พระเมตตาของพระเยซูเจ้า

จงบอกมนุษยชาติที่กำลังเจ็บป่วย ให้เข้ามาใกล้หัวใจอันเมตตาของเรา แล้วเราจะประทานสันติภาพให้แก่มนุษยชาติ พระเมตตาของเราไม่มีวันสิ้นสุดเลย

พระวาจาวันอาทิตย์ที่ 21 เมษายน 2024 พระเยซูเจ้าทรงเป็นผู้เลี้ยงแกะที่ดี

           เราเป็นผู้เลี้ยงแกะที่ดี ผู้เลี้ยงแกะย่อมสละชีวิตเพื่อแกะของตน ลูกจ้างที่ไม่ใช่ผู้เลี้ยงแกะและไม่เป็นเจ้าของแกะ เมื่อเห็นสุนัขป่าเข้ามาก็ละทิ้งบรรดาแกะและหนีไป สุนัขป่าแย่งชิงแกะ และฝูงแกะก็กระจัดกระจายไป ลูกจ้างวิ่งหนีเพราะเขาเป็นเพียงลูกจ้าง ไม่มีความห่วงใยฝูงแกะเลย เราเป็นผู้เลี้ยงแกะที่ดี เรารู้จักแกะของเรา และแกะของเราก็รู้จักเรา พระบิดาทรงรู้จักเราฉันใด เราก็รู้จักพระบิดาฉันนั้น เรายอมสละชีวิตเพื่อแกะของเรา เรายังมีแกะอื่น ๆ ซึ่งไม่อยู่ในคอกนี้ เราต้องนำหน้าแกะเหล่านี้ด้วย แกะจะฟังเสียงของเรา
           จะมีแกะเพียงฝูงเดียวและผู้เลี้ยงเพียงคนเดียว พระบิดาทรงรักเรา เพราะเราสละชีวิตของเราเพื่อจะเอาชีวิตนั้นคืนมาอีก ไม่มีใครเอาชีวิตไปจากเราได้ แต่เราเองสมัครใจสละชีวิตนั้น
           เรามีอำนาจที่จะสละชีวิตของเรา และมีอำนาจที่จะเอาชีวิตนั้นคืนมาอีก นี่คือพระบัญชาที่เราได้รับจากพระบิดาของเรา‘
(ยอห์น 10:11-18)








วันอังคารที่ 14 มิถุนายน พ.ศ. 2559

เด็กที่ฝากผลงานไว้ให้โลก1

Anne Frank
กับไดอารี่ทีทำให้ทั้งโลกต้องหลั่งน้ำตา

             แอนน์ แฟรงค์ เด็กสาวชาวยิว อายุ 13 ปี ผู้ได้รับสมุดไดอารี่เป็นของขวัญวันเกิดในปี ค.ศ. 1942 ท่ามกลางไฟสงคราม ซึ่งในขณะนั้น อดอฟ ฮิตเลอร์ ผู้ปกครองเยอรมันนี ได้ออกนโยบายกำจัดชาวยิว จนกระทั่งครอบครัวแฟรงก์ซึ่งเป็นยิวกลัวภัยอันตรายจึงต้องหลบหนี และได้รับความช่วยเหลือจากครอบครัวหนึ่งให้ซ่อนอยู่ในห้องใต้หลังคานั้น
แอนน์ ได้เล่าเรื่องราวต่างๆ ทั้งความหวาดกลัว ชีวิตความเป็นอยู่ การหลบซ่อน หรือกิจกรรมฆ่าเวลาเพื่อให้ผ่านไปแต่ละวัน โดยที่เธอไม่มีวันรู้เลยว่าบันทึกชีวิตประจำวันของเธอเล่มนั้น วันหนึ่งจะกลายเป็นส่วนสำคัญหนึ่งของประวัติศาสตร์โลก
วันหนึ่ง ทหารนาซีสืบค้นจนพบครอบครัวรวมทั้งตัวเธอ  ทุกคนถูกส่งไปยังค่ายกักกันเอาชวิทซ์ของนาซี ใช้ชีวิตราวนรกบนดิน  ครอบครัวถูกแยกออกจากกัน เด็กและคนแก่ต้องโดนรวมแก๊ซพิษจนตาย แอนน์รอดมาได้เพราะอายุเกินเกณฑ์มาอย่างหวุดหวิด แต่ท้ายที่สุด แม่ พี่สาว และแอนน์ แฟรงค์ก็เสียชีวิตในที่สุด ก่อนทหารอังกฤษจะเข้ามาปลดปล่อยนักโทษได้เพียงไม่กี่สัปดาห์เท่านั้น พ่อของเธอเป็นคนเดียวที่รอดชีวิต  เขาได้กลับมายังบ้านกระทั่งพบไดอารี่ของเธอและทำการตีพิมพ์หนังสือ ไดอารี่ของแอนน์ แฟรงก์ หลายปีต่อมาหนังสือเล่มนี้ได้รับความนิยมทั่วโลก ในฐานะของหลักฐานที่เล่าถึงเหยื่อการฆ่าล้างเผ่าพันธ์ที่โด่งดังที่สุดและเป็นวรรณกรรมที่ทรงอิทธิพลมากที่สุดในโลกชิ้นหนึ่ง
นิตยสารไทมส์ ยกให้แอนน์ แฟรงก์ให้เป็น 1 ใน 100 บุคคลสำคัญแห่งศตวรรษที่ 20

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น