พระเมตตาของพระเยซูเจ้า

จงบอกมนุษยชาติที่กำลังเจ็บป่วย ให้เข้ามาใกล้หัวใจอันเมตตาของเรา แล้วเราจะประทานสันติภาพให้แก่มนุษยชาติ พระเมตตาของเราไม่มีวันสิ้นสุดเลย

พระวาจาวันอาทิตย์ที่ 19 มกราคม 2025 งานแต่งงานที่หมู่บ้านคานา

           สามวันต่อมามีงานสมรสที่หมู่บ้านคานาในแคว้นกาลิลี พระมารดาของพระเยซูเจ้าทรงอยู่ในงานนั้น พระเยซูเจ้าทรงได้รับเชิญพร้อมกับบรรดาศิษย์มาในงานนั้นด้วย เมื่อเหล้าองุ่นหมด พระมารดาของพระเยซูเจ้าจึงมาทูลพระองค์ว่า “เขาไม่มีเหล้าองุ่นแล้ว” พระเยซูเจ้าตรัสว่า “หญิงเอ๋ย ท่านต้องการสิ่งใด เวลาของเรายังมาไม่ถึง” พระมารดาของพระเยซูเจ้าจึงกล่าวแก่บรรดาคนรับใช้ว่า “เขาบอกให้ท่านทำอะไร ก็จงทำเถิด” ที่นั่นมีโอ่งหินตั้งอยู่หกใบ เพื่อใช้ชำระตามธรรมเนียมของชาวยิว แต่ละใบจุน้ำได้ประมาณหนึ่งร้อยลิตร พระเยซูเจ้าตรัสกับบรรดาคนรับใช้ว่า “จงตักน้ำใส่โอ่งให้เต็ม” เขาก็ตักน้ำใส่จนเต็มถึงขอบ แล้วพระองค์ทรงสั่งเขาอีกว่า “จงตักไปให้ผู้จัดงานเลี้ยงเถิด” เขาก็ตักไปให้ ผู้จัดงานเลี้ยงได้ชิมน้ำที่เปลี่ยนเป็นเหล้าองุ่นแล้ว ไม่รู้ว่าเหล้านี้มาจากไหน แต่คนรับใช้ที่ตักน้ำรู้ดี ผู้จัดงานเลี้ยงจึงเรียกเจ้าบ่าวมา พูดว่า “ใคร ๆ เขานำเหล้าองุ่นอย่างดีมาให้ก่อน เมื่อบรรดาแขกดื่มมากแล้ว จึงนำเหล้าองุ่นอย่างรองมาให้ แต่ท่านเก็บเหล้าอย่างดีไว้จนถึงบัดนี้” พระเยซูเจ้าทรงกระทำเครื่องหมายอัศจรรย์ ครั้งแรกนี้ที่หมู่บ้านคานา แคว้นกาลิลี พระองค์ทรงแสดงพระสิริรุ่งโรจน์ของพระองค์ และบรรดาศิษย์เชื่อในพระองค์
(ยอห์น 2:1-11)








