พระเมตตาของพระเยซูเจ้า

จงบอกมนุษยชาติที่กำลังเจ็บป่วย ให้เข้ามาใกล้หัวใจอันเมตตาของเรา แล้วเราจะประทานสันติภาพให้แก่มนุษยชาติ พระเมตตาของเราไม่มีวันสิ้นสุดเลย

พระวาจาวันอาทิตย์ที่ 5 มกราคม 2025 สมโภชพระคริสตเจ้าแสดงองค์

           ในรัชสมัยกษัตริย์เฮโรด พระเยซูเจ้าประสูติที่เมืองเบธเลเฮมในแคว้นยูเดีย โหราจารย์บางท่านจากทิศตะวันออกเดินทางมายังกรุงเยรูซาเล็ม สืบถามว่า “กษัตริย์ชาวยิวที่เพิ่งประสูติอยู่ที่ใด พวกเราได้เห็นดาวประจำพระองค์ขึ้น จึงพร้อมใจกันมาเพื่อนมัสการพระองค์” เมื่อกษัตริย์เฮโรดทรงทราบข่าวนี้ พระองค์ทรงวุ่นวายพระทัย ชาวกรุงเยรูซาเล็มทุกคนต่างก็วุ่นวายใจไปด้วย พระองค์ทรงเรียกประชุมบรรดาหัวหน้าสมณะและธรรมาจารย์ ตรัสถามเขาว่า “พระคริสต์จะประสูติที่ใด” เขาจึงทูลตอบว่า “ในเมืองเบธเลเฮม แคว้นยูเดีย เพราะประกาศกเขียนไว้ว่า เมืองเบธเลเฮม ดินแดนยูดาห์ เจ้ามิใช่เล็กที่สุดในบรรดาหัวเมืองแห่งยูดาห์ เพราะผู้นำคนหนึ่งจะออกมาจากเจ้า ซึ่งจะเป็นผู้นำอิสราเอล ประชากรของเรา”
           ดังนั้น กษัตริย์เฮโรดทรงเรียกบรรดาโหราจารย์มาเฝ้าเป็นการส่วนพระองค์ ทรงซักถามถึงวันเวลาที่ดาวปรากฏ แล้วทรงใช้บรรดาโหราจารย์ไปที่เมืองเบธเลเฮม ทรงกำชับว่า “จงไปสืบถามเรื่องพระกุมารอย่างละเอียด และเมื่อพบพระกุมารแล้ว จงกลับมาบอกให้เรารู้ เราจะได้ไปนมัสการพระองค์ด้วย” เมื่อบรรดาโหราจารย์ได้ฟังพระดำรัสแล้วก็ออกเดินทาง ดาวที่เขาเห็นทางทิศตะวันออกปรากฏอีกครั้งหนึ่งนำทางให้ และมาหยุดนิ่งอยู่เหนือสถานที่ประทับของพระกุมาร เมื่อเห็นดาวอีกครั้งหนึ่งบรรดาโหราจารย์มีความยินดียิ่งนัก เขาเข้าไปในบ้าน พบพระกุมารกับพระนางมารีย์พระมารดา จึงคุกเข่าลงนมัสการพระองค์ แล้วเปิดหีบสมบัตินำทองคำ กำยาน และมดยอบออกมาถวายพระองค์ แต่พระเจ้าทรงเตือนเขาในความฝันมิให้กลับไปหากษัตริย์เฮโรด เขาจึงกลับไปบ้านเมืองของตนโดยทางอื่น
(มัทธิว 2:1-12)








