พระเมตตาของพระเยซูเจ้า

จงบอกมนุษยชาติที่กำลังเจ็บป่วย ให้เข้ามาใกล้หัวใจอันเมตตาของเรา แล้วเราจะประทานสันติภาพให้แก่มนุษยชาติ พระเมตตาของเราไม่มีวันสิ้นสุดเลย

พระวาจาวันอาทิตย์ที่ 24 มีนาคม 2024 พระเยซูเจ้าเสด็จเข้ากรุงเยรูซาเล็มอย่างสง่า

           เมื่อพระเยซูเจ้าเสด็จพร้อมกับบรรดาศิษย์เข้ามาใกล้กรุงเยรูซาเล็ม ที่หมู่บ้านเบธฟายีและเบธานี ใกล้กับภูเขามะกอกเทศ พระองค์ทรงใช้ศิษย์สองคนไป ตรัสแก่เขาว่า “จงเข้าไปในหมู่บ้านข้างหน้า เมื่อเข้าไปแล้ว ท่านจะพบลูกลาตัวหนึ่งผูกอยู่ ยังไม่มีใครเคยขี่ลาตัวนั้นเลย จงแก้เชือกและจูงมันมาเถิด ถ้ามีผู้ใดถามว่า ‘ทำไมท่านจึงทำเช่นนี้’ จงบอกเขาว่า ‘พระอาจารย์ต้องการใช้มัน และจะส่งกลับคืนมาให้ทันที’” ศิษย์ทั้งสองคนออกไป พบลูกลาตัวหนึ่งผูกอยู่ที่ประตูด้านนอกบนถนน ขณะที่เขากำลังแก้เชือก บางคนที่ยืนอยู่ที่นั่นถามว่า “ทำอะไรกัน แก้เชือกลูกลาทำไม” ศิษย์ทั้งสองคนก็ตอบตามที่พระเยซูเจ้าได้ตรัสไว้ เขาจึงยอมให้นำลูกลาไป ศิษย์ทั้งสองคนจูงลูกลามาถวายพระเยซูเจ้า ปูเสื้อคลุมของตนบนหลังลา พระองค์จึงทรงลูกลาตัวนั้น คนจำนวนมากปูเสื้อคลุมของตนตามทาง บางคนปูกิ่งไม้ซึ่งตัดมาจากทุ่งนาด้วย พวกที่เดินไปข้างหน้า และผู้ที่ตามมาข้างหลังต่างโห่ร้องว่า “โฮซานนา ขอถวายพระพรแด่ผู้มาในพระนามขององค์พระผู้เป็นเจ้า ขอพระพรจงมีแด่พระอาณาจักรที่กำลังจะมาถึงของกษัตริย์ดาวิด บรรพบุรุษของเรา โฮซานนา ณ สวรรค์สูงสุด พระเยซูเจ้าเสด็จเข้ากรุงเยรูซาเล็ม เข้าไปในพระวิหาร เมื่อทอดพระเนตรสิ่งต่าง ๆ โดยรอบแล้ว พระองค์ก็เสด็จออกไปยังหมู่บ้านเบธานี พร้อมกับอัครสาวกสิบสองคน ขณะนั้นเป็นเวลาค่ำแล้ว
(มาระโก 14:1 – 15:47)








วันจันทร์ที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2562

ความหมายของผึ้งและรังผึ้งในศิลปะคริสต์


              จอร์จ เฟอร์กุสัน ผู้เขียนหนังสือ “Signs and Symbols in Christian Art” อธิบายว่า “ผึ้งเป็นสัญญลักษณ์ของ กิจกรรม, การทำงาน, ความขยัน, และความมีระเบียบ” ในตำนานโบราณบอกว่า ผึ้งไม่เคยนอนหลับ และบ่อยครั้งผึ้งถูกใช้เป็นตัวแทนของ “ความระมัดระวังและความกระตือรือร้นของคริสตชนในการแสวงหาคุณธรรม”
               ผึ้งยังถูกใช้ในศิลปะอื่น เช่น พระสันตะปาปาอูร์บันที่ 8 ซึ่งมาจากครอบครัวขุนนางอิตาลี Barberini ในศตวรรษที่ 17 ใช้ตราสัญลักษณ์ของครอบครัวเป็นผึ้งสามตัวอยู่รอบพระมาลาเทียร่า(papal tiara) และมีกุญแจของนักบุญเปโตร อนุสาวรีย์ที่ยิ่งใหญ่บางแห่งในกรุงโรมรวมถึง Baldacchino ในมหาวิหารเซนต์ปีเตอร์ก็มีแสดงตราสัญลักษณ์นี้แสดงอยู่
                ส่วนรังผึ้งมีความหมายที่แตกต่างออกไป
                นักบุญอัมโบรส
                มีตำนานเล่าว่า เมื่อนักบุญอัมโบรสยังเป็นเพียงเด็กเล็ก ฝูงผึ้งบินอยู่บนใบหน้าของอัมโบรสในขณะที่เขานอนอยู่ในเปล และผึ้งทิ้งน้ำผึ้งไว้หยดหนึ่ง บิดาของอัมโบรสเข้าใจว่านี่เป็นเครื่องหมายว่าในอนาคตอัมโบรสจะมี “วาจาดุจน้ำผึ้ง” และต่อมาอัมโบรสได้กลายเป็นบิชอปและเป็นนักประพันธ์และนักเทศน์ผู้ยิ่งใหญ่
               อัมโบรสเคยเปรียบเทียบพระศาสนจักรว่าเป็นเหมือนรังผึ้ง เพราะรังผึ้งเป็นสัญลักษณ์ของ “ชุมชนคริสตชนที่มีความศรัทธาและเป็นหนึ่งเดียวกัน” และคริสตชนเปรียบเหมือนผึ้งที่ทำงานเพื่อฝูงผึ้งทั้งหมดและอุทิศตนด้วยการงานและชีวิตของพวกเขา

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น