วันเสาร์ที่ 26 เมษายน พ.ศ. 2557

อัศจรรย์ของพระสันตปาปายอห์นปอลที่ 2


VATICAN CITY (CNS) --.นาง  Floribeth Mora Diaz  สตรีชาวคอสตา ริกา อายุ 50 ปี ได้กล่าวในการให้สัมภาษณ์ของผู้สื่อข่าวเมื่อ วันที่ 24 เม.ย. นี้  สามวันก่อนที่เธอจะเข้าร่วมพิธีมิสซาเพื่อสถาปนาพระสันตะปาปายอห์นปอลที่ 2 ขึ้นเป็นนักบุญ
และในเวลาเดียวกัน ซิสเตอร์ อะเดลเล ลาเบียนกา  แห่งคณะ Daughter of Charity ก็ให้สัมภาษณ์เป็นพยานเกี่ยวกับอัศจรรย์การเยียวยารักษาของซิสเตอร์ คัทเทอรีนา  คาปีตานี ในปี 1966 ซึ่งเป็นอัศจรรย์ที่ใช้ในการแต่งตั้งพระสันตปาปายอห์นปอลที่ 2 เป็นบุญราศี
ถึงแม้ว่าสตรีทั้งสองจะเล่าเรื่องนี้ซ้ำแล้วซ้ำเล่าเป็นร้อยครั้ง  แต่ในที่ประชุมให้สัมภาษณ์แก่ผู้สื่อข่าวครั้งนี้  เป็นครั้งใหญ่และอาจทำให้เกิดความตื่นเต้น  ซิสเตอร์ ลาเบียนกา  บอกว่าเธอต้องอ่านคำให้สัมภาษณ์จากข้อเขียนในกระดาษที่เธอเตรียมมา  เพราะเกรงว่าจะลืมข้อความบางสิ่งบางอย่างไป  ส่วนนางโมราเดียส  ให้สัมภาษณ์โดยมีเสียงที่สั่นบ้างเล็กน้อย
หญิงชาวคอสตารีกา  ผู้เดินทางมาที่วาติกันพร้อมกับสามีและลูก 4 คน  ได้เล่าเกี่ยวกับอาการปวดหัวอย่างรุนแรงของเธอในเดือน เม.ย. 2011  เธอไปพบหมอและได้รับแจ้งว่าเธอเป็นเส้นเลือดในสมองตีบ  หมอบอกว่าเธอต้องได้รับการผ่าตัด  แต่เธอจะต้องไปที่เม็กซิโกหรือที่คิวบาเพื่อรับการผ่าตัดที่นั่น  และเธฮก็ไม่มีเงินเพียงพอ  หมอไม่สามารถช่วยเหลือเธอได้อีก  ดังนั้นเธอจึงถูกส่งตัวกลับบ้าน  หมอบอกว่า “เธอจะมีชีวิตอยู่ได้อีกเพียงหนึ่งเดือนเท่านั้น”  เธอเริ่มร้องไห้ขณะที่เล่าให้ฟังต่อไปถึงเรื่องที่สามีพยายามบอกให้ลูกๆรู้ว่าแม่จะต้องเสียชีวิตและให้ลูกๆสวดภาวนา
นางโมรา เล่าต่อไปว่า  เธอมีความศรัทธาต่อพระสันตะปาปายอห์นปอลที่ 2 มานานแล้วและได้ชมการถ่ายทอดการสถาปนาพระองค์เป็นบุญราศีเมื่อ 1 พ.ค. 2011 ด้วย “แล้วฉันก็หลับไป” เธอพูดต่อ  อีกไม่กี่ชั่วโมงต่อมา เธอก็ได้ยินเสียงของพระสันตะปาปาเรียกเธอ “ลุกขึ้น!....จงอย่ากลัว”  เธอบอกว่า “ฉันมีความสงบและสันติสุข  ซึ่งทำให้ฉันแน่ใจว่าฉันหายแล้ว”