วันพฤหัสบดีที่ 17 เมษายน พ.ศ. 2557

ทำไมพระเยซูเจ้าเสด็จเข้ากรุงเยรูซาเล็มโดยการขี่ลา

เหตุผลที่พระเยซูเจ้าเสด็จเข้ากรุงเยรูซาเล็มโดยขี่ลามี 4 ข้อคือ
1.             ประกาศก เศคารียาห์เขียนไว้ว่า “จงมองดูเถิด กษัตริย์ของเจ้าเสด็จมาหาเจ้าแล้ว  พระองค์เสด็จมาอย่างผู้มีชัยชนะ  ทรงสุภาพอ่อนโยน  ทรงประทับบนหลังแม่ลาและลูกลา" (ศคย. 9:9)  ประชาชนเห็นเหตุการณ์ตามคำทำนายนี้จึงมาต้อนรับกษัตริย์ของพวกเขาพลางร้องตะโกน”โฮซานนาแดผู้เสด็จมาในพระนามของพระเป็นเจ้า” (มธ.21:9)
2.             ลามีความเชื่อมโยงกับเรื่องของอับราฮัมถวายอิซาอักเป็นยัญบูชาแด่พระเป็นเจ้า  อับราฮัมให้อิซาอักขี่ลาไปยังภูเขาที่จะทำพิธี  การถวายบุตรหัวปีแดพระเจ้าเป็นเครื่องหมายของความนบนอบเชื่อฟัง
3.             กษํตริย์โซโลมอนขี่ลาในวันที่ขึ้นครองราชย์สมบัติ  ลานั้นเป็นลาที่เคยเป็นของกษัตริย์ดาวิดผู้บิดามาก่อน (1 พกษ. 1:33-44)
4.             กษัตริย์เยฮูได้ขี่ลาเข้าไปในดินแดนซามาเรีย (ซึ่งชาวซามาเรียถือว่าเป็นเยรูซาเล็มของเขา)  เพื่อทำลายวิหารของพระบาอัล (2 พกษ. 9:11-10:28)  พระเยซูเจ้าก็ทรงเข้าไปในกรุงเยรูซาเล็มและทำลายโต๊ะแลกเงินของพ่อค้าที่มาทำให้พระวิหารของพระเป็นเจ้ากลายเป็นซ่องโจร
พระเยซูเจ้าทรงขี่ลาตัวเดียวหรือขี่ลาสองตัว
เป็นเวลาหลายปีที่ผมสับสนในพระวรสารวันอาทิตย์ใบลาน  ซึ่งเขียนโดย น.มัทธิว ท่านบอกว่า พระเยซูเจ้าขี่ลาและลูกลา  แต่พระวรสารของ น.มาร์โก  , น. ลูกา และ น.ยอห์น  เขียนแต่เพียงว่า พระเยซูเจ้าทรงขี่ลา และไม่ได้กล่าวถึงลูกลาเลย  ผมเคยคิดว่า พระเยซูเจ้าอาจขี่แม่ลาและลูกลาไปพร้อมกัน  ฟังดูแล้วพิลึกเหมือนกัน  แต่ผมก็นึกไม่ออกว่า น.มัทธิว จะหมายความอย่างไรจึงเขียนไว้แบบนั้น
ในที่สุดผมก็หายข้องใจเมื่อได้อ่านข้อความในหนังสืออธิบาย  Cornelius a Lapide’s commentary  ตามคำอธิบายของ Lapide  ในตอนแรก พระเยซูเจ้าทรงขี่แม่ลาก่อนเมื่ออยู่ห่างกรุงเยรูซาเล็มเพราะ มีเนินเขาและภูเขา  จึงเดินทางขึ้นและลงเนินเขาบ่อยๆ และเมื่อใกล้เมือง พระองค์จึงเปลี่ยนมาขี่ลูกลาเพื่อเข้าเมือง  (ลูกลานี้ไม่ใช่ลูกลาตัวเล็กๆ แต่เป็นลูกลาที่โตแล้ว  แต่ยังไม่เคยถูกใช้งานมาก่อน)
และมีเหตุผลที่ต้องทำเช่นนี้  แม่ลาแข็งแรงกว่าลูกลาจึงสามารถขึ้นลงเนินเขาได้สะดวกกว่า  ส่วนลูกลาก็สามารถนำพระเยซูเจ้าเข้ากรุงเยรูซาเล็มได้สะดวกและทำให้แม่ลาได้พักบ้าง
และยังมีความหมายที่ซ่อนอยู่ในเรื่องนี้ด้วย  แม่ลาและลูกลาหมายถึง “ประชาชนสองพวก – พวกแรกคือ ชาวยิวที่ปฏิบัติตามบทบัญญัติของโมเสส  แทนโดยแม่ลา  และชาวต่างชาติซึ่งไม่ได้ถือตามพระบัญญัติของพระเป็นเจ้า  แทนโดยลูกลา”
แม่ลาหมายถึงชาวอิสราเอลที่ปฏิบัติตามบทบัญญัติของโมเสส – น.เปโตรได้อธิบายบทบัญญัติของโมเสสว่า “เป็นแอก...ซึ่งบรรพบุรุษของเราหรือเราเองก็ไม่สามารถแบกไว้ได้”(กจ. 15:10)
ลูกลาหมายถึงชนต่างชาติ  เป็นชนชาติใหม่และไม่เคยถือตามบทบัญญัติ – น.เปโตรเปรียบเทียบชนเหล่านี้ว่าเป็นเหมือนกิ่งมะกอกป่า
พระเยซูเจ้าทรงขี่ทั้งแม่ลาและลูกลา มีความหมายว่า  ทั้งชาวยิวและชนต่างชาติจะถูกเรียกว่า Christophoroi - Christ-bearers – ผู้แบกรับพระคริสต์
และในสมัยปัจจุบัน ก็เป็นหน้าที่ของพวกเราที่จะต้อง “แบกรับและนำพระคริสต์ไปสู่โลก”  เหมือนที่แม่ลาและลูกลาแบกรับและนำพระคริสต์เข้าสู่กรุงเยรูซาเล็ม

