั่นด้วยหรือไม่? พวกเขาส่วนใหญ่ไม่เคยคิดถึงเรื่องนี้มาก่อนเลย ผมสงสัยในเรื่องนี้จึงได้พยายามศึกษาเพื่อตอบคำถามนี้>>>อ่านต่อ
วันเสาร์ที่ 18 มิถุนายน พ.ศ. 2559
นักบุญคัทรินแห่งเซียนนา8
สาส์นของพระบิดา
น.คัทรินได้รับพระพรพิเศษในการฟังและบันทึกสาส์นจากพระบิดานิรันดร ในหนังสือของเธอชื่อ “The Dialogue” บรรยายถึงการเปิดเผยของพระบิดาที่ให้ความมั่นใจและท้าทายแก่พวกเรา
พระบิดาทรงเป็นผู้ปกครองและอาจารย์สวรรค์ของพวกเรา พระองค์ทรงสอนดังนี้
เกี่ยวกับความทุกข์(On Suffering )
·
ในชีวิตนี้ ความผิดบาปไมได้รับการชดเชยด้วยความทุกข์ใดๆที่เกิดขึ้นเอง แต่บาปได้รับการชดเชยด้วยความทุกข์ที่เกิดจากความปรารถนา
จากความรัก และจากหัวใจที่สำนึกผิด
·
คุณค่าในการชดเชยใช้โทษบาปมิได้มาจากตัวของความทุกข์เอง แต่มาจากความปรารถนาของวิญญาณ
·
เช่นเดียวกัน,
ความปรารถนาหรือการทำความดีต่างๆจะมีคุณค่าได้ก็โดยผ่านทางองค์พระบุตรสุดที่รักหนึ่งเดียวของเราเท่านั้น คือในพระคริสต์ผู้ทรงถูกตรึงกางเขน เพราะวิญญาณได้รับความรักมาจากพระองค์และจาดการทำความดีที่ปฏิบัติตามพระแบบฉบับของพระองค์
·
ความทุกข์ได้ชดเชยบาป ความรักเกิดขึ้นจากความรู้ถึงความดีของเราและจากความขมขื่นและการสำนึกผิดที่หัวใจประสบในความรู้จักตนเองและรู้ถึงบาปที่ทำลงไป
วันศุกร์ที่ 17 มิถุนายน พ.ศ. 2559
ผ้าสองผืน
สถาบัน Valencia-based Centro Español de Sindonología (CES)ได้ให้การสนับสนุนแก่โครงการของศาสตราจารย์ Dr. Juan Manuel Miñarro แห่งมหาวิทยาลัยแห่งเซวิล ในการวิจัยผ้าพันพระศพแห่งเมืองตุริน และผ้าพันพระพักตร์พระเยซูเจ้าแห่งโอวิโด(The Shroud of
Turin and the Sudarium of Oviedo)
ผ้าพันพระศพถูกใช้ในการพันร่างกายของพระเยซูเจ้า และผ้าอีกผืนหนึ่งที่ใช้พันเฉพาะพระเศียรและพักตร์ของพระองค์ ผ้าทั้งสองถูกพบโดยนักบุญเปโตรและนักบุญยอห์นเมื่อทั้งสองมาถึงถ้ำที่เขานำพระศพของพระเยซูเจ้าไปวางไว้ ตามที่เขียนอยู่ในพระคัมภีร์
การศึกษาครั้งนี้ไม่ได้มีจุดประสงค์เพื่อพิสูจน์ว่าพระศพนี้เป็นพระศพของพระเยซูเจ้า
แต่ต้องการพิสูจน์ว่าผ้าทั้งสองถูกใช้กับบุคคลคนเดียวกัน จากจุดพิกัดที่กำหนดในภาพของผ้าทั้งสองผืนซึ่งใช้