เธอและสามีไม่มีเงินเพียงพอที่จะทำการตรวจรักษาอีกแล้ว  แต่แม้กระนั้น หมอก็ทำการตรวจด้วยเครื่อง MRI ให้เธอ  “หมอแทบช็อก  สามีของฉันประหลาดใจมากว่าทำไม หมอไม่พูดอะไรเลย  และฉันก็พูดขึ้นว่า  “เพราะฉันได้รับการเยียวยารักษาโดยผ่านการวอนขอของพระสันตะปาปายอห์นปอลที่ 2”
คำพูดของหมอมีความสำคัญมาก เธอพูดต่อ “เพราะไม่ใช่ฉันเพียงคนเดียวที่พูดว่า ฉันหายแล้ว  แต่หมอหลายคนที่เคร่งขรึมมาก ก็พูดเช่นนี้ด้วย”
ซิสเตอร์ ลาเบียนกา ได้เล่าเกี่ยวกับอัศจรรย์ที่ทำให้พระสันตะปาปายอห์นปอลที่ 2 เป็นบุญราศี  เธอทำงานพร้อมกับซิสเตอร์ คัทเทอรีนา คาปิตานี ในโรงพยาบาลที่อิตาลี ในปี 1963  ซิสเตอร์ คัทเทอรีนา  เป็นโรคเลือดออกในกระเพาะอาหาร   ในตอนเที่ยงคืนของวันหนึ่ง  และมีอาการรุนแรง  เธอได้ปลุกฉันขึ้นมา 
หลังจากรักษานานหลายเดือน  หมอได้ผ่าเอากระเพาะส่วนใหญ่ของเธอออก  เป็นส่วนที่มีเนื้องอกคลุมอยู่  รวมทั้งตับอ่อนและม้ามด้วย  ในตอนแรกเธอก็มีอาการดีขึ้น  แต่ต่อมาเกิดอาการทวารส่วนนอกรั่ว  จนทำให้ซิสเตอร์คัทเทอรีนาเกือบเสียชีวิตในวันที่ 22 พ.ค. 1966  ผู้ช่วยอธิการของคณะได้นำพระธาตุที่เป็นส่วนหนึ่งของผ้าคลุมเตียงของพระสันตปาปายอห์นปอลที่ 2 มาให้ซิสเตอร์คัทเทอรีนา
“ท่านวางพระธาตุไว้ที่รอยแผลของซิสเตอร์โดยหวังว่า พระเยซูเจ้าจะเสด็จมาด้วยพระเมตตาและความรักของพระองค์” ซิสเตอร์ลาเบียนกาเล่า  “ทันใดนั้น  ซิสเตอร์ คัทเทอรีนาก็ลุกขึ้นจากเตียงและไม่รู้สึกเจ็บปวดอีกต่อไป”  ซิสเตอร์คัทเทอรีนาเล่าว่า  เธอรู้สึกว่ามีมือหนึ่งวางบนรอยแผลและได้ยินเสียงเรียกว่า “ซิสเตอร์ คัทเทอรีนา” 
“เธอรู้สึกตกใจที่ได้ยินเสียงผู้ชายในห้อง”  เธอจึงหันไปมองและเห็นพระสันตะปาปายอห์นปอลที่ 2 ทรงยืนอยู่ข้างเตียงของเธอ  พระองค์ตรัสกับเธอว่า  เธอหายสบายดีแล้ว  แล้วเธอก็ลุกจากเตียงไปบอกซิสเตอร์คนอื่นๆว่าเธอหายแล้วและกำลังหิว”  ซิสเตอร์ ลาเบียนกา เล่า
                 ด้วยอัศจรรย์นี้  พระสันตะปาปายอห์นปอลที่ 2 จึงได้รับการสถาปนาเป็นบุญราศี  และซิสเตอร์ คัทเทอรีนา ก็ไปร่วมอยู่ในพิธีด้วย  ซิสเตอร์คัทเทอรีนาเสียชีวิตในปี 2010  เธอมีชีวิตต่อมานาน 43 ปีหลังจากได้รับอัศจรรย์การเยียวยารักษา