วันอังคารที่ 15 เมษายน พ.ศ. 2557

วันพฤหัสศักดิ์สิทธิ์













มีเหตุการณ์มากมายเกิดขึ้นในวันพฤหัสศักดิ์สิทธิ์
- น.เปโตรและยอห์นได้รับคำสั่งจากพระเยซูเจ้าให้ไปจัดเตรียมสถานที่ “ห้องชั้นบน” เพื่อการเลี้ยงอาหารค่ำในวันปาสกา
- พระเยซูเจ้าทรงล้างเท้าอัครสาวก 12 คน
- พระเยซูเจ้าประกอบพิธีมิสซาครั้งแรก
- พระเยซูเจ้าทรงตั้งศีลบวชพระสงฆ์
- พระเยซูเจ้าประกาศว่ายูดาสจะทรยศพระองค์
- พระเยซูเจ้าทรงมอบพระบัญญัติใหม่ “พวกท่านจงรักกันและกัน เหมือนอย่างที่เรารักท่าน”
- น.เปโตรประกาศว่าจะไม่ละทิ้งพระเยซูเจ้าเลย ซึ่งแสดงถึงบทบาทของผู้นำของอัครสาวก
- พระเยซูเจ้าทำนายว่า เปโตรจะปฏิเสธพระองค์
- พระเยซูเจ้าทรงสวดภาวนาเพื่อเอกภาพของผู้ที่เชื่อในพระองค์
- พระเยซูเจ้าทรงตั้งศีลมหาสนิท และตรัสตามพระวรสาร น.ยอห์น 13- 18
- พระเยซูเจ้าเสด็จไปสวดภาวนาที่สวนเก็ธเซเมนี
- ยูดาสทรยศพระเยซูเจ้า
- พระเยซูเจ้าทรงสั่งอัครสาวกไม่ให้ตอบโต้ด้วยความรุนแรง
- พระเยซูเจ้าทรงรักษาหูของมาคัส ทหารรับใช้ของสมณะ
- พระเยซูเจ้าถูกนำตัวไปอยู่ต่อหน้า อันนาสและไกฟาสผู้เป็นหัวหน้าสมณะ
- เปโตรปฏิเสธพระเยซูเจ้า
- พระเยซูเจ้าถูกนำตัวไปหาปิลาโต