8-12 จุดอันเป็นระบบในการพิสูจน์ลักษณะบุคคลในทางนิติวิทยาศาสตร์ซึ่งเป็นระบบที่ใช้ทั่วโลก จากจุดพิกัดนี้พบว่าตำแหน่งเหล่านั้นในผ้าทั้งสองตรงกันทั้งในด้านขนาดและระยะห่างของจุดพิกัด
นอกจากนี้ยังมีรอยเลือดที่ปรากฏอยู่บนผ้าทั้งสองผืน และตำแหน่งของรอยเลือดในผ้าทั้งสองก็สอดคล้องกันด้วย
ศาสตราจารย์มานูเอล
กล่าวว่า “ดังนั้นโดยตรรกะ เราจึงสรุปว่าเรากำลังพูดถึงบุคคลคนเดียวกันอยู่”
ข้อสรุปที่ได้จากการวิจัยครั้งนี้คือ
ผ้าพันพระศพแห่งตูรินและผ้าพันพระพักตร์พระเยซูเจ้าแห่งโอวิโด ผ้าทั้งสองใช้กับบุคคลคนเดียวกัน
“ไม่มีสิ่งใดที่ซ่อนเร้นจะไม่ถูกเปิดเผย
และไม่มีสิ่งใดที่ถูกปกปิดไว้จะไม่ถูกนำออกมาสู่ที่แจ้ง” ลก. 8:17
วันพฤหัสบดีที่ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2559
เด็กที่ฝากผลงานไว้ให้โลก2
Louis
Braille
ข้อจำกัดของร่างกาย ไม่ใช่อุปสรรคต่อการพัฒนาสิ่งที่ดีกว่า
เบรลล์ เด็กหนุ่มชาวฝรั่งเศษ ผู้เกิดในปี ค.ศ.1809 เขาตาบอดสนิทเมื่ออายุ 3
ขวบ และได้เข้ารับการศึกษาที่สถาบันเพื่อเยาวชนตาบอดแห่งปารีส (Royal
Institute for Blind Youth in Paris) ด้วยวัยเพียง 19 ปี เขาได้พัฒนาระบบอักษรขึ้นโดยไม่ใช้ดวงตา แต่อาศัยตำแหน่งของจุดที่นูนขึ้นมาบนกระดาษแทนซึ่งในสมัยก่อนใช้งานยุ่งยากและซับซ้อนมาก
ระบบอักษรที่เบรลล์ประดิษฐ์ขึ้นนี้ในปัจจุบันถูกเรียกว่า ระบบอักษรเบรลล์ เพื่อเป็นเกียรติแด่หลุยส์
เบรลล์
ข้อจำกัดของร่างกาย ไม่ใช่อุปสรรคต่อการพัฒนาสิ่งที่ดีกว่า
อักษรเบรลล์ถูกใช้ทั่วโลกสำหรับการอ่าน/เขียน
ของคนตาบอด มีรูปแบบเพื่อทดแทนอักษรในภาษาต่างๆ รวมถึงภาษาไทย
ละยังแทนตัวเลขได้อีกด้วย ซึ่งเรามักพบอักษรเบรลล์อยู่ในลิฟท์บริเวณเลขชั้นนั่นเอง
หลุยส์
เบรลล์ ได้เป็นอาจารย์ที่ Royal Institute
for Blind Youth in Paris กระทั่งเสียชีวิตไปในวัย 43 ปี แต่ผลงานในวัยเด็กของเขา ยังคงสร้างคุณประโยชน์ให้แก่โลกจวบจนทุกวันนี้
วันพุธที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2559
พระหฤทัยศักดิ์สิทธิ์ของพระเยซูเจ้า2
ในปี
1200 นักบุญลุทการ์ดได้เห็นนิมิตพระเยซูเจ้าเสด็จมาหาเธอ และในเวลานั้น
พระคริสต์ทรงสัญญาว่าจะให้ทุกสิ่งที่เธอวอนขอ
น.ลุทการ์ดได้ขอพรธรรมดาอย่างหนึ่งคือ