สาส์นแม่พระ 2 - 25 เม.ย. 2014

สาส์นแม่พระประทานแก่มารีจา  25 เม.ย. 2014
ลูกที่รักทั้งหลาย  จงเปิดหัวใจของลูกเพื่อรับพระหรรษทานซึ่งพระเป็นเจ้าทรงกำลังประทานให้ลูกโดยผ่านทางแม่เถิด  เหมือนเช่นที่ดอกไม้เบ่งบานรับรังสีอันอบอุ่นของดวงอาทิตย์  จงรักและสวดภาวนาสำหรับทุกคนที่ยังอยู่ห่างไกลจากพระเป็นเจ้าและความรักของพระองค์  แม่อยู่กับลูกและแม่จะวอนขอเพื่อช่วยเหลือลูกทุกคนเบื้องพระพักตร์ขององค์พระบุตรของแม่  แม่รักลูกด้วยความรักที่มากล้นจนสุดประมาณได้
ขอขอบใจลูกที่ตอบสนองเสียงเรียกของแม่
---------------------------------------------------------------------

สาส์นแม่พระประทานแก่ มีรยานา 2 เม.ย. 2014
วันนี้แม่พระทรงประจักษ์ที่ Blue Cross
ลูกที่รักทั้งหลาย
ด้วยความรักเยี่ยงมารดา  แม่ปรารถนาที่จะช่วยลูกสำหรับชีวิตแห่งการสวดภาวนาของลูก  และช่วยลูกให้สำนึกผิดใช้โทษบาปด้วยความพยายามอย่างจริงใจที่จะเข้าใกล้องค์พระบุตรของแม่และแสงสว่างอันศักดิ์สิทธิ์ของพระองค์ให้มากขึ้น – แสงสว่างที่จะทำให้ลูกแยกตัวออกจากบาป - การสวดบทภาวนาทุกบท  การร่วมมิสซาทุกครั้ง และการอดอาหารทุกครั้ง เป็นความพยายามทึ่จะเข้าใกล้องค์พระบุตรของแม่  พระองค์ทรงเป็นที่ลี้ภัยจากบาปและพระองค์จะทรงทำให้ลูกระลึกถึงพระสิริของพระองค์  วิธีเหล่านี้เป็นหนทางที่ทำให้ลูกกลับมาเป็นหนึ่งเดียวกับพระบิดาผู้ทรงพระทัยดีและกับบรรดาบุตรทั้งหลายของพระองค์อีกครั้ง  เพราะฉะนั้น, ลูกๆที่รักทั้งหลายของแม่ จงร้องหาพระนามของพระบิดาสวรรค้วยหัวใจที่เปิดและเต็มไปด้วยความรักเถิด  เพื่อที่พระองค์จะทรงส่องสว่างลูกด้วยพระจิตเจ้า  โดยอาศัยพระจิตเจ้าลูกจะกลายเป็นน้ำพุแห่งความรักของพระเป็นเจ้า  ทุกคนที่ยังไม่รู้จักองค์พระบุตรของแม่  ทุกคนที่กระหายหาความรักและสันติสุขขององค์พระบุตร  จะได้ดื่มน้ำจากน้ำพุนี้
ขอขอบใจลูก
จงสวดภาวนา , สวดภาวนาสำหรับนายชุมพาบาลของลูก  แม่สวดภาวนาเพื่อพวกท่านและปรารถนาที่จะให้ท่านรู้สึกอยู่เสมอถึงการอวยพรจากมือของแม่และการค้ำจุนจากแม่ด้วยหัวใจเยี่ยงมารดา”

วันพฤหัสบดีที่ 24 เมษายน พ.ศ. 2557

คำสัญญาของพระเยซูเจ้า


“โอ พระหรรษทานยิ่งใหญ่สักเพียงไรที่เราจะประทานแก่วิญญาณที่สวดภาวนาพระเมตตา  จงเขียนคำเหล่านี้ลงไปเถิด ลูกสาวของเรา  จงบอกโลกเกี่ยวกับพระเมตตาของเรา  มนุษยชาติจงรับรู้ถึงพระเมตตาอันไม่มีที่สิ้นสุดของเรา  นี่เป็นเครื่องหมายของวาระสุดท้าย  หลังจากนี้เราจะมาในวันแห่งความยุติธรรม  ขณะที่ยังมีเวลาอยู่  ขอให้ทุกคนจงมายังน้ำพุแห่งพระเมตตาของเรา  ให้ทุกคนได้รับประโยชน์จากน้ำและพระโลหิตที่หลั่งไหลมาสู่พวกเขา”(บันทึก 848)

“จงสวดบทพระเมตตาที่เราสอนลูกโดยไม่หยุดหย่อน  ผู้ใดก็ตามที่สวดภาวนาบทนี้  จะได้รับพระเมตตาอันยิ่งใหญ่ในเวลาใกล้เสียชีวิต  พระสงฆ์จะแนะนำให้คนบาปสวดภาวนานี้  ซึ่งเป็นความหวังในความรอดครั้งสุดท้ายของเขา  ไม่ว่าเขาจะมีบาปหนักมากสักเพียงไร  ถ้าเขาสวดภาวนาบทนี้เพียงครั้งเดียว  เขาจะได้รับพระหรรษทานจากพระเมตตาอันไม่มีที่สิ้นสุดของเรา”(บันทึก 687)