วันพฤหัสศักดิ์สิทธิ์ยังเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า “Maundy Thursday” คำว่า “Maundy” มาจากภาษาลาติน “mandatum” หรือ mandate เป็นคำที่มีอยู่ในพระวรสาร น. ยอห์น 13:34ในภาษาลาติน
"Mandatum novum do vobis ut diligatis invicem sicut dilexi vos."
แปลว่า “บัญญัติใหม่ที่เรามอบให้แก่ท่าน คือ พวกท่านจงรักกันและกันเหมือนเช่นที่เรารักท่าน”
Mandatum” แปลว่า “บัญญัติใหม่” – The new mandate

วันจันทร์ที่ 14 เมษายน พ.ศ. 2557

เพลงลาติน วันอาทิตย์แห่ใบลาน



ใครเคยได้ยินเพลงนี้บ้าง  เป็นเพลงลาตินที่ร้องในพิธีแห่ใบลานสมัยก่อน

วันเสาร์ที่ 12 เมษายน พ.ศ. 2557

ชายที่พระสันตปาปาจูบ



Vinicio Vira คือชายที่พระสันตปาปาฟรังซิส ทรงจูบที่ใบหน้าของเขา เขาเป็นโรคท้าวแสนปม เป็นโรคที่เกิดจากกรรมพันธ์ เพราะแม่ของเขาก็เป็นด้วย  ป้าของเขาได้พาเขามาที่วาติกันในเดือนพฤศจิกายน เพื่อมาพบกับพระสันตปาปาฟรังซิส  ที่จตุรัส น. เปโตร  ประชาชนที่รวมกันมากมาย แต่ละคนพยายามยืนให้ห่างจากเขาด้วยความกลัว  เมื่อพระสันตปาปามาถึงตัวเขาและป้า  เขาคิดว่าพระสันตปาปาจะพูดกับป้าของเขา และมองดูเขาด้วยความสนใจเท่านั้น แต่พระองค์เข้ามาใกล้เขา ทรงโอบศีรษะของเขาและกอดเขา "พระองค์ไม่กลัวผมเลย  พระองค์กอดผมโดยไม่ได้ตรัสอะไร....ผมรู้สึกถึงความอบอุ่นอันยิ่งใหญ่" วิรา อายุ 53 ปีกล่าว  ป้าของเขาพูดว่าวิรา "ไม่เป็นตัวของตัวเองเลย  เขาตัวสั่น"  วิราเริ่มเป็นโรคนี้เมื่ออายุ 15 ปี เสื้อของเขามักจะเปียกเมื่อเลือดออกที่แผลซึ่งบวม

มหัศจรรย์ธรรมชาติของนก



นกนับล้านตัวบินเป็นกลุ่มไปมาในท้องฟ้าของประเทศอิตาลี  และถึงแม้มันจะบินไปพร้อมกันในทิศทางเดียวกัน  แต่มันไม่เคยบินชนกันเลย  นี่เป็นมหัศจรรย์ของธรรมชาติที่น่าพิศวง

วันพฤหัสบดีที่ 10 เมษายน พ.ศ. 2557

บันไดศักดิ์สิทธิ์



บันไดศักดิ์สิทธิ์ (Holy stair – Scala Santa) อยู่ในโบสถ์ scala santa church ในกรุงโรม เป็นบันไดที่พระเยซูเจ้าถูกนำไปยังที่ไต่สวนของปิลาโต ทำด้วยหินอ่อนมี 28 ขั้น  น.เฮเลนา พระมารดาของกษัตริย์คอนแสดนติน ทรงเป็นผู้นำมาไว้ที่นี่  ปัจจุบันผู้ที่แสวงบุญมาที่โบสถ์นี้จะได้รับอนุญาติให้ขึ้นบันไดได้ด้วยการคุกเข่าเท่านั้น  ด้านบนเป็นโบสถ์น้อยของพระสันตะปาปา  ซึ่งมีภาพวาดบนผนังและเพดานที่เรียกว่า Fresco ที่สวยงามมาก วาดขึ้นในศตวรรษที่ 13  และกำลังได้รับการบูรณะซ่อมแซม 

