โบสถ์แห่งการกลับคืนชีพของพระนางมารีย์
และเป็นถ้ำฝังพระศพของพระนางด้วย อยู่ในหุบเขากิดโรน Kidron Valleyซึ่งอยู่เชิงเขามะกอก ในกรุงเยรูซาเล็ม
ตามธรรมประเพณีของคริสต์ศาสนาตะวันออกกล่าวว่า
พระนางพรหมจารีย์มารีย์ทรงสิ้นพระชนม์ตามธรรมชาติ หรือนิยมเรียกว่า ทรงบรรทม เช่นเดียวกับมนุษย์ทั่วไป
บรรดาอัครสาวกได้ฝังพระศพของพระนางไว้ในคูหา ในวันที่สามพระคริสต์ทรงทำให้พระนางทรงกลับคืนพระชนม์ขึ้นมาและทรงนำพระนางขึ้นสู่สรวงสวรรค์ทั้งร่างกายและวิญญาณ
โทมัสไม่ได้อยู่ที่กรุงเยรูซาเล็มในเวลาที่ฝังพระศพ
เมื่อเขามาถึงกรุงเยรูซาเล็มในวันที่สามหลังจากฝังพระศพ เขาจึงไปเยี่ยมพระศพพร้อมกับอัครสาวกคนอื่นๆ
แต่ได้พบว่าพระคูหาว่างเปล่า จึงเชื่อว่าพระนางพรหมจารีย์มารีย์ได้กลับคืนพระชนม์เหมือนพระเยซูเจ้าและถูกนำขึ้นสู่สวรรค์
แต่บางคนเชื่อว่าพระนางมารีย์มิได้สิ้นพระชนม์
พระนางเพียงแต่หลับไปและดูเหมือนกับสิ้นพระชนม์เท่านั้น
ในหนังสือบันทึกประวัติศาสตร์ Euthymiaca
Historia (อาจเขียนขึ้นโดย ซีริลแห่ง Scythopolis ในศตวรรษที่ 5) กล่าวว่า จักรพรรดิมาร์เชี่ยนและภริยา Pulcheria ได้ขอพระธาตุของพระนางพรหมจารีย์มารีย์จากพระอัยกาแห่งเยรูซาเล็ม Juvenal ในเวลานั้นพระอัยกาอยู่ในการประชุมแห่ง Chalcedon (451).
และพระอัยกาได้ตอบจักรพรรดิไปว่า ในวันที่สามหลังจากพระนางพรหมจารีย์มารีย์ถูกฝังพระศพแล้ว
ได้ค้นพบว่าพระคูหาของพระนางว่างเปล่า
เหลือเพียงแต่ผ้าคลุมพระศพเท่านั้นซึ่งถูกเก็บรักษาไว้ในโบสถ์แห่งเก็ธเซมานี
ในปี 1975 Bellarmino
Bagatti นักพรตฟรังซิสกันและเป็นนักโบราณคดีด้วย ได้ขุดค้นที่บริเวณนั้นและได้พบหลักฐานเป็นสุสานสมัยโบราณที่มีอายุย้อนหลังไปในศตวรรษที่
1 โครงสร้างของสุสานโดยทั่วไปประกอบด้วยห้องสามห้อง
แต่ถ้ำฝังพระศพของพระนางมารีย์จะเป็นถ้ำเดี่ยวแยกจากถ้ำอื่นที่มีสามห้อง
มีการสร้างโบสถ์ในบริเวณนั้น
และถ้ำฝังพระศพของแม่พระอยู่ทางทิศตะวันออกของโบสถ์
ในปี 614
พวกเปอร์เซียได้มารุกรานและทำลายโบสถ์
ในศตวรรษต่อมาจึงได้มีการสร้างโบสถ์ขึ้นมาใหม่ มีการทำลายและสร้างโบสถ์ใหม่หลายครั้ง
แต่ไม่มีใครกล้าแตะต้องถ้ำของแม่พระ เพราะพวกมุสลิมก็นับถือแม่พระด้วยเช่นกัน
ปัจจุบันโบสถ์และถ้ำของแม่พระอยู่ในความดูแลของ. Armenian
Apostolical Church of Jerusalem และ Greek Orthodox Church,