 “เรายินดีที่จะประทานทุกสิ่งแก่วิญญาณที่วอนขอจากเราด้วยการสวดภาวนาพระเมตตา  เมื่อคนที่มีบาปหนักที่สุดสวดภาวนาบทนี้  เราจะทำให้วิญญาณของเขามีสันติสุข  และในวาระใกล้ตายของเขา  เขาจะมีความสุข  จงเขียนสิ่งนี้ไว้เพื่อประโยชน์ของวิญญาณที่เป็นทุกข์เพราะบาป  เมื่อวิญญาณรู้และตระหนักถึงความหนักหน่วงของบาป  เมื่ออเวจีแห่งความสิ้นหวังทั้งมวลมาอยู่ต่อหน้าสายตาของเขา  จงอย่าสิ้นหวัง  แต่จงเข้ามาสู่อ้อมแขนแห่งพระเมตตาของเรา  เหมือนเด็กเล็กๆที่เข้าไปสู่อ้อมแขนของมารดาสุดที่รักของเขา  จงบอกทุกคนว่า  ไม่มีวิญญาณใดที่เรียกหาพระเมตตาของเราแล้วจะผิดหวังหรือได้รับความอับอาย  เรามีความยินดีเป็นพิเศษในวิญญาณที่วางใจในความดีของเรา  จงเขียนไว้ว่า  เมื่อพวกเขาสวดภาวนาพระเมตตาในเวลาใกล้ตาย  เราจะยืนอยู่เบื้องพระพักตร์พระบิดาของเราและผู้เสียชีวิต  ไม่ใช่ในฐานะผู้พิพากษาแต่ในฐานะพระผู้ไถ่ของเขา”(บันทึก 1541)

“ในชั่วโมงแห่งความตายของพวกเขา  เราจะเป็นผู้ปกป้องวิญญาณทุกดวงที่สวดภาวนาพระเมตตานี้เสมือนเป็นสง่าราศีของเราเอง  เมื่อบทภาวนาพระเมตตานี้ถูกสวดใกล้เตียงของผู้กำลังเสียชีวิต  พระพิโรธของพระเป็นเจ้าจะสงบลงและพระเมตตาอันไม่มีที่สิ้นสุดของพระองค์จะปกคลุมวิญญาณ”(บันทึก 811)

พระเยซูเจ้าตรัสแก่ น.โฟสเตนา “เราปรารถนาให้พระเมตตานี้หลั่งไหลมาสู่โลกทั้งมวลโดยผ่านหัวใจของเธอ  อย่าให้ใครที่มาหาเธอกลับไปโดยปราศจากความวางใจในพระเมตตาของเรา  เราปรารถนาเป็นอย่างยิ่งให้เป็นเช่นนี้สำหรับวิญญาณ  จงสวดภาวนาให้มากเท่าที่เธอจะทำได้สำหรับผู้กำลังจะตาย  โดยการวอนขอของเธอจะทำให้พวกเขามีความวางใจในพระเมตตาของเรา  เพราะพวกเขาจำเป็นต้องมีความวางใจในพระเมตตาของเรา  แม้เพียงเล็กน้อยที่สุด”(บันทึก 1777)

