พระเมตตาของพระเยซูเจ้า

จงบอกมนุษยชาติที่กำลังเจ็บป่วย ให้เข้ามาใกล้หัวใจอันเมตตาของเรา แล้วเราจะประทานสันติภาพให้แก่มนุษยชาติ พระเมตตาของเราไม่มีวันสิ้นสุดเลย

พระวาจาวันอาทิตย์ที่ 24 พฤศจิกายน 2024 สมโภชพระเยซูจะกษัตริย์แห่งสากลจักรวาล

           ปีลาตกลับเข้าไปในจวน และเรียกพระเยซูเจ้ามาถามว่า “ท่านเป็นกษัตริย์ของชาวยิวหรือ” พระเยซูเจ้าตรัสตอบว่า “ท่านถามดังนี้ด้วยตนเอง หรือผู้อื่นบอกท่านถึงเรื่องของเรา” ปีลาตตอบว่า “ข้าพเจ้าเป็นชาวยิวหรือ ชนชาติของท่าน และบรรดาหัวหน้าสมณะมอบท่านให้ข้าพเจ้า ท่านทำผิดสิ่งใด” พระเยซูเจ้าตรัสตอบว่า “อาณาจักรของเรามิได้มาจากโลกนี้ ถ้าอาณาจักรของเรามาจากโลกนี้ ผู้รับใช้ของเราก็คงจะต่อสู้เพื่อมิให้เราถูกมอบให้ชาวยิว แต่อาณาจักรของเราไม่ได้เป็นของโลกนี้” ปีลาตจึงถามพระองค์ว่า “ถ้าเช่นนั้น ท่านเป็นกษัตริย์ใช่ไหม” พระเยซูเจ้าตรัสตอบว่า “ท่านพูดว่าเราเป็นกษัตริย์นั้นถูกต้องแล้ว เราเกิดมาเพื่อเป็นกษัตริย์ เรามาในโลกนี้เพื่อเป็นพยานถึงความจริง ผู้ใดอยู่ฝ่ายความจริงก็ฟังเรา”
(ยอห์น 18:33ข-37)








วันพฤหัสบดีที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2558

เพลงลาวดวงเดือน



เพลง "ลาวดวงเดือน" เป็นผลงานนิพนธ์ของพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นพิไชยมหินทโรดม พระราชโอรสลำดับที่38 ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว กับเจ้าจอมมรกต พระนามเดิมว่า "พระองค์เจ้าเพ็ญพัฒนพงศ์"ในปี พ.ศ.2446เมื่อมีพระชันษา 21 ปี
พระองค์เจ้าเพ็ญพัฒนพงศ์เสด็จขึ้นไปนครเชียงใหม่ ได้พบรักกับเจ้าชมชื่น ธิดาสาวของเจ้าราชสัมพันธวงศ์กับเจ้าคำย่นเป็นรักครั้งแรกที่ พระองค์เจ้าเพ็ญพัฒนพงศ์ไม่อาจห้ามพระทัยได้ จึงทรงขอให้พระยานริศราชกิจข้าหลวงใหญ่มณฑลพายัพเป็นเถ้าแก่สู่ขอแต่เจ้าราชสัมพันธวงศ์ทัดทานไว้เพราะเห็นว่าเจ้าชมชื่นมีอายุเพียง 16 ปีในขณะนั้น รอให้มีอายุครบ18ปีเสียก่อนและต้องการให้ พระองค์เจ้าเพ็ญพัฒนพงศ์ทูลขอพระบรมราชานุญาตจากพระบรมราชชนก เพื่อเจ้าชมชื่นจะได้อยู่ในฐานะสะใภ้หลวงแต่ พระองค์เจ้าเพ็ญพัฒนพงศ์ก็ถูกทัดทานจากทุกฝ่าย ความรักครั้งแรกของพระองค์จึงต้องยุติลงด้วยความผิดหวัง
เมื่อพระองค์เจ้าเพ็ญพัฒนพงศ์เข้ารับราชการในกระทรวงเกษตราธิการทรงรับผิดชอบการเลี้ยงไหมทำให้ต้องเสด็จไปตรวจเยี่ยมศูนย์การทำไหมในมณฑลต่างๆ ครั้งหนึ่งในระหว่างทางที่เสด็จมณฑลอีสานได้ทรงหยุดประทับแรมบรรทมในเกวียน บรรยากาศในยามค่ำคืนอันเงียบเหงาทำให้ทรงนึกถึงความรักที่มีต่อเจ้าชมชื่นจึงได้ทรงนิพนธ์เพลงถึงนางอันเป็นที่รักเพื่อสะท้อนความรักความคิดถึงรวมถึงความไม่สมหวังในรักโดยทรงดัดแปลงและนำท่วงท่าทำนองเพลง "ลาวดำเนินทราย" ของพระยาประสานดุริยศัพท์(แปลก ประสานศัพท์)ซึ่งเป็นเพลงสำเนียงลาว และตั้งชื่อเพลงว่า "ลาวดำเนินเกวียน" เพลงนี้ได้รับความนิยมมาก หลังจากที่ พระองค์เจ้าเพ็ญพัฒนพงศ์สิ้นพระชนม์(โดยมีพระชันษาเพียง 28 ปี)ผู้ที่นำไปขับร้องทีหลังไม่รู้ที่มาของเพลง เห็นว่าเนื้อเพลงขึ้นต้นด้วยคำว่า"โอ้ละหนอ ดวงเดือนเอย.." จึงเรียกชื่อเพลงนี้ว่า"ลาวดวงเดือน" ปัจจุบันมีการนำคำร้องเดิมไปแปลเป็นภาษาอังกฤษนำทำนองไปใส่คำร้อง ภาษาจีนและภาษาญี่ปุ่น และนำไปแปลงเป็นเพลงไทยเดิมอีกเพลงหนึ่ง นั้นก็คือ "เพลงโสมส่องแสง


กรมหมื่นพิไชยมหินทโรดม กับเจ้าชมชื่น ณ เชียงใหม่

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น