ขอให้เธอเข้าใจภาษาลาตินได้ดีกว่าที่เป็นอยู่นี้เพื่อที่เธอจะได้สามารถนมัสการพระเยซูเจ้าได้อย่างถูกต้องดีพร้อม และเธอก็ได้รับพระพรแห่งความรู้นี้ แต่ น.ลุทการ์ดได้วอนของพรอีกอย่างหนึ่งแทนที่พรที่เธอได้รับไปแล้ว พระเยซูเจ้าถามเธอว่า เธอจะวอนขอพรอะไรแทนที่พรนั้น น.ลุทการ์ดทูลขอดวงพระหฤทัยของพระเยซูเจ้า และพระเยซูเจ้าได้เข้าไปใกล้ น.ลุทการ์ด ทรงนำเอาหัวใจของเธอออกมาจากทรวงอกของเธอ และนำดวงพระทัยของพระองค์ใส่เข้าไปแทนที่
วันอังคารที่ 14 มิถุนายน พ.ศ. 2559
เด็กที่ฝากผลงานไว้ให้โลก1
Anne Frank
กับไดอารี่ทีทำให้ทั้งโลกต้องหลั่งน้ำตา
แอนน์
แฟรงค์ เด็กสาวชาวยิว
อายุ 13 ปี ผู้ได้รับสมุดไดอารี่เป็นของขวัญวันเกิดในปี ค.ศ. 1942 ท่ามกลางไฟสงคราม ซึ่งในขณะนั้น อดอฟ ฮิตเลอร์ ผู้ปกครองเยอรมันนี
ได้ออกนโยบายกำจัดชาวยิว
จนกระทั่งครอบครัวแฟรงก์ซึ่งเป็นยิวกลัวภัยอันตรายจึงต้องหลบหนี
และได้รับความช่วยเหลือจากครอบครัวหนึ่งให้ซ่อนอยู่ในห้องใต้หลังคานั้น
กับไดอารี่ทีทำให้ทั้งโลกต้องหลั่งน้ำตา
แอนน์
ได้เล่าเรื่องราวต่างๆ ทั้งความหวาดกลัว ชีวิตความเป็นอยู่ การหลบซ่อน
หรือกิจกรรมฆ่าเวลาเพื่อให้ผ่านไปแต่ละวัน
โดยที่เธอไม่มีวันรู้เลยว่าบันทึกชีวิตประจำวันของเธอเล่มนั้น วันหนึ่งจะกลายเป็นส่วนสำคัญหนึ่งของประวัติศาสตร์โลก
วันหนึ่ง
ทหารนาซีสืบค้นจนพบครอบครัวรวมทั้งตัวเธอ
ทุกคนถูกส่งไปยังค่ายกักกันเอาชวิทซ์ของนาซี ใช้ชีวิตราวนรกบนดิน ครอบครัวถูกแยกออกจากกัน
เด็กและคนแก่ต้องโดนรวมแก๊ซพิษจนตาย
แอนน์รอดมาได้เพราะอายุเกินเกณฑ์มาอย่างหวุดหวิด แต่ท้ายที่สุด แม่ พี่สาว และแอนน์
แฟรงค์ก็เสียชีวิตในที่สุด
ก่อนทหารอังกฤษจะเข้ามาปลดปล่อยนักโทษได้เพียงไม่กี่สัปดาห์เท่านั้น
พ่อของเธอเป็นคนเดียวที่รอดชีวิต เขาได้กลับมายังบ้านกระทั่งพบไดอารี่ของเธอและทำการตีพิมพ์หนังสือ ไดอารี่ของแอนน์ แฟรงก์ หลายปีต่อมาหนังสือเล่มนี้ได้รับความนิยมทั่วโลก
ในฐานะของหลักฐานที่เล่าถึงเหยื่อการฆ่าล้างเผ่าพันธ์ที่โด่งดังที่สุดและเป็นวรรณกรรมที่ทรงอิทธิพลมากที่สุดในโลกชิ้นหนึ่ง
นิตยสารไทมส์
ยกให้แอนน์ แฟรงก์ให้เป็น 1 ใน 100 บุคคลสำคัญแห่งศตวรรษที่ 20
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)