 “ลูกสาวของเรา  จงช่วยเราในการช่วยวิญญาณคนบาปที่ใกล้ตาย  จงสวดภาวนาพระเมตตาที่เราสอนลูกเพื่อพวกเขา  เมื่อดิฉันเริ่มสวดภาวนาพระเมตตา  ดิฉันเห็นชายที่กำลังจะเสียชีวิตซึ่งได้รับความทุกข์ทรมานอย่างสาหัสและพยายามดิ้นรนต่อสู้  อารักขเทวดาของเขากำลังปกป้องเขา  แต่เขาไม่มีกำลังที่จะต่อสู้กับความทุกข์ทรมานอันยิ่งใหญ่ของวิญญาณ  แต่เมื่อดิฉันสวดภาวนาพระเมตตา  ดิฉันเห็นพระเยซูเจ้าเหมือนในภาพ รังสีที่ส่องกระจายออกมาจากดวงพระทัยของพระองค์ใด้ปกคลุมคนเจ็บป่วยผู้นี้  และอำนาจของความมืดก็สูญสลายไป  แล้วชายที่เจ็บป่วยก็ถอนหายใจเป็นครั้งสุดท้าย”(บันทึก 1565)

วันอาทิตย์ที่ 20 เมษายน พ.ศ. 2557

สวดสายประคำพระเมตตา



วันอาทิตย์ที่ 27 เมษายน 2014 นี้เป็นวันอาทิตย์พระเมตตา  เชิญเราสวดภาวนาพระเมตตา  สารภาพบาป และรับศีลมหาสนิท  เพื่อรับพระหรรษทานยิ่งใหญ่ที่พระเยซูเจ้าทรงสัญญาจะประทานให้  พระหรรษทานที่เปรียบเหมือนเราได้รับศีลล้างบาปใหม่อีกครั้ง ลูกรัก จงบอกชาวโลกเกี่ยวกับความเมตตาอันน่าพิศวงของเรา เราปรารถนาให้วันฉลองพระเมตตาเป็นดังที่หลบภัยและที่กำบังสำหรับวิญญาณทั้งมวล โดยเฉพาะสำหรับบรรดาคนบาปที่น่าสงสาร ในวันนั้นแหละ เราระบายมหาสมุทรแห่งพระหรรษทานทั้งสิ้นออกมาเหนือวิญญาณที่เข้าถึงต้นธารความเมตตาของเรา ... วิญญาณที่จะไปแก้บาปและรับศีลมหาสนิทจะได้รับการอภัยบาปและยกโทษบาปทั้งหมด ...อย่าให้วิญญาณใดหวาดกลัวที่จะเข้ามาใกล้เราเลย ไม่ว่าบาปของเขาจะหนักหนาสักเพียงไร ... ความเมตตาของเรานั้นมากล้นจนจิตมนุษย์และทูตสวรรค์ไม่อาจหยั่งถึงได้ตลอดมาทุกกาลสมัย ... เป็นความปรารถนาของเราเองที่จะให้มีพิธีฉลองอย่างเป็นทางการในวันอาทิตย์แรกหลังวันสมโภชปัสกามนุษยชาติจะไม่มีความสงบสุข จนกว่าเขาจะหันมาพึ่งต้นธารความเมตตาของเรา(บันทึก 699)