วันจันทร์ที่ 7 เมษายน พ.ศ. 2557

เพลง Donna Donna

             เพลง Donna Donna ดั้งเดิมชื่อว่า Dana Dana...แต่งขึ้นในช่วงสงครามโลกครั้งที่2 (1939 - 1945)เป็นภาษายิดดิช(ภาษายิวเดิม)...ดนตรีโดย Shalom Sekunda เนื้อร้องโดย Aaron Zeitlin..เพื่อเป็นการสะท้อนถึงความโหดร้ายอำมหิต ในการฆ่าล้างเผ่าพันธ์คนยิวโดยทหารเยอรมันของฮิตเล่อร์..คำว่า Dana Dana คือคำเรียกชื่อหนึ่งของพระเจ้า (ชาวยิวจะไม่เรียกชื่อพระเจ้า "พระยาห์เวห์" โดยตรง แต่จะใช้คำอื่นเรียกแทน)
ตอนต้นทศวรรษที่50 Sekundaได้แปลเพลงนี้จากภาษายิดดิชเป็นอังกฤษ...ไม่ฮิตไม่ติดหูคนฟังเลย...ครั้นถึงกลางทศวรรษ Arthur Kevess และ Teddi Schwartz แปลเป็นอังกฤษอีกครั้ง คราวนี้เริ่มได้รับความนิยมบ้างแต่ก็ถือว่ายังไม่มากนัก...จนกระทั่งปี 1960Joan Baez นำมาบันทึกเสียงในโซโลอัลบั้มแผ่นแรกของเธอ แพร่หลายโด่งดังไปทั่วโลก กลายเป็นเพลงโฟล์คอมตะคลาสสิค ที่สร้างชื่อเสียงให้Joanอย่างสุดสุดเพลงหนึ่งทีเดียว

           Joan Baez ~ DONNA DONNA ~ โจนส์เล่าว่า “เมื่อฉันอยู่ที่เซ็กโกสโลวาเกีย ขณะที่รัฐบาลคอมมิวนิสต์ยังคงกดขี่ละเมิดสิทธิมนุษยชนของประชาชน  ฉันได้รับเชิญให้ไปแสดงคอนเสริต  ซึ่งมี Vaclav Havel (ผู้ที่ต่อมาได้เป็นประธานาธิบดีของเช็กโกสโลวาเกีย) ร่วมฟังอยู่ด้วย  Ot เป็นสถานีโทรทัศน์ของรัฐบาลที่ทำการถ่ายทอด และมีตำรวจตรวจตราอยู่ทั่วสถานที่  ประชาชนนั่งอยู่ที่พื้นโดยปราศจากเพื่อนคอยช่วยป้องกันไม่ให้ถูกจับกุม
          “ฉันร้องเพลงและเชิญให้นักร้องที่ถูกห้ามจากรัฐบาลให้ขึ้นมาบนเวที  และไมโครโฟนของฉันก็ถูกปิดเป็นครั้งแรก  เมื่อฉันแนะนำตัวท่าน ฮาเวล  ผู้ฟังก็เริ่มวุ่นวาย  ฉันต้องการปิดการแสดงจึงขอร้องให้ “นักร้องที่ถูกกฎหมายซึ่งมาร้องก่อนหน้าฉันให้มาแสดงร่วมกับฉัน  พวกเขาลังเลใจแต่ฉันก็เกลี้ยกล่อมได้สำเร็จ  ฉันเริ่มขึ้นโน้ตเพลง “Donna Donna  แต่เสียงก็ถูกปิดอีก  แต่ถึงจะไม่มีไมโครโฟนในห้องจุคน 4,000 คน  เราก็ร้องเพลง "Donna Donna."
           คุณแทบจะได้ยินเสียงเข็มตกกับพื้นเลยทีเดียว  บางคนยอมเสี่ยงที่จะไม่ปิดวิทยุทีวีเพื่อฟังเพลงนี้  แม้แต่ตำรวจก็ไม่กล้าขัดจังหวะหรือทำหน้าที่ของเขา  มันเป็นช่วงเวลาที่สำคัญที่สุด --- เป็นชัยชนะที่ยิ่งใหญ่” บันทึกคอนเสริตสำหรับ CBC มอนทรีออล คานาดา 1969