พระเมตตาของพระเยซูเจ้า

จงบอกมนุษยชาติที่กำลังเจ็บป่วย ให้เข้ามาใกล้หัวใจอันเมตตาของเรา แล้วเราจะประทานสันติภาพให้แก่มนุษยชาติ พระเมตตาของเราไม่มีวันสิ้นสุดเลย

พระวาจาวันอาทิตย์ที่ 22 ธันวาคม 2024 เตรียมรับเสด็จพระคริสตเจ้าสัปดาห์ที่ 4

           หลังจากนั้นไม่นาน พระนางมารีย์ทรงรีบออกเดินทางไปยังเมืองหนึ่งในแถบภูเขาแคว้นยูเดีย พระนางเสด็จเข้าไปในบ้านของเศคาริยาห์และทรงทักทายนางเอลีซาเบธ เมื่อนางเอลีซาเบธได้ยินคำทักทายของพระนางมารีย์ บุตรในครรภ์ก็ดิ้น นางเอลีซาเบธได้รับพระจิตเจ้าเต็มเปี่ยม ร้องเสียงดังว่า “เธอได้รับพระพรยิ่งกว่าหญิงใด ๆ และลูกของเธอก็ได้รับพระพรด้วย ทำไมหนอพระมารดาขององค์พระผู้เป็นเจ้า จึงเสด็จมาเยี่ยมข้าพเจ้า เมื่อฉันได้ยินคำทักทายของเธอ ลูกในครรภ์ของฉันก็ดิ้นด้วยความยินดี เธอเป็นสุขที่เชื่อว่า พระวาจาที่พระเจ้าตรัสแก่เธอไว้จะเป็นจริง”
(ลูกา 1:39-45)








วันอังคารที่ 7 ธันวาคม พ.ศ. 2564

อัศจรรย์ศีลมหาสนิทที่วัลเดิร์น


 
อัศจรรย์ศีลมหาสนิทที่วัลเดิร์น,เยอรมนี,ในปี1330 คุณพ่อไฮน์ริช อ็อตตา(Heinrich Otta) ซึ่งกำลังประกอบพิธีมิสซาอยู่ภายในโบสถ์เซนต์จอร์จ ท่านได้บังเอิญพลิกจอกกาลิกษ์เหล้าองุ่น,ทำให้ไวน์ศักดิ์สิทธิ์ที่ได้รับการเสกแล้วหกออกมา และในทันทีเหล้าองุ่นได้กลับกลายเป็นโลหิตมนุษย์อย่างแท้จริงซึ่งได้ก่อตัวขึ้นบนผ้ารองจอกกาลิกษ์เป็นพระรูปของพระคริสต์ที่ถูกตรึงกางเขน ล้อมรอบด้วยรูปศีรษะพระคริสต์ที่สวมมงกุฎหนามสิบเอ็ดรูป 
ศีรษะพระคริสต์ที่สวมมงกุฎหนามสิบเอ็ดรูปนี้ อาจหมายถึงอัครสาวกสิบเอ็ดองค์ที่ได้หนีไปหลบซ่อนตัวหลังจากที่พระเยซูทรงถูกจับกุม มีเพียงนักบุญยอห์น อัครสาวกเพียงคนเดียวที่อยู่แทบเชิงกางเขนพร้อมกับแม่พระ พระเยซูทรงแสดงให้รู้ว่าพระองค์ทรงเสียพระทัยและยอมทนทุกข์ทรมานเพื่ออัครสาวกสิบเอ็ดองค์นี้ด้วย อัครสาวกสิบเอ็ดองค์นี้อาจเป็นตัวแทนหมายถึงคริสตชนที่ยังมีความกลัวต่อภัยอันตรายจากโลกภายนอกและไม่กล้าเผชิญหน้ากับศัตรูของพระศาสนจักรซึ่งเป็นพระกายลึกลับของพระคริสต์

วันจันทร์ที่ 6 ธันวาคม พ.ศ. 2564

วาระสุดท้ายของนักบุญ


“ช่างเป็นสถานที่ที่ดียิ่งนักสำหรับผู้ป่วยในการเตรียมตัวเพื่อรับความตาย”
>>>ดูเพิ่มเติม

วันอาทิตย์ที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2564

วันเสาร์ที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2564

อัศจรรย์จากบราเดอร์อังเดร


แพทย์หลายคนซึ่งเกลียดชังศาสนาได้ใส่ร้ายชายร่างเล็กที่พวกเขามองว่าเป็น “ผู้รักษาจอมปลอม”
>>>ดูเพิ่มเติม

วันศุกร์ที่ 3 ธันวาคม พ.ศ. 2564

พระสันตะปาปาที่ครองราชย์นานที่สุด 10 พระองค์



วันนี้เราระลึกถึงนักบุญพระสันตะปาปาเลโอ(St. Pope Leo the Great) คุณรู้หรือไม่ว่าพระองค์อยู่ในอันดับที่ 10 ในรายการอย่างเป็นทางการของพระสันตะปาปาที่ครองราชย์ยาวนานที่สุดในประวัติศาสตร์? พระองค์ทรงดำรงตำแหน่งสันตะปาปานานกว่า 21 ปี   
รัชสมัยของพระสันตะปาปาโดยเฉลี่ยอยู่ที่ประมาณ 7.5 ปี ค่าทศนิยมที่ปรากฏอยู่นั้นจะคลาดเคลื่อนเล็กน้อย เนื่องจากไม่ได้นับปีอธิกสุรทิน E หมายถึงelection การเลือกตั้ง
1st Place: St. Peter—35 yrs. 
2nd Place: Pius IX—31.6 yrs. 
3rd Place: John Paul II—26.4 yrs. 
4th Place: Leo XIII 20—25.4 yrs. 
5th Place: Pius VI—24.5 yrs. 
6th Place: Adrian I — 23.9 yrs. 
7th Place: Pius VII— 23.4 yrs. 
8th Place: Alexander III—22.0 yrs 
9th Place: St. Sylvester—21.9 yrs. 
10 th Place: St. Leo I (the Great) 21.1 years   

วันพฤหัสบดีที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2564

คำพูดของนักบุญ



มนุษย์เอ๋ย จงอย่ากลัวกองทัพศัตรูที่ทรงพลังใดๆเลย เพราะอำนาจแห่งนรกกลัวพระนามและการปกป้องของพระนางมารีย์ยิ่งนัก 
- นักบุญโบนาเวนตูลา

วันพุธที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2564