วันพฤหัสบดีที่ 17 เมษายน พ.ศ. 2557

ทำไมพระเยซูเจ้าเสด็จเข้ากรุงเยรูซาเล็มโดยการขี่ลา

เหตุผลที่พระเยซูเจ้าเสด็จเข้ากรุงเยรูซาเล็มโดยขี่ลามี 4 ข้อคือ
1.             ประกาศก เศคารียาห์เขียนไว้ว่า “จงมองดูเถิด กษัตริย์ของเจ้าเสด็จมาหาเจ้าแล้ว  พระองค์เสด็จมาอย่างผู้มีชัยชนะ  ทรงสุภาพอ่อนโยน  ทรงประทับบนหลังแม่ลาและลูกลา" (ศคย. 9:9)  ประชาชนเห็นเหตุการณ์ตามคำทำนายนี้จึงมาต้อนรับกษัตริย์ของพวกเขาพลางร้องตะโกน”โฮซานนาแดผู้เสด็จมาในพระนามของพระเป็นเจ้า” (มธ.21:9)
2.             ลามีความเชื่อมโยงกับเรื่องของอับราฮัมถวายอิซาอักเป็นยัญบูชาแด่พระเป็นเจ้า  อับราฮัมให้อิซาอักขี่ลาไปยังภูเขาที่จะทำพิธี  การถวายบุตรหัวปีแดพระเจ้าเป็นเครื่องหมายของความนบนอบเชื่อฟัง
3.             กษํตริย์โซโลมอนขี่ลาในวันที่ขึ้นครองราชย์สมบัติ  ลานั้นเป็นลาที่เคยเป็นของกษัตริย์ดาวิดผู้บิดามาก่อน (1 พกษ. 1:33-44)
4.             กษัตริย์เยฮูได้ขี่ลาเข้าไปในดินแดนซามาเรีย (ซึ่งชาวซามาเรียถือว่าเป็นเยรูซาเล็มของเขา)  เพื่อทำลายวิหารของพระบาอัล (2 พกษ. 9:11-10:28)  พระเยซูเจ้าก็ทรงเข้าไปในกรุงเยรูซาเล็มและทำลายโต๊ะแลกเงินของพ่อค้าที่มาทำให้พระวิหารของพระเป็นเจ้ากลายเป็นซ่องโจร
พระเยซูเจ้าทรงขี่ลาตัวเดียวหรือขี่ลาสองตัว
เป็นเวลาหลายปีที่ผมสับสนในพระวรสารวันอาทิตย์ใบลาน  ซึ่งเขียนโดย น.มัทธิว ท่านบอกว่า พระเยซูเจ้าขี่ลาและลูกลา  แต่พระวรสารของ น.มาร์โก  , น. ลูกา และ น.ยอห์น  เขียนแต่เพียงว่า พระเยซูเจ้าทรงขี่ลา และไม่ได้กล่าวถึงลูกลาเลย  ผมเคยคิดว่า พระเยซูเจ้าอาจขี่แม่ลาและลูกลาไปพร้อมกัน  ฟังดูแล้วพิลึกเหมือนกัน  แต่ผมก็นึกไม่ออกว่า น.มัทธิว จะหมายความอย่างไรจึงเขียนไว้แบบนั้น
ในที่สุดผมก็หายข้องใจเมื่อได้อ่านข้อความในหนังสืออธิบาย  Cornelius a Lapide’s commentary  ตามคำอธิบายของ Lapide  ในตอนแรก พระเยซูเจ้าทรงขี่แม่ลาก่อนเมื่ออยู่ห่างกรุงเยรูซาเล็มเพราะ มีเนินเขาและภูเขา  จึงเดินทางขึ้นและลงเนินเขาบ่อยๆ และเมื่อใกล้เมือง พระองค์จึงเปลี่ยนมาขี่ลูกลาเพื่อเข้าเมือง  (ลูกลานี้ไม่ใช่ลูกลาตัวเล็กๆ แต่เป็นลูกลาที่โตแล้ว  แต่ยังไม่เคยถูกใช้งานมาก่อน)
และมีเหตุผลที่ต้องทำเช่นนี้  แม่ลาแข็งแรงกว่าลูกลาจึงสามารถขึ้นลงเนินเขาได้สะดวกกว่า  ส่วนลูกลาก็สามารถนำพระเยซูเจ้าเข้ากรุงเยรูซาเล็มได้สะดวกและทำให้แม่ลาได้พักบ้าง
และยังมีความหมายที่ซ่อนอยู่ในเรื่องนี้ด้วย  แม่ลาและลูกลาหมายถึง “ประชาชนสองพวก – พวกแรกคือ ชาวยิวที่ปฏิบัติตามบทบัญญัติของโมเสส  แทนโดยแม่ลา  และชาวต่างชาติซึ่งไม่ได้ถือตามพระบัญญัติของพระเป็นเจ้า  แทนโดยลูกลา”
แม่ลาหมายถึงชาวอิสราเอลที่ปฏิบัติตามบทบัญญัติของโมเสส – น.เปโตรได้อธิบายบทบัญญัติของโมเสสว่า “เป็นแอก...ซึ่งบรรพบุรุษของเราหรือเราเองก็ไม่สามารถแบกไว้ได้”(กจ. 15:10)
ลูกลาหมายถึงชนต่างชาติ  เป็นชนชาติใหม่และไม่เคยถือตามบทบัญญัติ – น.เปโตรเปรียบเทียบชนเหล่านี้ว่าเป็นเหมือนกิ่งมะกอกป่า
พระเยซูเจ้าทรงขี่ทั้งแม่ลาและลูกลา มีความหมายว่า  ทั้งชาวยิวและชนต่างชาติจะถูกเรียกว่า Christophoroi - Christ-bearers – ผู้แบกรับพระคริสต์
และในสมัยปัจจุบัน ก็เป็นหน้าที่ของพวกเราที่จะต้อง “แบกรับและนำพระคริสต์ไปสู่โลก”  เหมือนที่แม่ลาและลูกลาแบกรับและนำพระคริสต์เข้าสู่กรุงเยรูซาเล็ม

วันอังคารที่ 15 เมษายน พ.ศ. 2557

วันพฤหัสศักดิ์สิทธิ์













มีเหตุการณ์มากมายเกิดขึ้นในวันพฤหัสศักดิ์สิทธิ์
- น.เปโตรและยอห์นได้รับคำสั่งจากพระเยซูเจ้าให้ไปจัดเตรียมสถานที่ “ห้องชั้นบน” เพื่อการเลี้ยงอาหารค่ำในวันปาสกา
- พระเยซูเจ้าทรงล้างเท้าอัครสาวก 12 คน
- พระเยซูเจ้าประกอบพิธีมิสซาครั้งแรก
- พระเยซูเจ้าทรงตั้งศีลบวชพระสงฆ์
- พระเยซูเจ้าประกาศว่ายูดาสจะทรยศพระองค์
- พระเยซูเจ้าทรงมอบพระบัญญัติใหม่ “พวกท่านจงรักกันและกัน เหมือนอย่างที่เรารักท่าน”
- น.เปโตรประกาศว่าจะไม่ละทิ้งพระเยซูเจ้าเลย ซึ่งแสดงถึงบทบาทของผู้นำของอัครสาวก
- พระเยซูเจ้าทำนายว่า เปโตรจะปฏิเสธพระองค์
- พระเยซูเจ้าทรงสวดภาวนาเพื่อเอกภาพของผู้ที่เชื่อในพระองค์
- พระเยซูเจ้าทรงตั้งศีลมหาสนิท และตรัสตามพระวรสาร น.ยอห์น 13- 18
- พระเยซูเจ้าเสด็จไปสวดภาวนาที่สวนเก็ธเซเมนี
- ยูดาสทรยศพระเยซูเจ้า
- พระเยซูเจ้าทรงสั่งอัครสาวกไม่ให้ตอบโต้ด้วยความรุนแรง
- พระเยซูเจ้าทรงรักษาหูของมาคัส ทหารรับใช้ของสมณะ
- พระเยซูเจ้าถูกนำตัวไปอยู่ต่อหน้า อันนาสและไกฟาสผู้เป็นหัวหน้าสมณะ
- เปโตรปฏิเสธพระเยซูเจ้า
- พระเยซูเจ้าถูกนำตัวไปหาปิลาโต

วันพฤหัสศักดิ์สิทธิ์ยังเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า “Maundy Thursday” คำว่า “Maundy” มาจากภาษาลาติน “mandatum” หรือ mandate เป็นคำที่มีอยู่ในพระวรสาร น. ยอห์น 13:34ในภาษาลาติน
"Mandatum novum do vobis ut diligatis invicem sicut dilexi vos."
แปลว่า “บัญญัติใหม่ที่เรามอบให้แก่ท่าน คือ พวกท่านจงรักกันและกันเหมือนเช่นที่เรารักท่าน”
Mandatum” แปลว่า “บัญญัติใหม่” – The new mandate

วันจันทร์ที่ 14 เมษายน พ.ศ. 2557

เพลงลาติน วันอาทิตย์แห่ใบลาน



ใครเคยได้ยินเพลงนี้บ้าง  เป็นเพลงลาตินที่ร้องในพิธีแห่ใบลานสมัยก่อน